Alibaba – Tencent – Meituan ใครคือเหยื่อรายต่อไปของ สี จิ้นผิง

มันใช่เรื่องแปลกใหม่อะไรสำหรับบริษัทต่างชาติในการยืนหยัดในช่วงเวลาที่มีการเขย่าเศรษฐกิจโดยภาพรวมครั้งใหญ่โดยพรรคคอมมิวนิสต์ ย้อนกลับไปในช่วงนายเหมา เจ๋อตง อดีตประธานาธิบดีและผู้ก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน กองทัพของเขาไม่ได้เข้ายึดทรัพย์ที่เป็นเจ้าของโดยต่างชาติโดยตรง ขณะที่ผู้นำทางอย่างบอลเชวิคของพวกเขาทำแบบนั้นในรัสเซีย แต่จีนทำผ่านการเก็บภาษีครั้งใหญ่และเงินค่าปรับจำนวนมาก สุดท้ายบริษัททั้งหลายสูญเสียทรัพย์สินของพวกเขาหมดจนไม่เหลืออะไรเลย

นาย Aron Shai นักวิชาการอิสราเอล เผยว่ามีหนึ่งเรื่องสำคัญที่น่าพูดถึงซึ่งเกิดขึ้นในจีนปี 1954 โดนนักอุตสาหกรรมชาวสหราชอาณาจักรยืนยันว่าในช่วงเวลานั้นต้องส่งมอบทุกสิ่งให้กับพรรคคอมมิวนิสต์ตั้งแต่คลังสินค้าขนาดใหญ่ลงไปจนถึงดินสอและกระดาษ และเขาก็ยังคงบ่นกับเพื่อสนิทของเขาอย่างคุณโฮจิมินห์ (อดีตประธานาธิบดีเวียดนาม) ซึ่งอยู่ตรงข้ามคนละขั้วกับเขาและยังคงโต้เถียงกันอย่างต่อเนื่องก่อนการปลดปล่อยเกิดขึ้น

แม้บริษัทข้ามชาติได้มีการรวมตัวเพื่อสนับสนุนจีนมากตั้งแต่นั้น การจับผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง การตีกรอบเกิดขึ้นตั้งการส่งผ่านเทคโนโลยีไปจนถึงอย่างไรที่บริษัทสามารถลงทุน นี่คือการปรับปรุงครั้งใหญ่ แต่การโต้เถียงที่เกิดขึ้นตลอดเวลาช่วยย้ำเตือนความทรงจำ สหรัฐอเมริกาได้ประเมินมัน ว่าบริษัททั้งหลายที่ทำดำเนินการในประเทศจีนไม่ควรจะอวดดีเกินไป และบริษัทที่ดำเนินการในจีนจะต้องอยู่บนความอดทนและวันหนึ่งประเทศอาจจะหาทางเข้าแทนที่พวกเขา

ผลที่ตามมาก็คือรู้สึกสัมผัสได้ถึงความสุขกับความทุกข์คนอื่น (ซึ่งความรู้สึกที่มีความสุขเมื่อเห็นคนอื่นมีทุกข์เจ็บปวดหรือเดือดร้อน) และนั้นคือบริษัทของจีน ไม่ใช่บริษัทจากตะวันตกซึ่งเป็นเหยื่อคนสำคัญของประธานาธิบดีสี จิ้นผิงเมื่อเร็ว ๆ นี้ในความพยายามกำหนดกำหนดโครงสร้างทางสังคมในรูปแบบใหม่ทางเศรษฐกิจ

โดยเห็นได้จาการที่รัฐบาลเข้าไปลดกำแพงระหว่างบริษัทเทคโนโลยียักษ์ทั้งหลายอย่างอาลีบาบา (Alibaba) และเทนเซ็นต์ (Tencent) ผ่านการจัดระเบียบโดยการจับแยก Alipay ซึ่งเป็นซูเปอร์แอปพิเคชั่นของบริษัทลูกของอาลีบาบาอย่าง Ant Group ออกมา สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นต่อเนื่องไปตราบเท่าที่มันดูดีเกินความเป็นจริงในการเปรียบเทียบกันระหว่างความพยายามของประธานาธิบดีสี จิ้นผิงในการทำให้อ่อนกำลังลงของกลุ่มบริษัทเทคโนโลยีของจีน และวิธีที่รัฐบาลในอเมริกาและยุโรปกำลังไล่ตามบริษัทเทคโนโลยียักษ์ของตะวันตก

การพึ่งพาสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากเกินไปเป็นเวลานานมักจะต้องแลกมาด้วยความแน่นอน ในมุมมองของคุณ Kenneth Jarrett ผู้คร่ำหวอดด้านประเทศจีนซึ่งทำงานเป็นที่ปรึกษาให้กับ The Albright Stonebridge Group คำถามสำหรับทุกคนในตอนนี้ก็คือ “ใครจะเป็นรายต่อไปในเรื่องนี้?” การปราบปรามที่เกิดขึ้นผ่านการปะทะกันผ่านประตูหลังของการเพิ่มขึ้นของความตึงเครียดระหว่างประเทศจีนและตะวันตกได้ทิ้งบริษัทข้ามชาติจำนวนมากให้ยืนอยู่กึ่งกลางระหว่างถูกหรือผิดกฎหมาย แรงดึงดูดมากมายของจีนยังคงเป็นสิ่งที่ยากจะต้านทานได้ แต่ภัยอันตรายเริ่มเกิดขึ้นพร้อมกับคำมั่นสัญญา

นอกจากกลุ่มธนาคารและผู้จัดการทรัพย์สินแล้ว ยังมีบริษัทที่ลงทุนในจีนจำนวหนึ่งถูกปราบปรามจนกระทั่งถึงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา บริษัทข้ามชาติมากมายอยู่บนความเสี่ยง หนึ่งกลุ่มนั้นรวมไปถึงการทำเงินของพวกเขาในจีนผ่านการเป็นแม่สื่อจนนำไปสู่การเป็นชนชั้นนำผ่านเปลือกนอกผ่านการโชว์กระเป๋าหรูหราแบรนด์เนมทั้งหลายและรถยนต์ซูเปอร์คาร์ราคาแพง

การล้อมกรอบเหล่าบริษัทข้ามชาติเหล่านี้ได้ไปรบกวนลูกค้าของพวกเขาสำหรับอะไรที่ตีความในฐานะเหล่าตะวันตกผู้เย่อหยิ่งจองหอง เทสล่า ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าคือตัวอย่าง กลุ่มที่สามยังรวมไปถึงผู้ผลิตยุโรปและอเมริกันของอุปกรณ์การผลิตขั้นสูงและอุปกรณ์ทางการแพทย์ซึ่งจีนรู้สึกว่ามันควรถูกผลิตจากผู้ผลิตภายในประเทศ

เหมือนอย่างเคย การคุกคามนั้นมาในรูปแบบของการประกาศนโยบายซึ่งดูเหมือนเป็นการตบตาอย่างนุ่มนวล หนึ่งคือผ่านคำว่า “Common Prosperity” เป็นการจับทุกภาคส่วนมาขยาย (การให้) ตั้งแต่การลดความไม่เท่าเทียมกันในสังคมลงมาจนไปถึงการเข้าไปดูแลจำนวนมากของคนทำงานและลูกค้า รวมไปถึงเหล่าพี่เลี้ยงที่เคร่งเครียดเกินไปของเด็ก ๆ ผลกระทบนั้นชัดเจนบนบริษัทเทคโนโลยีสัญชาติจีน วงการติวเตอร์ และเหล่าบริษัทผู้พัฒนาเกม ซึ่งต้องสูญเสียเงินนับหลายแสนล้านดอลลาร์สหรัฐผ่านมูลค่าตลาดที่ลดลงจากการปราบปรามของภาครัฐในครั้งนี้

ขณะที่ผลกระทบซึ่งมีต่อเหล่าบริษัทข้ามชาติทางอ้อมก็คือในช่วงเดือนสิงหาคม 2021 มูลค่าเหล่าสินค้าแบรนด์หรูในยุโรปอย่าง Kering ผู้จัดหาของกระเป๋าถือแบรนด์ Gucci และ LVHM รวมไปถึงผู้ขายเครื่องประดับเครื่องประดับชิ้นเล็กๆ ราคาถูก มูลค่าหายไปหว่า 75,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังนักลงทุนขานรับวาระที่เอาจริงเอาจังอย่าง “Common Prosperity” ของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง

ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงคงไม่ได้ตั้งใจจะบังคับให้ผู้บริโภคชาวจีนย้อนกลับไปใส่เสื้อผ้าในยุคของคุณเหมา เจ๋อตุง แต่อย่างใด แต่สงครามของเขาต่อเรื่องความหรูหราฟุ่มเฟือย โดเยเฉพาะท่ามกลางการใช้เงินนับ 100,000 ดอลลาร์สหรัฐในแต่ละปีกับแบรนด์ต่างประเทศทั้งหลาย จะนำไปสู่จุดจบกำไรมากมายของตลาด มันเป็นอันตรายต่อผลิตภัณฑ์หรูหราซึ่งโจมตีผู้บริโภคทั้งหลายในจีนมากกว่าที่พวกเขาทำในเอ้าเลทของพวกเขาในเมืองมิลาน

และทาง Flavio Cereda of Jefferies บริษัทด้านการลงทุน คาดว่าภาครัฐยังคงสนับสนุนการเติบโตของตลาดสินค้าหรูหราของชนชั้นกลาง ตั้งแต่ความปรารถนาที่จะซื้อกลายเป็นตัวสะท้อนถึงความสำเร็จของเศรษฐกิจ ถ้าจีนเกิดความสูญเสียเพราะประมาทในการทดลองครั้งนี้ จะเกิดผลกระทบครั้งใหญ่ ผู้บริโภคของพวกเขาคิดเป็น 45% ของการซื้อสินค้าหรูหราทั่วโลก “No China, No Party”

ยุทธศาสตร์วงจรคู่ขนาน (Dual circulation) อยู่ในระยะของการสัญญาณเตือนพร้อมความหมายรองที่สื่อถึงความกังวลใจ มันคือการสนับสนุนให้เกิดความไว้ในตัวเองทั้งทางด้านทรัพยากรและเทคโนโลยี ไม่ใช่ทั้งหมดที่ตอบสนองต่อความกลัวซึ่งขึ้นอยู่บนซัพพลายเออร์ตะวันตกซึ่งสามารถทำให้จีนเปราะบางต่อภูมิรัฐศาสตร์และเจอแรงกดดันทางการค้า

มันยังไปกำหนดให้เกิดการคุมคามต่อบริษัทข้ามชาติทั้งหลายในจีนโดยการลดการนำเข้าของเทคโนโลยีทั้งหลายและสร้างการตระหนักให้คนจีนอยากซื้อของจากภายในประเทศขึ้นมาในจิตใจของพวกเขา สหพันธ์อุตสาหกรรมของเยอรมันอย่าง Friedolin Strack of BDI ตั้งข้อสังเกตว่าบริษัทรัฐวิสาหกิจทั้งหลายของจีนได้ให้รายงานแนวทางการจัดซื้อซึ่งเป็นคำสั่งให้ซื้อของจากซัพพลายเออร์ภายในประเทศอย่างอุปกรณ์ เช่น เครื่องเอกซเรย์ และอุปกรณ์เรดาร์

แปลและเรียบเรียง : เอกพล มงคลพัฒนกุล

ที่มา : The Economist

ติดตาม Business+ ได้ที่ thebusinessplus.com
Line Business+ ได้ที่ https://lin.ee/pbIHCuS

#Businessplus #Business+ #นิตยสารBusinessplus #เศรษฐกิจจีน # #Common Prosperity #สีจิ้นผิง #อุตสาหกรรม #การลงทุนจีน #เทคโนโลยีจีน