Green Hydrogen

เปิดข้อมูล Green Hydrogen กุญแจสู่เป้าหมาย Net Zero ของโลก

ไฮโดรเจนสีเขียว หรือ Green Hydrogen ถูกมองว่าจะเป็นพลังงานที่จะทำให้เป้าหมายการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ของโลกเป็นศูนย์สำเร็จได้ (์Net zero emissions) แต่ถึงแม้ว่า Green Hydrogen จะเป็นพลังงานที่ตอบโจทย์ยุทธ์ศาสตร์ของสหประชาชาติ แต่ในปัจจุบันก็ยังมีข้อจำกัดด้านกระบวนการผลิตที่มีต้นทุนสูงกว่าพลังงานทุกประเภท และการจัดเก็บขนส่งก็ยังเป็นเรื่องยาก จึงทำให้ Green Hydrogen ยังคงเป็นตลาดที่เล็ก และมี Supply chain ที่ยังไม่สมบูรณ์

ซึ่งในมุมของผู้ประกอบการไทยแล้ว ยังมีบริษัทไม่กี่รายที่ขยายและลงทุนแบบเต็มรูปแบบใน Green Hydrogen เช่น บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ที่ร่วมมือกับพันธมิตรเกาหลีใต้ และฝรั่งเศส และสามารถคว้าสัมปทานกว่า 47 ปีในประเทศโอมาน ส่วนการดำเนินธุรกิจเชื้อเพลิง Green Hydrogen ในประเทศนั้น ปัจจุบันมีหลายบริษัทที่ให้ความสนใจแต่ยังเป็นเพียงการศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility study) และในมุมของผู้บริโภคแล้วยังไม่รู้จักพลังงานประเภทนี้กันมากนัก แต่จริงๆ แล้วมีหลายภาคอุตสาหกรรมที่ใช้ประโยชน์ไฮโดรเจน

อุตสาหกรรมที่ใช้ประโยชน์จาก Hydrogen หลักๆ แล้วมี 5 อุตสาหกรรม คือ

อย่างไรก็ตามไฮโดรเจนนั้นมีหลายประเภท ซึ่งสามารถจำแนกได้จากกระบวนการผลิตที่ใช้สสารแตกต่างกัน ซึ่งจะทำให้ปริมาณการปล่อยคาร์บอนแตกต่างกันด้วยเช่นกัน

ประเภทของ Hydrogen

GreenHydrogen

โดย Brown Hydrogen มีการปล่อยคาร์บอนสูงที่สุด จากกระบวนการผลิตที่นำถ่านหินมาผ่านกระบวนการแปลงถ่านหินเป็นก๊าซ จึงมีปริมาณการปล่อยคาร์บอน 16 กก.ต่อไฮโดรเจน 1 กก.

Grey Hydrogen เกิดจากกระบวนการนำน้ำมัน/ก๊าซธรรมชาติมาเปลี่ยนโครงสร้างโมเลกุลด้วยไอน้ำ ซึ่งมีการปล่อยคาร์บอนเป็นอันดับ 2 ด้วยปริมาณ 9 กก.ต่อไฮโดรเจน 1 กก.

Blue Hydrogen เกิดจากกระบวนการใช้น้ำมัน/ก๊าซธรรมชาติเช่นเดียวกับสีเทา แต่เพิ่มการดักจับคาร์บอน โดยประเภทนี้จะมีการปล่อยคาร์บอนจำนวน 3-6 กก.ต่อไฮโดรเจน 1 กก.

Green Hydrogen เกิดจากกระบวนการแยกน้ำด้วยกระแสไฟฟ้าที่ได้จากพลังงานสะอาด (แสงอาทิตย์ ลม) โดยไฮโดรเจนประเภทนี้จะไม่มีการปล่อยคาร์บอน หรือ มีการปล่อยคาร์บอน 0 กก.ต่อไฮโดรเจน 1 กก.

ซึ่ง Blue Hydrogen และ Green Hydrogen มีอัตราการปล่อยคาร์บอนต่ำมากไปจนถึงไม่ปล่อยคาร์บอนเลย จึงถือเป็นพลังงานสะอาดที่ทั่วโลกต่างให้ความสนใจ โดยเฉพาะ Green Hydrogen ซึ่งเป็นพลังงานที่จะช่วยให้โลกสามารถกำจัดคาร์บอนในภาคพลังงานและอุตสาหกรรมแต่ Green Hydrogen คือ กระบวนการผลิตที่มีต้นทุนสูงกว่า Brown Hydrogen และ Grey Hydrogen อย่างมาก เพราะ Green Hydrogen ต้องใช้พลังงานสะอาด อย่างพลังงานลม หรือ พลังงานแสงอาทิตย์ มาใช้ในการผลิต ซึ่งแน่นอนว่า หากโลกยังไม่มีนวัตกรรมที่จะทำให้การผลิตพลังงานสะอาดต่ำลง ก็จะไม่สามารถทำให้ต้นทุนของ Green Hydrogen ต่ำลงได้เช่นกัน

นอกจากอุปสรรคด้านต้นทุนด้านพลังงานทดแทนที่เป็นเชื้อเพลิงใช้ในการผลิตกรีนไฮโดรเจนยังสูงในปัจจุบันแล้ว ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้ต้นทุนการผลิตกรีนไฮโดรเจนสูง เช่น การจัดเก็บ และการขนส่ง ทำให้เกิดปัญหาด้านการบริหารจัดการ Supply Chain

ข้อจำกัดของ ‘Green Hydrogen’

  1. จัดเก็บและขนส่งยาก : ไฮโดรเจนมีน้ำหนักเบา และยังมีคุณสมบัติในการกัดกร่อน จึงต้องมีกระบวนการจัดเก็บและขนส่งที่ยุ่งยากมากกว่าสสารประเภทอื่น ๆ เช่นต้องเพิ่มการออกแบบให้สามารถกันรั่วซึมสำหรับกักเก็บก๊าซไฮโดรเจน
  2. ต้นทุนสูง : ต้นทุนการผลิต Green Hydrogen เมื่อเทียบกับน้ำมันถือว่าสูงเป็นเท่าตัว จึงทำให้ราคาขายสูงตาม
  3. ตลาดรองรับยังน้อย : เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงจึงทำให้ราคาขาย Green Hydrogen สูงตาม ดังนั้น จึงยังไม่มีตลาดรองรับมากนัก

ถึงแม้ว่า Green Hydrogen จะยังมีอุปสรรคมากมาย จึงยังเป็นเพียงพลังงานอนาคตที่จะต้องใช้เวลาเปลี่ยนถ่ายและพัฒนาอีกหลายทศวรรษ แต่ก็มีการประเมินกันว่าภายในปี 2593 ต้นทุนของ Green Hydrogen จะสามารถเทียบเคียงก๊าซธรรมชาติได้ จากต้นทุนการผลิตที่มีแนวโน้มลดลงตามการพัฒนาเทคโนโลยี ประกอบกับนโยบายภาครัฐของหลายประเทศสนับสนุนการใช้ไฮโดรเจนเพื่อลดการปล่อยคาร์บอน

โดย ‘Business+’ มองว่า ในอนาคตต้นทุนการผลิตจะปรับตัวลดลงตามต้นทุนการผลิตพลังงานหมุนเวียนที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องจากการประหยัดต่อขนาด (Economies of scale) และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในโลก ซึ่งจะถูกพัฒนาโดยประเทศที่มีเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูงที่เร่งผลักดันพลังงานไฮโดรเจนสีเขียว

ที่มา : คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
เขียนและเรียบเรียง : พรรณรุ้ง คุ้มพงษ์พันธ์
ติดตาม Business+ ได้ที่ : https://www.thebusinessplus.com/
Line Business+ ได้ที่ : https://lin.ee/pbIHCuS