10 อันดับบริษัทประกันภัยความแข็งแกร่งทางการเงินสูงสุด!

การเลือกซื้อประกันภัยต้องคำนึงถึงหลายส่วน ทั้งประกันที่เหมาะกับการใช้ชีวิต หรือไลฟ์สไตล์ และอีกสิ่งที่สำคัญคือความน่าเชื่อถือของบริษัทประกันภัย ซึ่งเราสามารถประเมิณเบื้องต้นได้จากอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน (Capital Adequacy Ratio: CAR) เทียบกับเกณฑ์ที่ คปภ.กำหนดไว้ โดยปัจจุบัน เกณฑ์ขั้นต่ำของ CAR คือ 140% (ประกาศใช้ในปี 65 ) และยิ่งค่า CAR มีมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนดเท่าไหร่ ก็ยิ่งแสดงถึงความแข็งแกร่งด้านเงินกองทุนมากเท่านั้น

ทาง ‘Business+’ พบว่าภาพรวมของบริษัทประกันวินาศภัยทั้งหมด 62 บริษัทมีความแข็งแกร่งทางการเงินในไตรมาส 2/2566 จาก CAR เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 429.55% จากไตรมาส 1/2566 อยู่ที่ 414.87% แต่หากนำมาเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เราจะพบว่า CAR ถือว่าต่ำลดจากไตรมาส 2 อยู่ที่ 465.07% แต่การที่ค่าเฉลี่ยรวมของบริษัททั้งกลุ่มยังสูงกว่าที่ คปภ.กำหนดก็เป็นสิ่งที่บ่งบอกได้ถึงความแข็งแกร่งด้านการเงิน

โดยเราได้ทำการรวบรวม 10 อันดับบริษัทประกันวินาศภัยที่มี CAR สูงที่สุดในช่วงม.ค.-มิ.ย.2566 เอาไว้ดังนี้

อันดับที่ 1 บริษัท มิตซุย สุมิโตโม อินชัวรันซ์ จำกัด อัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน 1,670.33% โดย มิตซุย สุมิโตโม อินชัวรันซ์ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งอยู่ภายใต้กลุ่มบริษัท ประกันภัย MS&AD ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่ม บริษัทประกันวินาศภัยชั้นนำระดับโลก

อันดับที่ 2 บริษัท ไทยประกันสุขภาพ จำกัด (มหาชน) อัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน 1,302% เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจเฉพาะการประกันสุขภาพด้วยระยะเวลายาวนานถึง 44 ปี

อันดับที่ 3 บริษัท เอไอเอ จำกัด (ประกันวินาศภัย) สาขาประเทศไทย อัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน 1,368% ซึ่งก่อตั้งและดำเนินธุรกิจในภูมิภาคเอเชีย เริ่มให้บริการประกันภัยครั้งแรกที่นครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน และขยายธุรกิจสู่ประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543

อันดับที่ 4 บริษัท ไอแคร์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) อัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน 806.84%

อันดับที่ 5 บริษัท แปซิฟิค ครอส ประกันสุขภาพ จำกัด (มหาชน) อัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน 786.44%

อันดับที่ 6 บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด อัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน 692%

อันดับที่ 7 บริษัท เอไอจีประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) อัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน 631.42%

อันดับที่ 8 บริษัท มิตรแท้ประกันภัย จำกัด (มหาชน) อัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน 623.80%

อันดับที่ 9 บริษัท บางกอกสหประกันภัย จำกัด (มหาชน) อัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน 598.42%

อันดับที่ 10 บริษัท เจมาร์ท ประกันภัย จำกัด (มหาชน) อัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน 544.57%

อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย (CAR Ratio) สามารถสะท้อนความแข็งแกร่งของการมีเงินทุนสำรองได้อย่างดี แต่หลังจากสถานการณ์ COVID-19 ได้ทำให้เห็นว่า CAR Ratio ไม่สามารถสะท้อนความมั่นคงได้ทั้งหมด เพราะบริษัทประกันไม่สามารถพึ่งพิงระดับเงินกองทุนที่สูงได้เพียงอย่างเดียว มีหลายบริษัทที่ทำให้เราเห็นว่าสถานะเงินกองทุนลดฮวบจากระดับเกิน 300% กลายเป็นติดลบได้ภายในปีเดียว

ทั้งนี้หาก “อัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน หรือ CAR”  ลดลงมาน้อยกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนดไว้ คปภ. อาจสรุปได้ว่าบริษัทประกันน่าจะเริ่มมีปัญหาทางการเงินจนต้องให้นายทะเบียนเข้าไปกำหนดมาตรการกำกับดูแลสถานะทางการเงินของบริษัทประกันให้เกิดความเหมาะสม

ที่มา : สมาคมประกันชีวิต ,SET

ติดตาม Business+ ได้ที่ : https://www.thebusinessplus.com/

Line Business+ ได้ที่ : https://lin.ee/pbIHCuS

IG ได้ที่ : https://www.instagram.com/businessplus.newgen2021/

#Businessplus #Business+ #นิตยสารBusinessplus #ประกันชีวิต #บริษัทประกันชีวิต #อุตสาหกรรมประกันชีวิต