‘เปาโล โชคชัย 4’ รพ.ที่อยู่มาตั้งแต่รุ่น ‘ปู่ ย่า’ เติบโตจากวิวัฒนาการทางการแพทย์ และกลยุทธ์ ‘Customer Centric’

โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4 ถือเป็นหนึ่งในรพ.ที่ตอบโจทย์การให้บริการด้านการแพทย์อย่างครอบคลุมทุกมิติ สำหรับคนในชุมชนย่าน ลาดพร้าว-โชคชัย 4-วังหิน และรัชดา เป็นเวลานานกว่า 4 ทศวรรษ โดยก่อนหน้านี้ได้ถูกจดทะเบียนก่อตั้งในชื่อ บริษัท การแพทย์สยาม จำกัด เมื่อเดือนมิ.ย. 2513 โดยมีนายแพทย์รัศมี วรรณิสสร และผู้ร่วมทุนอีก 8 ท่าน เป็นผู้ก่อตั้งโรงพยาบาลฯ ด้วยทุนจดทะเบียน 5.5 ล้านบาท และภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4

โดย เปาโล โชคชัย 4 เป็นหนึ่งในเครือข่าย BDMS ซึ่ง BDMS นับเป็นเครือข่ายโรงพยาบาลเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และอยู่ใน 5 อันดับแรกของโลกวัดจากมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด โดยปัจจุบันมีโรงพยาบาลทั้งหมด 51 แห่งทั่วประเทศไทย และอีก 2 แห่งในประเทศกัมพูชา

ทั้งนี้โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4 ได้เปิดให้บริการด้านการแพทย์ ดูแลผู้ป่วย ตั้งแต่รุ่นปู่ ย่า ตา ยาย จนถึงปัจจุบัน ที่ถือว่าเป็นรุ่นลูกหลาน และล่าสุด ได้เปิดตัวอาคารใหม่เพื่อรองรับการขยายตัวในอนาคต

คุณอิทธิ ทองแตง รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส กลุ่มโรงพยาบาลพญาไท- เปาโล เปิดเผยว่า ‘Customer Centric’ คือ นโยบายของโรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4 ซึ่งมีจุดยืนที่จะเป็นโรงพยาบาลที่มีความชำนาญ ด้านการรักษาตั้งแต่โรคทั่วไปจนถึงโรคที่ซับซ้อน เพื่อตอบสนองทุกความต้องการของคนในชุมชนโดยรอบโรงพยาบาล และนำมาสู่การเติบโตทางธุรกิจด้านสุขภาพอย่างยั่งยืน นี่คือกลยุทย์ของโรงพยาบาลเปาโลโชคชัย 4 ตลอดกว่า 40 ปีที่ได้ให้บริการประชาชนตลอดมา

ขณะที่โรงพยาบาลได้ทำการเปิดอาคารใหม่ เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของรพ.เปาโล โชคชัย 4 ซึ่งตลอด 24 ปีที่ผ่านมา ได้มีการเปิดตึกใหม่อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นตึกสำหรับแม่และเด็ก ที่ทางรพ.ได้เห็นถึงความต้องการของคนในชุมชนที่มากขึ้น รวมถึงวิวัฒนาการทางการแพทย์ก็พัฒนาขึ้นมามากตามประชากรที่เพิ่มขึ้น อย่างเครื่องมือต่าง ๆ ที่เห็นก็เป็นอุปกรณ์ใหม่ๆ ที่บางอย่างไม่เคยมีมาก่อนก็นำเข้ามาใช้ เพื่อให้การดูแลประชาชนได้ดีที่สุด ตึกนี้จะรวมทั้งหมดและจะสอดคล้องกับกลุ่มในโรงพยาบาลที่ทางรพ.ได้สร้างขึ้นมา

#เพิ่มขีดจำกัดในการผ่าตัดด้วยนวัตกรรมเครื่องมือที่ทันสมัย
คุณอิทธิ กล่าวว่า นอกจากการเรียนรู้ที่จะวิวัฒนาการทางการแพทย์แล้ว หมอเองก็เรียนบนขีดความจำกัดที่มากขึ้น เครื่องไม้เครื่องมือดีขึ้น ทำให้สามารถดูแลคนไข้ในหลายๆ เคสที่ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดใหญ่ ทำได้ดีขึ้น แทนที่ด้วยการผ่าตัดเล็กจะช่วยเรื่องค่าใช้จ่าย การใช้เวลาในการรักษาตัวน้อยลง หายเร็วขึ้น จริงๆ ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่การที่มีเครื่องไม้เครื่องมือที่ดีขึ้น และหมอที่มีการพัฒนาที่มากขึ้น เราเลือกทีมหมอที่ดีที่สุดเข้ามาเพื่อให้ตอบโจทย์ความเป็นโรงพยาบาลที่จะดูแลได้ครอบคลุมจริงๆ

“เป็นโรงพยาบาลที่ดูแลได้ทุกสาขาวิชา แต่กลุ่มของโรงพยาบาลเปาโล พญาไท หรือแม้แต่การที่เราอยู่ภายใต้การดูแลของ BDMS ก็ทำให้เราสามารถส่งต่อหมอตามเคส หากเคสไหนยากจริงๆ ก็จะมีการส่งต่อไปตามนั้นที่เราได้วางไว้ ก็จะช่วยให้กลุ่มรพ.นี้ตอบโจทย์และรักษาคนไข้ได้ทุกระดับจริงๆ” คุณอิทธิ กล่าว

ด้านผลกระทบต่อธุรกิจโรงพยาบาลในช่วงวิกฤต COVID-19 คุณอิทธิ กล่าวว่า ช่วงแพนิค COVID-19 ปีแรกๆ เป็นสิ่งที่ไม่มีใคร Expect ก็จะดร็อปไปช่วงปีแรก โดยธุรกิจโรงพยาบาล เราไม่เคยวางตัวเองว่า เป็นรพ.เอกชนที่ทำรายได้หรือกำไรมากที่สุด จะให้ตอบเหมือนสิบปีก่อนซึ่งกำไรอยู่ที่สิบเปอร์เซ็นต์ก็ไม่ได้ แต่ว่าต้องเพิ่มขีดความสามารถของตนเองขึ้นไปเรื่อย ๆ ก็ต้องมีการใช้เงินเพื่อการดูแลกลุ่มบุคลากร หมอ พยาบาล เครื่องมือด้วย ในภาพรวมของธุรกิจเองไม่ใช่ว่าเรากำไรมากขึ้น แต่โดยปริมาณอาจจะเพิ่มขึ้น

#ภาพรวมการเติบโต
ด้านภาพรวมการเติบโต ผู้บริหารกลุ่มรพ.เปาโล พญาไท กล่าวว่า จริงๆ แล้วถ้าถามผมในภาพรวมของโรงพยาบาลในกรุงเทพฯ เอง ค่อนข้างเพียงพอแล้วสำหรับเตียง แต่ขาดคือหัวเมืองที่ห่างออกไปก็อาจจะต้องมีรพ.ที่เติมเต็ม แต่ว่า เรามองว่าจะมีการเติบโตตามจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น กลุ่มเราจะมีดูแลประกันสังคมด้วย ไปจนถึงประกันสังคมและรพ.พญาไทก็จะดูแลไปอีกกลุ่มหนึ่ง จะตอบโจทย์ซึ่งกันและกัน

ด้านแพลนการขยายโรงพยาบาลไปตามหัวเมืองนั้น ในกลุ่มของ BDMS ก็คงมีแต่เรายังไม่ได้เจาะจงว่าจะเป็นที่ไหน

สำหรับวิกฤติ COVID-19 ที่มาเป็นระลอก คุณอิทธิ กล่าวว่า ขอมองจากมุมมองหมอละกันว่า ตอนนี้โรคนี้เราก็คงจะต้องอยู่กับมัน แต่หลายคนก็คงต้องเรียนรู้และอยู่กับโรคนี้ ต้องดูแลตัวเองให้ดีที่สุด เป็นวิธีการที่ต้องดูแลตัวเอง แต่จะเป็นการพลิกวิกฤติเป็นโอกาสหรือไม่นั้น ต้องบอกว่า ช่วง COVID-19 เป็นช่วงที่เนื่องจากว่าคนไข้เข้ามารพ.น้อย เคสที่เข้ามาเป็นเคสยากๆ เรื่องนวัตกรรมในการป้องกันตัวเองจากโควิดเยอะมาก

“เรามีเวลากลับมานั่งคิดและพัฒนาบุคลากรของเราในเรื่องของการดูแลเคสยากๆ ถือเป็นโอกาสคนทำงานในธุรกิจนี้ แต่ว่าไม่ใช่เรื่องเงิน เป็นเรื่องของพัฒนาบุคลากรมากกว่า ความเป็นโรงพยาบาลเหมือนเป็นสถาบันที่เราอยู่นิ่งไม่ได้ แต่ต้องพัฒนาตัวเอง” คุณอิทธิ กล่าวในตอนท้าย

เรียบเรียง : พรรณรุ้ง คุ้มพงษ์พันธ์

ที่มา : โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4

ติดตาม Business+ ได้ที่ : https://www.thebusinessplus.com/
Line Business+ ได้ที่ : https://lin.ee/pbIHCuS
IG ได้ที่ : https://www.instagram.com/businessplus.newgen2021/

#Businessplus #Business+ #นิตยสารBusinessplus #โรงพยาบาลเปาโลโชคชัย4 #เปาโล #BDMS