ทำไมจีนถึงเป็นเจ้าตลาดแห่ง ‘แร่หายาก’

เทคโนโลยีในปัจจุบันต้องยอมรับว่าต้องเพิ่งพาแร่หายาก หรือที่รู้จักกันในชื่อ Rare Earth Elements เป็นอย่างมากเพราะไม่ว่าจะโทรศัพท์มือถือไปจนถึงคอมพิวเตอร์ไปหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์และดาวเทียมล้วนต้องผลิตชิป ล้วนจำเป็นต้องเพิ่งพากันทั้งนั้น ซึ่งแร่หายากก็เป็นแร่ที่มีองค์ประกอบของกลุ่มธาตุ 17 ชนิด ซึ่งถือเป็นเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดี และสามารถเก็บประจุไฟฟ้าได้ดีกว่า พร้อมบางชนิดยังทนความร้อนสูง และทนทานต่อการกัดกร่อนนั่นเอง

.

ก่อนจะไปเข้าสู่เหตุผลว่าทำไมจีนถึงเป็นเจ้าตลาดแห่งแร่หายาก เรามาลองดูสัดส่วนการตลาดของเหมืองแร่ทั่วโลกกันสักเล็กน้อย โดยจะถูกแบ่งออก ดังนี้

  • จีน 0%
  • สหรัฐอเมริกา 5%
  • พม่า 4%
  • ออสเตรเลีย 0%
  • อื่น ๆ 1%

.

จากสัดส่วนการตลาดจะเห็นได้แล้วว่าจีนเป็นประเทศผู้นำในการทำธุรกิจเหมืองแร่ พร้อมทั้งยังมีข้อมูลจากสำนักงานสำรวจธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา พบว่าในปี 2021 แหล่งแร่หายากอยู่ในประเทศไหนมากที่สุด ดังนี้

  • จีน 44 ล้านตัน
  • เวียดนาม 22 ล้านตัน
  • บราซิล 21 ล้านตัน
  • รัสเซีย 21 ล้านตัน

จะเห็นได้ว่าจีนเป็นทั้งผู้ประกอบการขุดเหมืองแร่รายใหญ่ของโลกและเป็นพื้นที่ที่มีแร่เยอะพอที่จะกระจายสู่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้ จนสามารถทำให้จีน ‘ผูกขาด’ แร่หายากได้

.

โดยจุดเริ่มต้นที่ทำให้จีนเริ่มเข้าสู่วงการนี้คือ เติ้ง เสี่ยวผิงของจีน นักการเมืองชาวจีนที่ได้เริ่มวางแผนผูกขาดตลาดนี้ด้วยแนวคิดที่ว่า ‘ประเทศในตะวันออกกลางมีน้ำมัน แร่โลหะหายากมีในจีน’ และคาดหวังจะใช้แร่โลหะหายากเหล่านี้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มน้ำหนักทางการต่อรองของการเมืองและเศรษฐกิจกับประเทศอื่น ๆ  

.

ต่อมาจีนได้เริ่มมาเป็นเจ้าตลาดในการหาแร่โลหะหายากตั้งแต่ปี 1990 แซงหน้าสหรัฐอเมริกาและได้ครองสัดส่วนการตลาดทั่วโลกกว่า 90% ก่อนจะลดทอนลงมาเรื่อย ๆ จนปัจจุบัน

.

ซึ่งโลหะหายากเหล่านี้ถูกจีนที่เป็นผู้ค้าส่งออกไปเพื่อใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยี เพราะตั้งแต่แสงเลเซอร์ เครื่อง X-Ray และฮาร์ดดิสก์ในคอมพิวเตอร์ล้วนต้องเพิ่งพาโลหะหายาก ไม่เพียงเท่านี้บางประเทศต้องการโลหะหายากจากจีนเพื่อพัฒนาอาวุธทางการทหารใหม่ ๆ เช่น เครื่องบินรบ F-35 ของอเมริกาที่จำเป็นต้องใช้โลหะหายากมากถึง 920 ปอนด์/ลำนั่นเอง

.

ทั้งนี้ ยังมีข่าวลือว่าสงครามรัสเซียยูเครนในปัจจุบันที่ยืดเยื้อ และความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซีย-จีน ทำให้แม้ว่าในประเทศรัสเซียจะมีแร่โลหะหายากเป็นจำนวนมาก แต่ก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการในครั้งนี้ ส่งผลให้ทางการทูตของปูตินเตรียมพิจารณาเจรจาเพิ่งพาจีนในการหาโลหะหายากอีกครั้ง

.

อย่างไรก็ตาม เมื่อจีนยังคงเป็นเจ้าตลาดในการผูกขาด และการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาที่ไม่ลงรอยนัก ซึ่งสหรัฐอเมริกาที่จำเป็นต้องใช้แร่หายากในการพัฒนาเทคโนโลยีก็มีสั่นคลอน โดยจีนเริ่มส่งสัญญาณที่ว่าจะจำกัดการส่งออกแร่หายากไปยังสหรัฐอเมริกา ซึ่งการจำกัดการส่งออกนี้เคยเกิดขึ้นกับประเทศญี่ปุ่นมาก่อน

.

ที่น่าสนใจคือ จีนจะยังสามารถผูกขาดแร่หายากได้อยู่อีกหรือไม่ ? เพราะเมื่อไม่นานมานี้สวีเดนเพิ่งประกาศการค้นพบแร่หายากที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ประเมินว่ามีแร่หายากมากกว่าหนึ่งล้านตันแน่นอน ซึ่งในปัจจุบันแร่หายากไม่ได้ถูกขุดที่ไหนในยุโรป เพราะ 98% ของแร่หายากที่ใช้ในยุโรปยังคงนำเข้ามาจากจีน

.

แต่ถึงอย่างนั้นสวีเดนยังคงต้องใช้เวลากว่า 10 ปีในการขุดและสกัดแร่เหล่านั้นออกมา เพราะจำเป็นจะต้องขออนุญาติในการขุดที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในยุโรป พร้อมทั้งจำเป็นจะต้องสร้างโรงงานเพื่อสกัดแร่หายากเหล่านั้น โดยมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีที่กระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด จึงทำให้จีนยังคงมีเวลาในการเตรียมแผนพัฒนาเพื่อที่จะยืนหยัดเป็นเจ้าตลาดอยู่เช่นเคย

.

ทั้งนี้ สหรัฐอเมริกาก็เตรียมแผนที่จะฟื้นคืนกลับมาเป็นเจ้าตลาดแห่งแร่หายากอีกครั้ง ถึงแม้ว่าการค้นหาแร่จะทำลายทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์เพราะเน้นการขุดเจาะและเกิดฝุ่น ซึ่งทางสหรัฐอเมริกาได้มุ่งเน้นไปทางการใช้เทคโนโลยีเพื่อค้นหาแร่ทางเลือกแทนการขุดเจาะเพราะกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมของสหรัฐเข้มงวดกว่าของจีน

.

ท้ายที่สุดแล้วเป็นที่น่าติดตามว่าในอนาคตข้างหน้าจะมีประเทศใดที่ขึ้นเป็นเจ้าตลาดแทนจีนได้บ้าง หรือจีนยังคงเป็นเจ้าตลาดเช่นเคย..

.

.

ที่มา : statista, cnbc, Bloomberg, Nytimes

เขียนและเรียบเรียง : อโญศิริ สุระตโก

.

ติดตาม Business+ ได้ที่ : https://www.thebusinessplus.com/

Line Business+ ได้ที่ : https://lin.ee/pbIHCuS

IG ได้ที่ : https://www.instagram.com/businessplus.newgen2021/

.

#Businessplus #Business+ #นิตยสารBusinessplus #แร่หายาก #จีน #สหรัฐอเมริกา #สวีเดน #ยุโรป