Digital ID ยืนยันตัวตนบนโลกดิจิทัล เรื่องใกล้ตัวธุรกิจยุคใหม่ ที่องค์กรไม่ควรมองข้าม

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกนำ Digital ID มาใช้กันอย่างแพร่หลาย และประเทศไทยเองก็มีแนวโน้มที่จะนำมาใช้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่องค์กรจะเตรียมตัวให้พร้อมสู่สังคมดิจิทัล เพื่อการทำธุรกรรมต่าง ๆ ที่สะดวกมากยิ่งขึ้น
.
Digital ID คืออะไร
คือ ข้อมูลยืนยันตัวตนบนโลกดิจิทัล เพื่อการทำธุรกรรมออนไลน์ที่สะดวก รวดเร็ว และลดลำดับขั้นตอนที่ยุ่งยาก
.
ซึ่งจริง ๆ แล้วหลายปีให้หลังมานี้ทางภาครัฐและเอกชน ก็พยายามผลักดันการใช้นำ Digital ID มาอย่างจริงจัง และสร้าง cross channel ที่สามารถยืนยันได้ผ่านมือถือ หรือยืนยันตนแบบออฟไลน์ Coss Off-line channel ได้ด้วย
.
.
ทีนี้มาดูองค์ประกอบของ Digital ID ที่อ้างอิงมาตราฐานจากสหรัฐอเมริกากัน (NIST 800-63-3 Digital Identity Guideline) ว่ามีอะไรบ้าง
.
แบ่งออกด้วยกัน 4 ส่วน
.
– Entity
คือ ผู้เข้าใช้ จะโดยเป็นประชาชนทั่วไป หรือในนามนิติบุคคลก็ได้ เป็นผู้ที่ขอเข้าใช้บริการโดยเป็นการยืนยันตัวตนที่ถูกต้องก่อนเข้าใช้บริการ
.
– IdProvider
คือ ผู้ให้บริการด้านการเข้าถึงข้อมูล มีหน้าที่ในการบริหารและพิสูจน์ข้อมูล ในการยืนยันตัวตนดิจิทัลแก่ผู้ใช้งาน และ ทาง Relying Party
.
Authorising Source
คือ หน่วยงานผู้เข้าถึง หรือเก็บข้อมูล ซึ่งเป็นผู้ยืนยันความน่าเชื่อถือของข้อมูลบุคคล เช่น กรมการปกครอง หรือ สำนักงานเครดิตบูโร เป็นต้น
.
Relying Party
คือ ผู้ให้บริการที่ต้องการข้อมูลยืนยันตัวตนของผู้ใช้บริการ เพื่ออนุมัติการเข้าใช้บริการ โดย Relying Party จะได้รับข้อมูลจาก IdProvider และ Authorising Source
.
อย่างไรก็ตาม การยืนยันตัวบนโลกดิจิทัลนั้น ถือเป็นก้าวสำคัญที่จะทำให้การทำธุรกรรมบนโลกออนไลน์เป็นเรื่องง่าย แต่ในขณะเดียวกันเรื่องของความปลอดภัย และความแม่นยำในการระบุตัวตนก็เรื่องสำคัญ โดยเฉพาะข้อมูลส่วนบุคคลที่รั่วไหล อาจทำให้เกิดความเสียหายตามมาได้ ธุรกิจจึงจำเป็นอย่างยิ่งในเรียนรู้และขยับตัวให้เท่าทันสถานการณ์กับเทคโนโลยี
.
ชวนมาฟัง อัดแน่นความรู้เพิ่มเติมได้ที่งานสัมมนาออนไลน์ THAILAND DIGITAL TRANSFORMATION WEEK 2021 ภายใต้หัวข้อ “Digital entities in Digital space ความมีตัวตันบนโลกดิจิทัล” ในวันพุธที่ 27 ตุลาคม 2564 เวลา 10.00-10.30 และเวลา 10.30-11.00 ในหัวข้อ “Digital ID : the security concern ดิจิทัลไอดีกับความปลอดภัย”
.
ลงทะเบียนเข้าร่วมสัมมนาได้ที่