DHL

DHL ปักหมุดลุยให้บริการผู้ประกอบธุรกิจ E-Commerce ไทย

ดีเอชแอล ซัพพลายเชน ประเทศไทย (DHL Supply chain Thailand) เล็งเห็นศักยภาพ อี-คอมเมิร์ซ (e-commerce) เตรียมนำเสนอโซลูชั่นโลจิสติกส์ส่งเสริมการขยายธุรกิจของลูกค้า


highlight

  • อุตสาหกรรมอี-คอมเมิร์ซของไทย มีอัตราการเติบโตสูงสุดที่ 14ในกลุ่มประเทศอาเซียนเมื่อปี ค.ศ. 2018 โดยคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นไปที่ 103,000 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำไปสู่โอกาสการเติบโตราว 20ในปี 2562 นี้
  • ดีเอชแอล ซัพพลายเชนโซลูชั่นด้านโลจิสติกส์ที่ยอดเยี่ยมที่สุดของเรารวมถึงสิ่งที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่บริการขนส่งสินค้าถึงมือผู้บริโภคแบบครบวงจรของเรา คลังสินค้าสำหรับธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ (e-Fulfillment Center) ที่มีกระบวนการทำงานที่ทันสมัย ทีมงานผู้เชี่ยวชาญ คลังสินค้า โซลูชั่นการขนส่ง และอุปกรณ์และเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับยานพาหนะขนส่ง

DHL โดดร่วมวงลุยให้บริการผู้ประกอบธุรกิจ E-Commerce ไทย 

ดีเอชแอล ซัพพลายเชน ประเทศไทย โดดเข้าสู่ธุรกิจบริการขนส่งสำหรับธุรกิจอี-คอมเมิร์ซแบบครบวงจร หลังธุรกิจอี-คอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีการเติบโตอย่างรวดเร็วก่อให้เกิดความต้องการระบบการดำเนินงานที่ต้องการนวัตกรรมใหม่ ๆ

DHL

มร.เควิน เบอร์เรล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดีเอชแอล ซัพพลายเชน กลุ่มธุรกิจประเทศไทย (ประเทศไทย เวียดนาม กัมพูชา และเมียนมาร์) กล่าวว่า จาก งานวิจัยโดยทีม ดีเอชแอลโกลบอล ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นของลูกค้าผู้ประกอบการจำนวนมาก

ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมถึงประเทศไทย ที่คาดหวังจะได้รับโซลูชั่นชั้นเยี่ยมจากพันธมิตรธุรกิจโลจิสติกส์ภายนอก (3PL) โดยระบุปัจจัยสำคัญ 3 ประการที่ประกอบการเลือกผู้ให้บริการทางโลจิสติกส์โดยเราใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม และการวิเคราะห์ข้อมูล

ทำให้ความสามารถในการให้บริการช่วงที่ธุรกิจมีความหนาแน่น และสร้างความยืดหยุ่นของเครือข่ายการกระจายสินค้า ในวันนี้เรามีความพร้อมมากที่จะนำเสนอบริการที่ดีที่สุดเพื่อลูกค้าของ ดีเอชแอล ได้รับประโยชน์สูงสุดสำหรับการทำธุรกิจ     

ความแม่นยำของข้อมูลด้านสินค้าพร้อมส่ง บริการขนส่ง และรายการสินค้า ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างความสำเร็จในธุรกิจนี้ และสร้างความภักดี ของลูกค้าต่อแบรนด์สินค้า

อี-คอมเมิร์ซ ไทย เป็นสถานการณ์เป็นอย่างไร?

อี-คอมเมิร์ซ ความหลากหลายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกทำให้เกิดความท้าทายขึ้นมากมาย และความต้องการต่อ ธุรกิจอี-คอมเมิร์ซของภูมิภาคกำลังเพิ่มสูงขึ้น เราจึงพิจารณาว่าจะสามารถสนับสนุนลูกค้าผู้ประกอบการของเราได้อย่างไร

เพื่อให้ธุรกิจของพวกเขาก้าวหน้า โซลูชั่นด้านโลจิสติกส์ที่ยอดเยี่ยมที่สุดของเรารวมถึงสิ่งที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่บริการขนส่งสินค้าถึงมือผู้บริโภคแบบครบวงจรของเรา คลังสินค้าสำหรับ ธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ (e-Fulfillment Center) ที่มีกระบวนการทำงาน

ที่ทันสมัย ทีมงานผู้เชี่ยวชาญ คลังสินค้า โซลูชั่นการขนส่ง และอุปกรณ์ และเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับยานพาหนะขนส่ง เพื่อทำให้ยังคงความได้เปรียบทางการแข่งขันอยู่เสมอ

โดยจากตัวเลขข้อมูลที่ทางกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม ได้ออกมาเปิดเผย ระบุว่า อุตสาหกรรมอี-คอมเมิร์ซของไทย มีอัตราการเติบโตสูงสุดที่ 14ในกลุ่มประเทศอาเซียนเมื่อปี ค.ศ. 2018 โดยคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นไปที่ 103,000 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

และนำไปสู่โอกาสการเติบโตราว 20ในปีนี้ แนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นนี้เกิดจากความเชื่อมั่นในช่องทางการชำระเงินระบบดิจิทัลและการเพิ่มขึ้นของแพลตฟอร์มธุรกิจอี-คอมเมิร์ซระบบออนไลน์ โดยจะยิ่งทำให้จำนวนผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้น

โดยตลอดทศวรรษที่ผ่านมามีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของธุรกิจ อี-คอมเมิร์ซ ยังก่อให้เกิดความต้องการด้านการส่งมอบสินค้า และบริการโลจิสติกส์ ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 

DHL

B2B ต้องตามให้ทัน B2C

วันนี้การปรับตัวของผู้ประกอบการในธุรกิจขนาดใหญ่ จำเป็นต้องเร่งเครื่องทรานส์ฟอร์เมชั่น
ตัวเอง เนื่องจากบริษัทที่ดำเนินธุรกิจกับผู้บริโภค (B2C) เช่น ธุรกิจค้าปลีก และสินค้าอุปโภคบริโภค มีการดำเนินธุรกิจ แบบอี-คอมเมิร์ซ มายาวนานกว่า

บริษัทที่ดำเนินธุรกิจกับคู่ค้า (B2B) ที่เน้นผลิตสินค้าขายส่ง รับจ้างผลิตสินค้า OEM เป็นหลัก วันนี้อาจจจะไม่สามารถทำในรูปแบบเดิมได้ตลอด ในอดีตลูกค้าอาจมีความต้องการที่แตกต่างกัน ทำให้ไม่ต้องสื่อสาร หรือสนองต่อความต้องการให้ลูกค้าเท่าใดนัก

“วันนี้ลูกค้ามีความต้องการบริการที่รวดเร็วมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจแบบ B2B ต้องเปลี่ยนให้ทัน เพื่อให้สามารถตอบโจทย์การสร้างความพึงพอใจแบบทันที  อย่างไรก็ดีมีแนวโน้มว่าบริษัทที่ดำเนินธุรกิจกับคู่ค้า (B2B) กำลังหันมาสนใจในอี-คอมเมิร์ซมากขึ้น

ผ่านการอัพเกรด เทคโนโลยีเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล การใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ฯลฯ รวมถึงการสร้างพันธมิตรกับบริษัทที่เชี่ยวชาญ เฉพาะด้าน โดยผลวิจัยระบุว่า เกือบ 40% ของบริษัทที่ดำเนินธุรกิจกับคู่ค้า (B2B) ใช้กลยทุธการดำเนินธุรกิจแบบ อี-คอมเมิร์ซ เต็มรูปแบบ”  เควิน เบอร์เรล กล่าว

ซึ่งในปัจจุบัน เมื่อเปรียบเทียบกับบริษัทที่ดำเนินธุรกิจกับผู้บริโภค (B2C) ในตลาด ที่มีการ ทำธุรกิจแบบอี-คอมเมิร์ซที่มากกว่า 30% บริษัทที่ดำเนินธุรกิจกับผู้บริโภค (B2C) ประมาณ 70% และ 60% ของบริษัทที่ดำเนินธุรกิจกับคู้ค้า

DHL
กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ อี-คอมเมริซ

กำลังพิจารณาการดำเนินธุรกิจ อี-คอมเมิร์ซ แบบเต็มรูปแบบ และอะไรเป็นสิ่งที่บริษัทเหล่านั้นยังไม่สามารถดำเนิน ธุรกิจ อี-คอมเมรืซ์ได้?  ซึ่งจากการสอบถาม และวิจัยเราพบว่ามีความท้าทาย 3 ประการ ได้แก่ 

  • ลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลงความคาดหวังบ่อย
  • มีลำดับความสำคัญของงานอื่นที่เร่งด่วนกว่า
  • ข้อจำกัดด้านโครงสร้างพื้นฐานปัจจุบัน
DHL
อุปสรรคในการดำเนินธุรกิจ อี-คอมเมิรซ์ แบบเต็มรูปแบบ

รายได้จะมาจากช่องทางออนไลน์?

เราเชื่อว่าจะเป็นเช่นนั้น เมื่อพิจารณาจากสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการในปัจจุบัน โดยข้อมูลที่เราได้ดำเนินการสำรวจชี้ว่า กว่า 70% ของผู้ปรพกอบธุรกิจเชื่อว่าระบบ อี-คอมเมิรซ์ “สำคัญมาก” หรือ “สำคัญมากที่สุด” ในด้านปริมาณ และรายรับ

โดยธุรกิจทั้งแบบ B2C และ B2B คาดหวังว่าจะสามารถทำยอดขายจากช่องทางออนไลน์ ทั้งในเชิงปริมาณ และรายรับให้มากขึ้นภายใน 5 ปี ข้างหน้า โดยในช่วง 3-5 ปี ข้างหน้า ซึ่งคาดว์าในอนาคต ยอดขายออนไลน์ จะเพิ่มขึ้น 15% ทั้งในธุรกิจที่เป็น B2C และ B2B

DHL
คาดการณ์รายรับการจากช่องทางจำหน่ายออนไลน์ ในธุรกิจแบบ B2C และ B2B
ความคาดหวังของลูกค้าเป็นความท้าทายหลัก

วันนี้แรงกดดันในการตอบสนองความคาดหวังของผู้บริโภคก่อให้เกิดความท้าทายแก่ธุรกิจตา่ง ๆ ให้ต้องสร้างข้อเสนอขึ้นมา รวมถึงการสร้างห่วงโซ่อุทานรูปแบบใหม่ที่จำเป็น ซึ่งสาเหตุเบื้องต้นนั้นเกิดจากความตึงเครียดในการตอบสนองการสั่งซื้อ

ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา รวมถึงทางเลือกการคืนสินค้า วิธีการส่งมอบสินค้าที่ยืดหยุ่น การติดตามสถานะสินค้าได้ทันที และอื่น ๆ 

การส่งภายในวันเดียวได้เป็นสิ่งที่ลูกค้าคาดหวัง ซึ่งหากทำได้จะทำให้เกิดความพึงพอใจในแบรนด์เป็นอย่างมาก

เรื่องดังกล่าวถือเป็นความท้าทายของผู้ประกอบการอย่างมาก เนื่องจากลูกค้าต้องการที่จะได้ประสบการณ์การซื้อบนที่ดี และสมบูรณแ์บบ จากการบริการที่ผู้ประกอบการจะสามารถมอบให้ได้

 


ส่วนขยาย
* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ ** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) *** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่

ประกันภัยไทยวิวัฒน์