มาทำความรู้จักกับประเภทของหนี้กัน พร้อมกลเม็ดจัดการหนี้ให้อยู่ในกำมือ

มาทำความรู้จักกับประเภทของหนี้กัน พร้อมกลเม็ดจัดการหนี้ให้อยู่ในกำมือ

อยากจะประกอบธุรกิจทั้งทีก็ต้องมีการกู้เงินเพื่อสร้างสภาพคล่อง เจ้าของธุรกิจส่วนใหญ่จึงเป็นหนี้กันนั่นเอง แต่หนี้ที่ว่านี้คือหนี้ทางการค้าซึ่งเป็นหนี้ที่จะก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มได้ในอนาคต แต่ไม่ว่าจะเป็นหนี้อะไร หน้าที่ของลูกหนี้ก็ต้องชำระหนี้ตามกฎหมายให้ครบถ้วน วันนี้เราจะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับหนี้ประเภทต่างๆ กัน

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักคำว่าหนี้กันก่อน หนี้ หมายถึง เงินที่ผู้หนึ่งติดค้างอยู่จะต้องใช้ให้แก่อีกผู้หนึ่ง หรือการมีนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลตั้งแต่ 2 ฝ่ายขึ้นไป ซึ่งฝ่ายหนึ่งเรียกว่า เจ้าหนี้ มีสิทธิที่จะบังคับบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า ลูกหนี้ ให้กระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือความหมายที่สรุปกันง่ายๆ หนี้สินก็คือ เงินที่ผู้หนึ่งซึ่งเรียกว่า “ลูกหนี้” ติดค้างอยู่จะต้องใช้ให้แก่อีกผู้หนึ่งซึ่งเรียกว่า “เจ้าหนี้” นั่นเอง

สำหรับหนี้สินนั้นสามารถแยกตามลักษณะของระยะเวลาในการชำระหนี้ ได้ 2 ประเภท ได้แก่

  1. หนี้สินหมุนเวียน (Current Liabilities)

หนี้สินหมุนเวียน หมายถึง หนี้สินที่กิจการต้องชำระคืนด้วยสินทรัพย์หรือบริการภายในระยะเวลาดำเนินงานปกติของกิจการ หรือเป็นหนี้สินที่ถึงกำหนดชำระภายใน 12 เดือนนับจากวันที่ใน งบดุล  หนี้สินหมุนเวียนมักเกิดจากรายการค้าดังต่อไปนี้

– กิจการซื้อสินค้าหรือได้รับบริการเป็นเงินเชื่อ

–  กิจการได้รับเงินค่าสินค้าหรือบริการมาล่วงหน้า

–  กิจการมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นแล้ว แต่ยังไม่ได้จ่ายเงิน

หนี้สินหมุนเวียนได้แก่ เงินเบิกเกินบัญชีธนาคารและเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน เจ้าหนี้การค้าและตั๋วเงินจ่ายระยะสั้น เงินกู้ยืมระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปีนับจากวันที่ในงบดุล เงินกู้ยืมระยะสั้นจากบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน เป็นต้น

  1. หนี้สินไม่หมุนเวียน หรือหนี้สินระยะยาว (Long-Term Liabilities)

หนี้สินระยะยาว หมายถึง หนี้สินที่กิจการก่อขึ้นโดยมีกำหนดระยะเวลาในการจ่ายชำระคืนในระยะเวลายาวนานเกินกว่า 1 ปี หรือเกินกว่ารอบระยะเวลาการดำเนินงานปกติของกิจการ ตัวอย่างหนี้สินระยะยาว เช่น เงินกู้ยืมระยะยาวจากบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินกู้ยืมระยะยาวอื่น หุ้นกู้ตั๋วเงินจ่ายระยะยาว หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น ประมาณการหนี้สินเงินบำนาญ หนี้สินเงินทุนเลี้ยงชีพและบำเหน็จ เป็นต้น หนี้สินไม่หมุนเวียนหรือหนี้สินระยะยาว จะบันทึกบัญชีด้วยมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่ต้องใช้ในการจ่ายชำระหนี้

เทคนิคปิดหนี้ ธุรกิจของเรานี้ต้องไปต่อยาวๆ

  1. ปิดหนี้ก้อนเล็กก่อน

ถ้ามีการกู้จากหลายแหล่ง ให้ปิดหนี้ก้อนเล็กที่สุดไปก่อนเลย เพราะว่า การปิดก้อนเล็กได้ก่อนจะทำให้ เกิด “กำลังใจ” ในการที่จะปิดหนี้ก้อนถัดๆ ไปนั่นเอง

  1. มัดรวมหนี้เป็นก้อนเดียว

มีหนี้ 10 ก้อน ก็ต้องจ่ายให้เจ้าหนี้ 10 คน อัตราดอกเบี้ยก็ต่างกัน 10 ก้อน ถ้ารวมหนี้ทุกก้อนมาไว้เป็นก้อนใหญ่ก้อนเดียว ที่ทั้งดอกเบี้ยรวมแล้วถูกกว่า และยังบริหารง่ายกว่า ประหยัดเวลาในการจ่ายเงินได้ด้วย

  1. ตัดต้นทุนไม่จำเป็นทิ้ง

อันนี้เป็นวิธีคลาสสิกที่ทำกันมานาน นั่นคือสำรวจทรัพย์สินหรืออะไรที่สามารถมาลดต้นทุนได้บ้าง  อาจจะขายทรัพย์สินที่ไม่จำเป็นเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ หรืออาจจะใช้วิธีการที่ SME ใช้กันเยอะมาในตอนนี้คือ ลดการจ้างพนักงานประจำเปลี่ยนเป็นพนักงานชั่วคราวหรือพาร์ทไทม์แทน

  1. จ่ายหนี้ดอกเบี้ยสูงก่อน

วิธีนี้เป็นวิธีคลาสสิกอีกเช่นกัน ที่เน้นลดภาระค่าใช้จ่ายจากดอกเบี้ยให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยการชำระหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูงที่สุดก่อน เมื่อชำระดอกเบี้ยที่สูงที่สุดหมดแล้ว ก็ชำระหนี้ที่ดอกเบี้ยสูงรองๆ ลงมาต่อไป

  1. ให้เงินอยู่กับตัวนานที่สุด

อีกวิธีหนึ่งที่ช่วยลดภาระความตึงทางการเงินได้ก็คือการซอยจ่าย ยืดเวลาจ่าย หรือถ่างเวลาออกไปเพื่อให้เงินอยู่กับตัวนานที่สุด ลองเจรจาขอเครดิต หรือ ขอเลื่อนวันจ่ายออกไปก่อน เพื่อรักษาสภาพคล่องไว้ให้นานที่สุด นี่ก็ช่วยในการบริหารหนี้ ให้สภาพการเงินของคุณในระยะสั้นยังมีความคล่องตัวอยู่

ใช้ตัวช่วยในการบริหารจัดการทางการเงิน ให้ Corpus ช่วยคุณสิ

Corpus มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่สามารถประเมินความเสี่ยงของคู่ค้าได้ ทำให้สามารถเลือกลูกค้าที่มีความเสี่ยงต่ำก่อนการร่วมการค้าได้ นอกจากนี้ยังหมดห่วงเรื่องหนี้เสีย ด้วยเหตุผลนี้เราจึงพัฒนาเครื่องมือวัดความเสี่ยงของธุรกิจ ที่สามารถบ่งบอกได้ว่าธุรกิจนั้นมีโอกาสที่จะประสบปัญหาทางการเงินในอีก 1 ปี มากน้อยแค่ไหน โดยแสดงข้อมูลในรูปแบบคะแนน และ ดัชนี เพื่อง่ายต่อความเข้าใจ นอกจากนี้องค์กรก็สามารถใช้ FS Score ในการประเมินความเสี่ยง portfolio ลูกค้าปัจจุบันได้เช่นกัน  เห็นธุรกิจที่ซ่อนอยู่ของลูกหนี้ ดูความสัมพันธ์ของบริษัทที่เกี่ยวข้องจากรายชื่อกรรมการเป็นรายคน เพื่อง่ายต่อการประเมินความเป็นไปได้ในการเก็บหนี้และจัดลำดับเพื่อเก็บหนี้ ที่มีโอกาสเก็บได้มากกว่าก่อน

การบริหารจัดการหนี้ก็เป็นส่วนสำคัญที่ธุรกิจต่างๆ ต้องคำนึงถึง ดังนั้นเจ้าของธุรกิจจะต้องพินิจพิเคราะห์ถึงภาระหนี้สินของตัวเอง รวมไปถึงพิจารณาความเสี่ยงของคู่ค้าด้วยว่าจะเสี่ยเป็นหนนี้สูญหรือไม่ การที่ทราบความเป็นไปหลายๆ ทาง จะช่วยให้เจ้าของธุรกิจวางแผนในการจัดการเงินตราได้อย่างเป็นระบบและแม่นยำมาก