สหรัฐฯ หารือ ญี่ปุ่น-เนเธอร์แลนด์ หวังควบคุมส่งออก ‘ชิป’ ไปยังจีน

ดูเหมือนปัญหาเรื่องการขาดแคลน ‘ชิป’ (Chip) จะยังคงเป็นปัญหาใหญ่สำหรับหลาย ๆ อุตสาหกรรม และยิ่งไปกว่านั้น ผู้ที่ได้เปรียบในเรื่องนี้ ยังถือเป็นผู้ที่มีอำนาจในการต่อรองทางธุรกิจได้อย่างมีนัยสำคัญอีกด้วย อย่างเช่นในกรณีล่าสุด ที่ทางสหรัฐฯ ได้มีการหารือกับพันธมิตรอย่างญี่ปุ่นและเนเธอร์แลนด์ ในการควบคุมการส่งออก ‘ชิป’ ไปยังประเทศจีน

โดย ‘เจค ซัลลิแวน’ ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาว เปิดเผยว่า สหรัฐฯ ได้มีการปรึกษาพูดคุยกับพันธมิตร ซึ่งรวมถึงญี่ปุ่นและเนเธอร์แลนด์ เพื่อเข้มงวดการส่งออกที่เกี่ยวข้องกับ ‘ชิป’ (Chip) ไปยังประเทศจีน

ขณะที่ ‘สำนักข่าวบลูมเบิร์ก’ รายงานว่าทั้งสองประเทศได้ตกลงในหลักการที่จะเข้าร่วมการควบคุมการส่งออกเทคโนโลยีที่นำโดยสหรัฐฯ ทั้งนี้ คณะบริหารของ ‘โจ ไบเดน’ มีเป้าหมายที่จะกีดกันจีนจากชิปเซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor) บางตัวที่ผลิตขึ้นทั่วโลกด้วยอุปกรณ์ของสหรัฐฯ เพื่อชะลอความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการทหารของปักกิ่ง โดยออกมาตรการควบคุมในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา

โดยนอกเหนือจากซัพพลายเออร์อุปกรณ์ของสหรัฐฯ บางรายแล้ว บริษัท Tokyo Electron Ltd ของญี่ปุ่น และ ASML Holding NV ผู้เชี่ยวชาญด้านการพิมพ์หินชาวดัตช์ ซึ่งเป็นผู้เล่นที่สำคัญทั้ง 2 ราย ที่จำเป็นในการทำให้การคว่ำบาตรมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้รัฐบาลของทั้ง 2 ราย ยอมรับการควบคุม

 

เขียนและเรียบเรียง : เพชรรัตน์ แสงมณี

ที่มา : รอยเตอร์
ติดตาม Business+ ได้ที่ : https://www.thebusinessplus.com/
Line Business+ ได้ที่ : https://lin.ee/pbIHCuS
IG ได้ที่ : https://www.instagram.com/businessplus.newgen2021/
#Businessplus #Business + #นิตยสารBusinessplus #ชิป #ไมโครชิป #จีน #Semiconductor #Microchip