Medical tourism

Medical tourism เครื่องจักรสร้างรายได้ใหม่จากนักท่องเที่ยวจีน

Medical tourism นับเป็นอุตสาหกรรมสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศและประเทศไทยถือได้ว่าเป็นผู้นำด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

นอกจากนี้ Medical tourism  ยังเป็นแม่เหล็กอันดับ3ที่ทำรายได้จากนักท่องเที่ยวจีน  ตลาดที่สำคัญของไทย

ภาพปัจุบันปฏิเสษไม่ได้ว่าทุกประเทศในเอเชียหรือแม้แต่ยุโรปหรืออาจทั่วโลกกำลังพยายามอย่างมากในสร้างรายได้จากนักท่องเที่ยวจากประเทศจีน ที่นอกจากเศรษฐกิจในประเทศจีนจะดีขึ้นอย่างต่อเนื่องแล้ว รายได้เฉลี่ยต่อคนก็เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับความนิยมเดินทางท่องเที่ยวนอกประเทศ ก็ทำให้ ปัจจุบันนักท่องเที่ยวชาวจีนมีทางเลือกมากมายจากหลากหลายฟังชั่นที่ทั่วโลกนำเสนอ

และหนึ่งในก็คือประเทศไทยซึ่งอยู่ลิสต์จุดหมายปลายทางยอดนิยมของนักท่องเที่ยวชาวจีน ซึ่งปัจุบันต้องยอมรับว่าประเทศไทยกำลังสูญเสียธุรกิจการท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวจีนไปให้กับประเทศอื่น ๆ ในเอเชีย โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นที่มีอัตราการเติบโตของนักท่องเที่ยวจีนถึง 14% เมื่อเทียบกับการเติบโตของนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางมายังประเทศไทยที่เพิ่มขึ้นเพียง 1% เท่านั้น นอกจากนี้นักท่องเที่ยวชาวจีนยังมีการจับจ่ายใช้สอยที่ประเทศญี่ปุ่นมากกว่าที่ประเทศไทยถึง 18%

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?? นั่นเพราะปัญหาสำคัญที่เป็นอุปสรรคที่ทำให้นักท่องเที่ยวจีนเดินทางเข้ามาในประเทศไทยยากขึ้น ประการแรกและมีสำคัญที่สุดคือภาวะที่ค่าเงินบาทแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง ประการต่อมาคือเรื่องของวีซ่า

ปัจจุบันนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางมายังประเทศไทยสามารถยื่นขอวีซ่าได้เมื่อเดินทางมาถึงสนามบิน แต่ต้องรอคิวนาน ในทางกลับกันญี่ปุ่นมีการอนุญาตให้ทำวีซ่าเข้าประเทศสำหรับนักท่องเที่ยวชาวจีนที่ต้องการเดินทางมาญี่ปุ่นได้นานถึง 5 ปี

และหนึ่งจุดขายที่ประเทศไทยยังมีศักยภาพในการดึงดูดและสร้างรายได้จากนักท่องเที่ยวจีนคือ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซึ่งจากรายงานของ Medical Medical Travel Journal ระบุว่าในปี 2561 ประเทศไทยถูกจัดอันดับเป็นที่ 3 ของโลกในด้านรายได้จากการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ สืบเนื่องมาจากจำนวนผู้ป่วยชาวจีนที่เพิ่มขึ้นกำลังมองหาโปรแกรมการดูแลรักษาและการป้องกัน เช่น การต่อต้านริ้วรอย การทำเด็กหลอดแก้ว การตรวจสุขภาพและการรักษาทางเลือก

ในขณะที่ Really Really Cool ประมาณการว่าประเทศไทยจะมีนักท่องเที่ยวทางการแพทย์จากจีนมากถึง 50,000-60,000 คนต่อปี ประกอบกับล่าสุดในการประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนวาระความมั่นคงด้านสุขภาพโลก (Global Health Security Agenda (GHSA) Steering Group Meeting) ณ สำนักงานคณะผู้แทนถาวรราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ประจำสหภาพยุโรป กรุงบรัสเซลส์ ราชอาณาจักรเบลเยียม ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีความเข้มแข็งด้านความมั่นคงด้านสุขภาพเป็นอันดับที่ 6 จากทั้งหมด 195 ประเทศ และเป็นประเทศกำลังพัฒนาประเทศเดียวที่ถูกจัดให้อยู่ใน 10 อันดับสูงสุด (Top 10) ของโลก และเป็นอันดับ 1 ในเอเชียด้วยคะแนน 73.2 จาก 100 คะแนน ตอกย้ำถึงศักยภาพในการทำเงินจากอุตสาหรรมสุขภาพจากนักท่องเที่ยวจีนได้เป็นอย่างดี

ทั้งนี้ พาที สารสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เรียลลี เรียลลี คูล ให้มุมมองที่น่าสนใจว่า หากประเทศไทยต้องการต่อยอดและสร้างมูลค่าเพิ่มในตลาดการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ จำเป็นที่จะต้องปลดล็อคข้อจำกัดบางอย่าง “สิ่งที่ผมอยากจะเสนอต่อผู้กำหนดนโยบายของประเทศไทย คือให้เราเสนอวีซ่าเข้าประเทศนาน 3 ปี สำหรับนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวแบบอิสระ (Free Independent Travelers: FIT)

ซึ่งนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการจ่ายค่าธรรมเนียมวีซ่า แต่พวกเขามองหาความสะดวกสบายในการเดินทาง ถ้าเราสามารถแก้ไขปัญหาเรื่องการขอวีซ่าได้ จะเป็นการช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางมาประเทศไทยเพื่อการรักษาทางการแพทย์ได้มากขึ้นอย่างแน่นอน

นอกจากนี้ปัจจุบันมีสายการบินหลายแห่งที่ให้บริการบินเส้นทางระหว่างกรุงเทพฯ และเมืองสำคัญ ๆ ในประเทศจีน เช่น ปักกิ่ง และเซี่ยงไฮ้ ซึ่งช่วงเวลาของเที่ยวบินที่เดินทางมาถึงนั้นไม่สะดวก เพราะผู้โดยสารต้องบินออกจากประเทศจีนตอนดึก และมาถึงประเทศไทยเร็วเกินไปในช่วงเช้าและพบปัญหาเดียวกันเมื่อเดินทางกลับ ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบอาจต้องหารือกับผู้ประกอบการต่อไปเกี่ยวกับตารางเวลาบินของสายการบินที่เหมาะสมมากยิ่งขึ้น”

อย่างไรก็ตามปัจบันนักท่องเที่ยวจากประเทศจีนยังเป็นกลุ่มที่สร้างรายได้เข้าประเทศมากที่สุดเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่นๆหรือแม้แต่ในกลุ่มนักท่องเที่ยวจากประเทศเองก็ตาม หากในอนาคตมีการเปลี่ยนถ่ายกลุ่มนักท่องเที่ยวดังกล่าวไปยังประเทศอื่น นั่นหมายความว่ารายได้จากการท่องเที่ยวก็จะลดลงตามไปด้วย การกระตุ้นและปรับมาตราการให้นักท่องเที่ยวจากจีนเข้ามาใช้จ่ายในประเทศก็นับว่ามีความสำคัญอยู่

 

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: กฤษฎาพร วงศ์ชัย  (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่

Medical tourism