LINE ว่าที่เบอร์ 1 Social-Commerce เบื้องหลังการเติบโตกว่า 100% บน 3 กลยุทธ์ในฐานที่แข็งแรง

ปัจจุบันการทำธุรกรรมต่าง ๆ ก็คงหนีไม่พ้นการพึงพาเทคโนโลยี ที่ได้เข้ามาช่วยให้ทุกอย่างสะดวกสบายมากขึ้น  LINE ประเทศไทย ถือเป็นอีกหนึ่งธุรกิจสำคัญที่เข้ามาบทบาทในชีวิตประจำวันรอบด้านมากขึ้น ไม่ว่าจะ Chat application,  E-commerce, Food Delivery, Payment, Business รวมถึงแหล่งติดตามข่าวสาร และ Entertainment ต่างๆ แต่การที่จะเข้ามาแทรกซึมอยู่ใน Life instructure ของผู้คน และเป็นที่ยอมรับได้มากขนาดนี้คงไม่ใช่เรื่องง่าย ถือเป็นความท้าทายของ LINE ที่จะตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ และก้าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผู้คนให้ได้

 

ดร.พิเชษฐ ฤกษ์ปรีชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บริษัท LINE ประเทศไทย จำกัด บอกกับเราว่า ส่วนหนึ่งของปัญหาการต่อยอดธุรกิจต่าง ๆ อาจตกหลุมพลางในความกระจัดกระจายของบริการ จุดเริ่มต้นที่สำคัญไลน์ คือ การต่อจิ๊กซอว์บริการให้ครอบคลุม เป็นเนื้อเดียวกัน  โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ LINE เป็นส่วนหนึ่งของทุกสไตล์ และตอบโจทย์การใช้ชีวิตรอบด้าน 

 

ความท้าทายในเริ่มแรก คือ การเพิ่มจำนวนบัญชีผู้ใช้จาก 44 ล้านบัญชี หรือกว่า 90% ของจำนวนประชากรผู้ในงานอินเตอร์เน็ต ให้ได้ 50 ล้านบัญชี หรืออีกไม่ถึง 10% ซึ่งองค์ประกอบสำคัญนี้ ไม่ใช่แค่หน้าตาความสวยงาม หรือความสะดวกสบายในการใช้แพลตฟอร์มของ LINE แต่ยังมีปัจจัยภายนอกเหนือการควบคุม ทั้งในเรื่องของสัญญาณอินเตอร์ครอบคลุมทั่วประเทศ ความเร็วและราคา 

 

แต่ด้วยความเชื่อมั่นในกลยุทธ์ ที่ไม่ว่าจะออกผลิตภัณฑ์ หรือบริการใดขึ้นมา การใช้ Humanization Technology และ Hyper-Localization ถือเป็น Key success สำคัญที่สามารถพา LINE บรรลุเป้าหมายได้ 

 

Key success ฉบับ ดร.พิเชษฐ

 

Humanization Technology และ Hyper-Localization นั้นเป็นการเน้นการออกแบบ User interface มีหน้าตาการใช้งานที่น่าใช้  ใช้งานง่าย ที่สำคัญต้องเหมาะพฤติกรรมคนไทยที่เป็นผู้ใช้งานหลักในประเทศ “ยกตัวอย่าง LINE MAN เราไม่ได้ออกแบบมาเพื่อผู้ซื้ออาหารเท่านั้น แต่รวมถึงผู้ขายอาหาร และไรเดอร์ด้วย เพราะฉะนั้นต้องไม่ลืมที่จะใส่รายละเอียดของการใช้งานที่ง่าย สะดวกสบายต่อการลงทะเบียนขายอาหาร และการรับออเดอร์ด้วยด้วย” ดร.พิเชษฐ กล่าว

 

 

ทั้งนี้ LINE MAN ยังมีบริการ NON-GP หรือผู้ประกอบการร้านค้าไม่ต้องเสียค่าส่วนต่างให้กับ LINE MAN จึงไม่แปลกใจที่ช่วงวิกฤตโควิด-19 ที่ผ่าน แม้อุตสาหกรรมโลจิสติกส์จะมีคู่แข่งดุเดือดขนาดไหน LINE MAN ก็สามารถทำยอดลงทะเบียนของร้านค้าที่มาก และขายสินค้าออกได้รวดเร็ว

 

นอกจากนี้ยังนำกลยุทธ์ดังกล่าวมาปรับใช้กับทุกบริการของ LINE ไม่ว่าจะเป็น LINE BK แพลตฟอร์มบริการ Payment ที่เปิดตัวไปเมื่อปี 2020 ก็มียอดผู้ใช้บริการทะลุ 2 ล้านคนภายใน 4 เดือนแรก ครองใจผู้บริโภคด้วยระบบถอน-โอน-จ่ายที่แสนสะดวก และสามารถกู้เงินได้ภายใน 5 นาทีอีกด้วย 

 

เช่นเดียวกันกับ LINE OA ถือเป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่เติบโตมากขึ้นถึง 30% สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัด คือ การปรับตัวร้านค้าที่มาอยู่ในรูปแบบ E-Commerce มากขึ้น นำมาสู่การเติบโตแบบก้าวกระโดดของ LINE Shopping ที่ถึงแม้การเบียดลงมาเป็นอีกหนึ่งผู้เข้าแข่งขัน สู้กับรายใหญ่ในตลาดปัจจุบันนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ความแข็งแรงของระบบ Chat-Commerce ที่ได้เปรียบในของเรื่องจำนวนและความถี่ในการใช้งานของ LINE (Chat Application) รวมถึงระบบ Payment ที่มีพาร์ทเนอร์กับธนาคารรายใหญ่ของประเทศ ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการสร้าง Ecosystem ที่ดีของ LINE 

 

ต่อยอดธุรกิจบนฐานกลยุทธ์ที่แข็งแรง

 

ปัจจุบัน LINE ยังคงมุ่งเน้นต่อยอดบนฐานกลยุทธ์ที่แข็งแรงต่อไป โดยมุ่งเน้นกับ 3 เรื่องเป็นหลัก ดังนี้

1.) OMO (Online Merge Offline) 

ทุกวันนี้ LINE มีบริการครอบคลุมรอบด้านที่ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้งานได้ทุกวันเป็นปกติ ซึ่งเป้าหมายคือ ต้องการสร้างประสบการณ์การใช้งานของโลกออนไลน์และออฟไลน์ให้เป็นเนื้อเดียวกัน 

 

2.) FinTech 

เพราะในบริการหลาย ๆ แพลตฟอร์มของ LINE มีเรื่องของระบบ Payment เข้ามาเกี่ยวข้อง การต่อยอดธุรกรรมทางการเงินเพื่อยกระดับประสบการณ์ Financial Experience ให้ผู้ใช้บริการสะดวกมากที่สุด จึงเป็นเรื่อง LINE ตั้งมั่น

 

3.) E-commerce 

“เราต้องการจะเป็นเบอร์ 1 ในเรื่องของ Social-Commerce” ดร.พิเชษฐ กล่าว 

ด้วยความที่ LINE เชื่อมั่นในจำนวน LINE OA ที่มีผู้ขายมากกว่า 4 ล้านราย และยังมีความเหนี่ยวแน่นกับ Brand Corporate รายใหญ่ของประเทศมากมาย ทำให้มีเป้าหมายที่จะต้องการจะสร้างประสบการณ์ช้อปปิ้งที่แตกต่างด้วย Chat Commerce ที่ LINE รักษาจุดแข็งมาอย่างต่อเนื่อง 

 

บริหารคนฉบับ LINE’s Culture 

 

 

“ยอมรับว่าทุกอย่างไม่ได้อยู่ในแผน แต่สิ่งหนึ่งที่พร้อมให้เสมอ

คือการสร้าง Culture สร้างแรงบันดาลใจ และดึงศักยภาพพนักงานออกให้มากที่สุด”

ดร.วิเชษฐ ฤกษ์ปรีชา

 

ด้วยรูปแบบการทำงานของไลน์ที่ผ่านมา ได้ใช้เครื่องมือออนไลน์ต่าง ๆ เข้ามาเป็นตัวช่วยในการทำงานอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการประชุมงาน หรือระบบการจัดการต่าง ๆ ซึ่งอาจจะไม่ได้เป็นอุปสรรคมากนักในช่วงแรก แต่เมื่อการทำงานในรูปแบบ Work from Home กินเวลามาเกือบ 2 ปี ดร.วิเชษฐก็ยอมว่าคงไม่แปลกที่จะเริ่มรู้สึกถึงความล้ากันไปบ้าง

 

อย่างไรก็ตามสิ่งหนึ่งที่ LINE ให้ความสำคัญกับพนักงานมาตลอด คือ การคง Culture หรือวัฒนธรรมที่แข็งแรงขององค์กร เพื่อให้ทุกคนยังรู้สึกคอนเน็กท์กันอยู่ โดย Culture ที่สำคัญของ LINE ดร.วิเชษฐ กล่าวว่า มีด้วยกัน 3 ข้อ  “Dynamic (เต็มไปด้วยพลังและความคิดสร้างสรรค์) ช่างคิด และ Result Orientation (ให้ความสำคัญกับผลผลลัพธ์ของงาน)”

 

ซึ่งเป็นความท้าทายของทีมงาน HR เป็นอย่างมากที่ต้องรักษาวัฒนธรรมให้เหนี่ยวแน่น และคง Productivity ของพนักงานให้ได้ โดยมีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ และมอบสวัสดิการให้พนักงานได้มากที่สุด ทั้งการส่งคุกกี้ไปที่บ้าน ชุดปลูกต้นไม้ ชุดทำแพนเค้ก การมีกิจกรรม Connect Day คลาสเรียนโยคะ กิจกรรมประมูลสินค้าจากพนักงาน มอบวัคซีนทางเลือก รวมไปถึงช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในบ้านทั้งค่าน้ำค่าไฟให้กับพนักงาน

 

“ที่นี่เปรียบเสมือน ‘Home’ และ ‘Comfort Zone’ ของพนักงาน” 

 

LINE ถือเป็นหนึ่งในบริษัทที่คนรุ่นใหม่สนใจอยากร่วมงานด้วย ฉะนั้นส่วนใหญ่พนักงานที่นี่จึงเป็น First Jobber ซึ่งยังไม่เคยได้เจอกับ Culture กับบริษัทอื่น ๆ มาก่อน และเมื่อได้ลองออกไปร่วมงานในรูปแบบที่แตกต่างออกไป บางครั้งอาจพบว่าพื้นที่เคยอยู่มานั้นเหมาะสมกับเขาที่สุด

 

สำหรับ ดร. พิเชษฐ มองว่า สภาพจิตใจและการทำงานของคนก็เหมือนกับการปลูกต้นไม้ การเอาต้นไม้ไปปลูกในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะกับสายพันธุ์ ต้นไม้นั้นจะเฉา จึงไม่แปลกใจที่บางครั้งพนังงานอยากกลับมาร่วมงานด้วยอีกครั้ง ซึ่ง LINE ก็ยินดีที่จะอ้าแขนรับ

 

ดร. พิเชษฐ เล่าต่อว่า “ที่นี่เปรียบเสมือน ‘Home’ มันเป็นความรู้สึกที่มากกว่าคำแปลที่ว่า ‘บ้าน’ เพราะไม่ใช่เรื่องแปลกที่วันเสาร์-อาทิตย์จะเจอน้อง ๆ นั่งอยู่ที่ทำงาน ซึ่งจริง ๆ แล้วเป็นนัดที่พวกเขาจะไปเที่ยวด้วยกัน แต่มาเริ่มต้นพบกันที่บริษัท เพราะมันคือ comfort zone พวกของเขา”

 

สปีชีส์ที่ LINE เป็น ดีเอ็นเอที่ LINE มองหา

 

ดร. พิเชษฐ เล่าว่า ส่วนตัวมาอยู่ที่นี้ได้เกือบ 6 ปีก็เป็นอีกคนที่อยากลองทำอะไรใหม่ ๆ รู้สึกสนุกที่ได้ทำงาน และพนักงานส่วนใหญ่ของ LINE เป็นสปีชีส์ที่เรียกได้ว่า เอนเนอร์จี้สูง พร้อมลุย และต้องการสร้างสิ่งแปลกใหม่เสมอ ซึ่งดีเอ็นเอในพนักงานที่ไลน์มองหา มีอยู่ด้วย 3 ข้อหลัก ๆ  

 

  • Problem Solver

ไม่ว่าจะเป็นขั้นแรกที่ได้พบกันในการสัมภษณ์ หรือหลังจากการรับเข้าทำงาน สิ่งที่ LINE ให้ความสำคัญคือ Thinking Process ในการพร้อมรับมือ และพยายามหาทางแก้ปัญหาให้ดีที่สุด 

 

  • Self-Starter

ที่ LINE ไม่ได้กำหนดเวลาการทำงานที่แน่นอนให้ พนักงานต้องเรียนรู้การจัดลำดับความสำคัญ และบริหารเวลาตัวเองได้ดี

 

  • Culture

อย่างที่ได้กล่าวไปว่า LINE ให้ความสำคัญ และมีวัฒนธรรมที่แข็งแรงมาก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่บุคคลนั้นจะสามารถเข้ากับ Culture ของ LINE ได้อย่างมีความสุข

 

สำหรับในอนาคต LINE ก็ยังคงเดินหน้าบนกลยุทธ์ที่แข็งแรงต่อไป รวมถึงรักษาสิ่งที่มีค่าเอาไว้ ทั้งเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพในมือ และจำนวนบัญชีผู้ใช้เพื่อต่อยอดธรุกิจ และร่วมมือกับแบรนด์อื่น ๆ ซึ่งท้ายที่สุดแล้วสิ่งที่ คุณวิเชษฐ อยากเห็นมากที่สุด คือ LINE เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยธุรกิจไทยให้โตขึ้นได้ และยังสามารถเติบโตไปพร้อมกันได้อีกด้วย

 

เขียนและเรียบเรียง : ธนัญญา มุ่งสันติ
กราฟฟิก : รวิกานต์ สุรชิต
ติดตาม Business+ ได้ที่ thebusinessplus.com
Line Business+ ได้ที่ https://lin.ee/pbIHCuS
#Businessplus #Business+ #นิตยสารBusinessplus #LINETH #LINEThailand