ธุรกิจ

“ธุรกิจขาดสภาพคล่อง” แก้ปัญหาอย่างไรโดยไม่ต้องเพิ่มทุน

ธุรกิจขาดสภาพคล่อง หมุนเงินไม่ทัน จ่ายหนี้ไม่ไหว เป็นปัญหาโลกแตกที่คนทำธุรกิจมักจะต้องเจอ ไม่ว่าจะธุรกิจเล็กใหญ่ก็อาจเกิดขึ้นได้ทั้งนั้น ซึ่งทางแก้แรกสุดที่เรามักนึกถึงคือ “หาเงินทุนมาเพิ่ม” อาจมาจากการกู้ยืม หรือหาหุ้นส่วนเข้ามาลงทุนในธุรกิจ ซึ่งยากทั้งคู่ เพราะการกู้จะกลายเป็นภาระหนี้ผูกพัน หรือจะหาคนเข้ามาหุ้นในธุรกิจที่กะท่อนกะแท่นอยู่แล้วก็ยิ่งยากเข้าไปใหญ่

แล้วธุรกิจจะจัดการปัญหาสภาพคล่องอย่างไร โดยไม่ต้องเพิ่มเงินทุน?

แก้ปัญหา ขาดสภาพคล่องแบบไม่ต้องเพิ่มเงินทุน

1. ปรับโครงสร้างต้นทุนสินค้า

วิธีเบื้องต้นที่จะลดภาวะเงินฝืด คือลดปริมาณเงินสดไหลออก เริ่มจากการต้นทุนการผลิตที่ต้องจ่ายออกเป็นประจำ เช่นค่าวัตถุดิบ ค่าแพ็กเกจจิ้ง ฯลฯ ลองวิเคราะห์ดูว่าต้นทุนการผลิตของเราสูงกว่าเจ้าอื่น ๆ ในตลาดหรือไม่ และหาช่องโหว่ดูว่าค่าใช้จ่ายส่วนใดสามารถลดได้โดยที่ไม่กระทบกับคุณภาพสินค้าหรือยอดขาย ยกตัวอย่างเช่น เปลี่ยนซัพพลายเออร์เป็นเจ้าที่ราคาถูกลง หรือหาซัพพลายเออร์ที่ให้เครดิตเทอมยาวนานกว่า เป็นต้น

โดยคุณสามารถสามารถใช้ฟังก์ชั่น Analyzer ในรระบบ Corpus เพื่อจำลองกลยุทธ์ดูก่อนได้ ว่าการปรับต้นทุนการผลิตจะส่งผลกับกระแสเงินสดอย่างไร

2.ปรับราคาขาย

บางครั้งการเงินฝืดเคืองอาจเป็นเพราะตั้งราคาสินค้าหรือบริการไม่เหมาะสม อย่างเช่นตั้งราคาสูงเกินไปจนเสียปริมาณการขาย หรือตั้งราคาถูกเกินไปจนกำไรต่อหน่วยเหลือน้อยนิด ลองกลับมาวิเคราะห์ดูว่าปัจจุบันราคาขายของเราเป็นอย่างไร และทดลองปรับให้อยู่ในจุดที่พอดียิ่งขึ้น

โดยสามารถทดลองปรับราคาในระบบ Simulation ของ Corpus ดูก่อนได้ แล้วดูว่ากลยุทธ์การขึ้นหรือลดราคาจะส่งผลกับกระแสเงินสดอย่างไรบ้าง เพื่อหาจุดที่เหมาะสมที่สุด

3.ปรับต้นทุนการดำเนินงาน

ต้นทุนการดำเนินงาน (Overhead Costs) คือต้นทุนอื่น ๆ ที่นอกเหนือการต้นทุนการผลิต เช่น ค่าพนักงาน ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำมัน ค่าโฆษณา เป็นต้น คุณอาจพิจารณาลดค่าใช้จ่ายบางอย่างเหล่านี้ลง หรือปรับระยะเวลาจ่าย เพื่อลดกระแสเงินสดไหลออกจากกิจการ เช่น ลดค่าไฟฟ้าภายในออฟฟิศ หยุดจ้างพนักงานที่ไม่จำเป็น หรือปรับลดงบโฆษณา แต่ต้องระวังไม่ให้กระทบกับคุณภาพที่ลูกค้าจะได้รับ หรือกระทบปริมาณการขายจนเกินไป

คุณสามารถทดลองปรับลดต้นทุนการดำเนินงานในระบบ Simulation ในฟังก์ชั่น Analyzer ของ Corpus ได้ เพื่อดูว่าจะส่งผลกับกระแสเงินสดอย่างไรก่อนตัดสินใจ

4.ปรับนโยบายสินค้าคงเหลือ

ปัญหาเงินฝืดอาจเกิดจากการมีสินค้าคงคลังมากเกินไป ควรปรับวิธีบริหารสต๊อกใหม่ เอาสินค้าเก่าที่ค้างสต๊อกมาขายเลหลัง เปลี่ยนเป็นเงินสดโดยเร็ว รวมถึงเปลี่ยนวิธีซื้อสินค้าใหม่ ไม่ซื้อครั้งละมากเกินไป ลดปัญหาทุนจมจากของเหลือค้างสต๊อก

5.ปรับระยะเวลาเก็บหนี้

ทดลองปรับเวลาเก็บหนี้ลูกค้าให้สั้นลง หรือเลือกพิจารณาระยะเวลาเครดิตที่ต่างกันสำหรับลูกค้าแต่ละกลุ่ม เช่น ลูกค้าใหม่เรียกเก็บหนี้ให้เร็วกว่าลูกค้าที่ค้าขายกันมานาน เพื่อให้มีเงินสดไหลเข้ามาในเวลาที่เหมาะสม ทันเวลาจ่ายหนี้ และป้องกันปัญหาหนี้เสีย เก็บเงินลูกค้าไม่ได้

6.ปรับวงเงินเครดิตเทอม

คุณอาจปรับวงเงินเครดิตที่ให้ลูกค้าให้น้อยลง หรือเลือกให้วงเงินตามความน่าเชื่อถือของลูกค้า เพื่อลดปัญหาหนี้เสีย หรือหากลูกค้าจ่ายล่าช้าก็จะไม่กระทบกระแสเงินสดมากจนเกินไป โดยคุณสามารถดู Credit Term Guideline ในระบบ Corpus เพื่อพิจารณาให้วงเงินสินเชื่อที่เหมาะกับความน่าเชื่อถือของลูกค้าแต่ละรายได้

7. ดูรายงานเงินสดสูญเปล่า

ในระบบ Corpus คุณสามารถดู “รายงายเงินสดสูญเปล่า” ได้ว่าคุณสูญเสียเงินสดโดยไม่จำเป็นไปกับอะไรบ้าง เพื่อจะได้รู้แล้วหาทางอุดรูรั่วได้ทันเวลา อย่างเช่นในตัวอย่างข้างล่างนี้ จากผลรายงานของ Corpus จะเห็นว่าเงินสดส่วนมากของบริษัทนี้เสียไปกับลูกหนี้การค้าที่ไม่สามารถเก็บหนี้ได้ตรงเวลา เจ้าของธุรกิจจึงควรแก้ปัญหาในจุดนี้ก่อนอย่างอื่น

นอกจากการใช้งาน 7 ข้อข้างต้น เครื่องมือ Corpus ยังช่วยให้คุณประเมินกระแสเงินสดของธุรกิจตัวเองเทียบกับเจ้าอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกันได้ โดยเปรียบเทียบกับค่ากลางของอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นอัตราส่วนสภาพคล่อง อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน อัตราการหมุนของสินทรัพย์ ระยะเวลาชำระหนี้ ฯลฯ เพื่อคอยตรวจดูเป็นระยะ ๆ ได้ว่าสภาพคล่องของคุณดีหรือแย่กว่าคู่แข่งอย่างไร

ธุรกิจที่มีกระแสเงินสดแข็งแกร่ง ก็เหมือนร่างกายที่มีสุขภาพดี เลือดไหลเวียนสะดวก ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเล็กหรือใหญ่ ก็อย่าลืมเช็คสุขภาพเงินสดของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ และห้ามมองข้ามปัญหาเรื่องสภาพคล่องไปเด็ดขาด เพื่อให้แน่ใจว่าธุรกิจจะไม่ล้มลงง่าย ๆ

รู้จักเครื่องมือ Corpus ให้มากขึ้น เข้าถึงทุกข้อมูลก่อนตัดสินใจ คลิกเลย!