AIS

AIS เปิดโลก Digital Partner ร่วม Collab อุตสาหกรรมหลัก หนุนธุรกิจไทยใช้ Sustainable Technology แข่งขันบนเวทีโลก

เมื่อโลกเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ภาคธุรกิจต้องดึงเอาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งเพื่อเพิ่มศักยภาพ ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีสำหรับธุรกิจมีมากมาย ทั้งในด้านการบริหารจัดการต้นทุน การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเพิ่มรายได้ การพัฒนากระบวนการผลิต ไปจนถึงการส่งมอบสินค้าและบริการให้กับลูกค้า และในการดำเนินธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมก็มีผลกระทบที่ทำให้สภาพอากาศ สิ่งแวดล้อม และสังคมของโลกเปลี่ยนแปลงไป จึงเกิดเป็นเทรนด์หลักของภาคธุรกิจที่ต้องสร้างการเติบโตธุรกิจควบคู่ไปกับการดูแลเรื่องของสิ่งแวดล้อมและสังคม ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลจึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน  

ทาง AIS Business ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ AIS ถือเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีบทบาทสนับสนุนด้านเทคโนโลยีให้กับหลากหลายภาคธุรกิจทั้งในฐานะผู้ให้บริการเครือข่าย และยังเป็นผู้สนับสนุนด้าน Digital Solution  สำหรับภาคธุรกิจในทุกอุตสาหกรรม โดยมีเป้าหมายคือสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้ภาคธุรกิจของไทยบน ECOSYSTEM ECONOMY และในปีนี้ AIS Business ได้มีการจัดอีเวนต์ครั้งใหญ่ ‘AIS Business Digital Future 2024: DIGITAL INDUSTRY EVOLUTION’  ที่ได้จัดแสดงเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสร้างความยั่งยืนกับภาคธุรกิจไทยและเราจะได้เห็นเทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืนที่ AIS Business ร่วมกับพันธมิตรนำเทคโนโลยีดิจิทัลและโซลูชันที่หลากหลาย ที่จะมาปฎิวัติอุตสาหกรรม พร้อมเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้ธุรกิจไทยสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน

ในมุมมองของ ‘Business+’ มีหลายส่วนที่น่าสนใจ ทั้งมุมมองต่อการใช้เทคโนโลยีที่สนับสนุนด้านความยั่งยืนจาก 3 ภาคอุตสาหกรรม ที่เป็นตัวขับเคลื่อนตัวเลขเศรษฐกิจของไทย (GDP) คือกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต กลุ่มธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ ธุรกิจผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์และค้าปลีก นอกจากนี้ AIS Business ยังได้นำเทคโนโลยีเพื่อธุรกิจที่เกิดจากการผสานความร่วมมือข้ามอุตสาหกรรม (Cross Industry Collaboration) ทั้งจากภาครัฐและเอกชน มาจัดแสดงให้ผู้ที่สนใจนำมาเพิ่มศักยภาพให้กับธุรกิจ

โดยใน Session แรกของการสัมมนา คุณธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหาร กลุ่มลูกค้าองค์กร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS กล่าวว่า ทุกธุรกิจต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถแข่งขันกับโลกด้วยการจัดการเรื่องของความยั่งยืน (Sustainable) โดยสิ่งที่สำคัญอย่างมากคือ บุคลากร ซึ่งทาง AIS มีเป้าหมายที่จะต้องพัฒนาบุคลากรให้ทำงานได้มีศักยภาพมากขึ้นซึ่งจะขับเคลื่อนได้ทั้ง ECOSYSTEM ต้องใช้การผลักดันจาก  3 ส่วนหลัก ๆ คือ

  1. Digital Intelligence Infrastructure การสร้างโครงข่ายและปัจจัยพื้นฐานด้านดิจิทัลเพื่อซัพพอร์ตลูกค้าและคู่ค้า เพื่อให้เกิดการเติบโตไปด้วยกัน โดย AIS สนับสนุนด้าน Network ด้วยเครือข่ายที่ครบครันทั้ง 5G และ Fiber ซึ่งจะทำให้สามารถใช้ทุกอย่างได้อย่างคุ้มค่า นอกจากนี้เทคโนโลยีดิจิทัลที่สร้างการเติบโตให้กับธุรกิจได้เป็นอย่างมากคือ AIS Cloud X และ AIS PARAGON Platform รวมถึงเรื่องของการเก็บและประมวลผล DATA เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก และต้องใช้การลงทุนมหาศาล โดย AIS ได้ลงทุนกับพันธมิตรเพื่อสร้าง DATA Center ในไทยเพื่อขับเคลื่อนความสามารถของผู้ประกอบการในไทยให้ต่อสู้กับตลาดโลก และผลักดันให้ลูกค้าและพันธมิตรเข้ามาสู่แพลตฟอร์มต่าง ๆ

ในงานนี้ AIS Business ได้เปิดตัวนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ช่วยลดภาระและต้นทุนให้กับธุรกิจ อย่างเช่น AIS Cloud PC for Business นวัตกรรมใหม่ของการใช้งาน PC ในองค์กร บริการใหม่ที่พร้อมตอบโจทย์การทำงานในยุคปัจจุบันที่ต้องการความยืดหยุ่นและคล่องตัว ด้วยการใช้งานคอมพิวเตอร์ในรูปแบบ Desktop as a Service (DaaS) บนระบบ AIS Cloud ลดการลงทุนในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เปลี่ยนประสบการณ์ของผู้ใช้งานด้วยอุปกรณ์พกพาขนาดเล็ก สะดวกสบาย พร้อมเชื่อมต่อการทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา ซึ่งข้อดีสำหรับองค์กรคือ ไม่ต้องลงทุนซื้ออุปกรณ์ในส่วนของทรัพยากรทางด้านไอที แต่ยังคงได้รับระบบไอทีที่มีเสถียรภาพและมีความปลอดภัยสูง

  1. Human Capital & Sustainability AIS ให้ความสำคัญกับการเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืน ควบคู่กับการพัฒนาคน และดูแลในเรื่องของสิ่งแวดล้อมและสังคมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในส่วนของสังคมและการพัฒนาคน โดยมีมุมมองว่าเทคโนโลยี AI สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรให้สูงขึ้น ซึ่ง ทาง AIS ได้มีพันธมิตรที่มีความแข็งแกร่งด้านเทคโนโลยี AI อย่าง Microsoft Thailand

ในมุมนี้ คุณธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด พาร์ตเนอร์คนสำคัญของ AIS กล่าวว่า ภารกิจของ AIS กับ Microsoft มีมากมาย โดยบทบาทของ Microsoft คือการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี AI และ AIS สนับสนุนในด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล จึงทำให้เกิดโครงการร่วมกันมากมายโดยเฉพาะการ Empower พนักงาน ซึ่งสามารถใช้ AI เข้ามาช่วย โดยที่ AI สามารถทำให้พนักงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถนำมาสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าได้มากขึ้น หรือแม้กระทั่งการนำเอา AI มาเปลี่ยน Business Model ให้ดีขึ้น

ยกตัวอย่าง Microsoft 365 Copilot ซึ่งเป็นผู้ช่วยที่ขับเคลื่อนด้วย AI เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้การทำงานสำนักงานที่ต้องใช้เครื่องมืออย่าง Word, Excel, PowerPoint, Outlook ได้ง่ายขึ้น ซึ่งผลสำรวจจากพนักงาน Microsoft ที่ได้ใช้งานแล้ว กว่า 80% เปิดเผยว่าใช้เวลาในการค้นหาข้อมูลน้อยลง และทำให้การทำงานรวดเร็วขึ้น

ด้านคุณธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย กล่าวเสริมว่า Microsoft 365 Copilot จะช่วยให้พนักงานใช้เวลาหาข้อมูลน้อยลง เตรียมข้อมูลด้วยเวลาที่น้อยลง เช่น การใช้คำสั่งในโปรแกรม Excel ซึ่งจะต้องทำให้สามารถจัดเรียงข้อมูล หรือวิเคราะห์ข้อมูลได้รวดเร็วและง่ายกว่าเดิม ดังนั้น Microsoft 365 Copilot จึงทำให้การทำงานของพนักงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

นอกจากนี้ยังนำ AI มาช่วยพัฒนาเซอร์วิสต่าง ๆ ให้ลูกค้า เช่น AI contact center ซึ่งช่วยสร้าง Experiencing ให้กับลูกค้า โดยที่ใช้ระบบการโต้ตอบและเก็บข้อมูลระหว่างลูกค้ากับ AI ซึ่งผลสำรวจพบว่า สามารถปิดการขายกับลูกค้าได้ดีขึ้นถึง 5%

  1. Cross Industries Collaboration AIS Business ให้ความสำคัญถึงการทำงานร่วมกับพาร์ตเนอร์ระหว่างภาคอุตสาหกรรม สร้างโซลูชันเฉพาะ เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาธุรกิจใน 3 ภาคอุตสาหกรรมเส้นเลือดใหญ่ที่มีส่วนสำคัญต่อการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต กลุ่มธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ ธุรกิจผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์และค้าปลีก มุ่งสนับสนุนธุรกิจไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน พร้อมต่อการแข่งขันในตลาดโลก

AIS

โดยในการสัมมนา Session ที่ 2 ในส่วนของหน่วยงานพันธมิตรชั้นนำเข้าที่ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพูดคุย ประกอบไปด้วยผู้บริหารระดับสูงจากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa), สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (FTI), การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (IEAT), ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC), การท่าเรือแห่งประเทศไทย (PAT) และสมาพันธ์โลจิสติกส์ไทย (THAILOG)

AIS

ซึ่ง คุณไพฑูรย์ ศิริฉัตรชัยกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย FTI กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นองค์กรที่เป็นศูนย์รวมผู้ประกอบการภาคการผลิต มองเห็นว่ายังมีความท้าทายในการทำ Digital Transformation เพื่อไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 จึงได้ทำการจัดหลักสูตรให้ผู้ประกอบการกลุ่มผู้บริหารระดับสูงภายในองค์กร (C Level) ที่ต้องการทำ Digital Transformation และส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมในการยกระดับสู่อุตสาหกรรม 4.0 ด้วยทั้งหมด 6 ด้าน

  1. ผลักดันให้เกิด Industry 4.0 Use cases ในภาคอุตสาหกรรม
  2. สร้าง Awareness สู่ภาคอุตสาหกรรม สนับสนุนหลักสูตรด้าน Industry 4.0 ผ่าน FTI Academy
  3. แต่งตั้งคณะทำงานปฏิรูปอุตสาหกรรมและพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและเสนอแนวทางผลักดัน Industry 4.0 สู่ภาคอุตสาหกรรม
  4. ID4 Connect Platform สนับสนุนแพลตฟอร์มการ Matching ด้าน Industry 4.0
  5. Thailand i4.0 Index เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการประเมินสถานะความพร้อมองค์กร เพื่อเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0
  6. OEE Platform ร่วมกำกับดูแลและสนับสนุนโรงงานนำร่อง, ส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมให้สามารถเข้าถึง OEE Platform ในราคาที่จับต้องได้

ด้าน ดร.พนิตา พงษ์ไพบูลย์ รองผู้อำนวยการ NECTEC และ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (SMC)  กล่าวว่าอุตสาหกรรม 4.0 จะต้องใช้ดิจิทัลหลากหลาย ทั้ง Cloud, IoT และ BIGDATA แต่ต้องไม่ลืมความปลอดภัยทางไซเบอร์ อย่างไรก็ตามความท้าทายที่ภาคอุตสาหกรรมพบเกิดจาก 4 ปัญหาหลัก 1. ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร 2. ขาดองค์ความรู้ 3. ขาดแหล่งทุน/สิทธิประโยชน์ 4. ไม่มั่นใจในการลงทุน และพบว่าภาคอุตสาหกรรมยังมีประสิทธิภาพไม่สูงมากนัก ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องให้การสนับสนุนเพื่อนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผู้ประกอบการ

ในมุมของ รศ.ดร. วีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวถึงบทบาทของการนิคมฯ ว่า มีหน้าที่ดูแลอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และขนาดกลาง ซึ่งจากการสังเกตว่ามีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในนิคม อย่างเช่น หุ่นยนต์ Automation ที่ยังไม่แพร่หลาย แต่สิ่งที่ AIS ได้สนับสนุน คือ การจัดงานอีเวนต์และเวทีสัมมนาเพิ่มการรับรู้ด้านเทคโนโลยีให้ผู้ประกอบการ เพื่อให้เข้าใจว่าการลงทุนด้านเทคโนโลยีจะคุ้มค่ากับต้นทุน โดยที่สามารถเลือกใช้ระบบ IoT หรือเซนเซอร์ต่าง ๆ เพื่อช่วยดูแลระบบมากมาย ทั้งระบบบำบัดน้ำเสีย หรือระบบการรับรู้ดินฟ้าอากาศ เพื่อนำมาช่วยพยากรณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งหากยิ่งรับรู้เร็วก็ยิ่งแม่นยำ และวางแผนได้ดีขึ้น

ในส่วนของ ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า (depa) กล่าวว่า เรามองภาพเทคโนโลยีในไทยมี 4 ด้านหลัก ๆ คือ การนำ DATA มาใช้, ระบบ Automation, Access Digital เพื่อเชื่อมต่อไปยังข้อมูลส่วนบุคคล และไซเบอร์เทคโนโลยี, การเปลี่ยนโลกจาก Physical ไปสู่ Non physical อย่างเช่น การใช้ AR และ VR

อย่างไรก็ตามหากต้องการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยไปสู่ดิจิทัล จะต้องเน้นที่คน และเน้นการ Transformation  ตัวอย่างเช่น การทำเมืองอัจฉริยะที่ต้องมีเป้าหมายชัด และประเทศไทยต้องมีการรองรับออกแบบเมืองผังเมือง ดังนั้น BIGDATA และ CLOUD จึงสำคัญมาก ๆ แต่ต้องเน้นไปที่การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม การอยู่อาศัย และ Governance ของเมือง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องใหญ่มากที่จะทำให้เมืองอัจฉริยะเกิดขึ้นในเมืองไทย

ในมุมของ คุณเกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข ผอ.การท่าเรือแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การส่งเสริมให้ไทยเป็น Gateway ที่ทุกสายเรือให้ความสนใจ ต้องพัฒนาให้ท่าเรือสามารถรองรับเรือขนาดใหญ่ขึ้น และยังต้องให้ความสำคัญกับการขนส่งนอกท่า ดังนั้นการบริหารงานจึงสำคัญที่สุด โดยแนวทางคือการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ปฏิบัติงาน ซึ่งนอกจากจะช่วยให้สามารถเพิ่มปริมาณในการขนส่งเยอะขึ้น ใหญ่ขึ้น ยังช่วยให้การส่งมอบทำได้ทันเวลา โดยต้องนำระบบ Automatic มาช่วยในการยก และขนส่งสินค้าไปยังจุดกระจายต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพ และมีต้นทุนที่ต่ำลง ซึ่งกระบวนการดังกล่าวต้องใช้บริการเครือข่ายที่มีเสถียรภาพอย่าง 5G มาเชื่อมโยง นอกจากนี้ยังต้องพัฒนาทักษะบุคลากรทั้งในหน่วยงาน และภาคที่เกี่ยวข้อง เพราะปัจจุบันการอัปสกิลอาจไม่เพียงพอ แต่ต้องมีสกิลด้านที่ไม่เคยเรียนรู้มาก่อนด้วย และหัวใจที่สำคัญที่สุดของการทำธุรกิจคือ ความยั่งยืน โดยมองว่า หากต้องการทำให้อุตสาหกรรมโลจิสติกส์แข็งแกร่ง ต้องทำให้แตกต่าง มุ่งเป้าไปที่สิ่งแวดล้อม ด้วยการทำให้เป็นท่าเรือสีเขียว

AIS

นอกจากนี้ คุณวัลภา สถิรชวาล ประธานสมาพันธ์โลจิสติกส์ไทย กล่าวว่า อุตสาหกรรมโลจิสติกส์จะก้าวไกลไปกว่านี้ ไม่ใช่แค่ด้านท่าเรือ หรืออากาศ แต่แข็งแกร่งด้านข้อมูล ดังนั้นการปรับตัวด้านเทคโนโลยี หากเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) จะติดปัญหาแหล่งเงินทุนน้อย แต่ปัจจุบันก็มีโซลูชันใหม่ ๆ ที่เข้ามาช่วยเพิ่มความสะดวก รวดเร็ว และไม่ต้องลงทุนสูง โดยการพัฒนาด้านเทคโนโลยีให้เกิดความยั่งยืนนั้น ต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพกำลังคนและบุคลากรด้านโลจิสติกส์ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล เพราะความท้าทายคือ การที่พนักงานยังขาดทักษะในการเรียนรู้โปรแกรมเพื่อสนับสนุนธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นสิ่งสำคัญคือ ต้องสร้างโอกาสสำหรับผู้ประกอบการในการพัฒนาองค์กร บุคลากรระดับปฏิบัติการ หัวหน้างาน ผู้จัดการ ผู้บริหาร/เจ้าของกิจการ, การพัฒนาระบบ Hardware/Software/ Peopleware

นอกจากการให้การสนับสนุนด้านเทคโนโลยีกับหน่วยงานต่าง ๆ แล้ว ทาง AIS Business ยังได้เชิญตัวแทนผู้บริหารจากองค์กรชั้นนำ ที่เป็นต้นแบบของการนำเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาธุรกิจ มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และแนะนำ Use Case ที่น่าสนใจมากมาย ซึ่งประกอบไปด้วย 3 กลุ่มอุตสาหกรรมหลัก คือ กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต กลุ่มธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ กลุ่มธุรกิจผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์และการค้า

โดย คุณณรงค์ชัย บัณฑิตวรภูมิ  Vice President Siam Toyota Manufacturing เปิดเผยถึงการได้ร่วมมือกับ AIS นำระบบ Energy Platform มาวิเคราะห์ และติดตามการใช้พลังงานได้แบบทันท่วงที ซึ่งเชื่อมต่อและควบคุมด้วยเครือข่ายจาก AIS ซึ่งช่วยให้การคำนวณต้นทุนแม่นยำ นำมาสู่การลดต้นทุนและพัฒนากระบวนการผลิตให้สยามโตโยต้า ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ของภูมิภาค

คุณนภัสร กิตะพาณิชย์ Director and President Somboon Advance Technology กล่าวว่า ได้ร่วมมือกับ AIS พัฒนาระบบ Smart Factory Solution เชื่อมต่อด้วยระบบ 5G โดยใช้ระบบแขนกลหุ่นยนต์และกล้องมาใช้แยกสินค้าประเภทชิ้นส่วนได้แม่นยำ ลำเลียงโดยรถ AGV ไปยังระบบจัดเก็บสินค้าอัตโนมัติ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ต้องพึ่งคนหรือเจ้าหน้าที่ และยังลดปัญหาอุบัติเหตุ ลดระยะเวลาการทำงานลง

คุณอาณัติ มัชฌิมา Chief Operating Officer Hutchison Ports Thailand (HPT) กล่าวว่า ในกลุ่มบริษัทเน้นการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ทั้งสิ่งแวดล้อม สังคม และบุคลากร จึงนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย และเป็นมิตรแก่สิ่งแวดล้อม และสร้างบรรยากาศที่ดีให้กับบุคลากรมาใช้ ตัวอย่างของระบบ Smart Port เช่น ระบบรีโมตคอนโทรลเครนเพื่อให้พนักงานสามารถควบคุมได้อย่างสะดวกไม่ต้องวิ่งไปหน้าท่าเรือ แต่สามารถอยู่ในห้องควบคุม, รถบรรทุกอัตโนมัติไร้คนขับ (Autonomous Truck) ที่สามารถทำงานร่วมกับรถที่มีคนขับอยู่ในพื้นทีเดียวกัน เป็นครั้งแรกในโลก, ระบบ Automatic Gate และ Application UBI ที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ให้บริการกับท่าเรือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดเวลา ซึ่งทั้งหมดทำงานบนโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล เช่น เครือข่ายระบบ 5G ที่รองรับการเปลี่ยนแปลง ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

คุณปฏิญญา อมรรัตนานนท์ Head Of Technology at AI and Robotics Ventures (ARV) หนึ่งในเครือบริษัท ปตท.สผ. กล่าวถึงการร่วมเป็นพันธมิตรกับ AIS ว่า บริษัทฯ ได้พัฒนาระบบโดรน โดยนำ 5G มาใช้เพื่อปลดล็อกข้อจำกัดด้านการบินอย่างเช่น ระยะทาง ซึ่งทำให้ที่ผ่านมาเราได้นำ Horrus โดรนบินสำรวจที่มาพร้อมเทคโนโลยีขั้นสูง มาใช้วิเคราะห์ข้อมูลจราจรเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้เส้นทาง นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาวิจัยเรื่องของโลจิสติกส์ โดรนซึ่งสามารถขนสินค้าที่มีน้ำหนักมากได้ ด้วยสัญญาณเชื่อมต่อที่มีคุณภาพจาก AIS ทำให้โดรนสามารถทำความเร็วได้ และมีวิสัยการบินที่ดีได้

นอกจากนี้ยังมีการแลกเปลี่ยนที่น่าสนใจจาก วัลยา จิราธิวัฒน์ President & CEO of Central Pattana ว่า ทางบริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญกับการสร้างสรรค์อนาคตที่ดีให้กับทุกคน ด้วยการพัฒนาโมเดลธุรกิจแห่งอนาคต คือระบบที่ต้องการให้ทุกคนทุกฝ่ายเติบโตไปด้วยกัน และเชื่อมโยงทุกธุรกิจของเรา จึงได้พัฒนาทั้ง Ecosystem ให้พัฒนาไปพร้อมกันทุกภาคส่วน

อย่างเช่นการจับมือกับพันธมิตรพลังงานสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ และเชื่อมโยงสร้างระบบที่ยั่งยืน และพัฒนาระบบเชื่อมโยงลูกค้าแบบ B2B2C เพิ่มความสะดวกให้ลูกค้าครบวงจร ซึ่ง AIS เป็นหนึ่งในพาร์ตเนอร์ที่สำคัญ เพื่อเชื่อมโยงให้ศูนย์การค้าที่ดี และเพิ่มประสบการณ์ที่ดี โดยได้ร่วมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลศูนย์การค้าของเราให้เป็น Shopping Destination ที่สมบูรณ์แบบ ยกตัวอย่างเช่น การเปิดตัวหุ่นยนต์อัจฉริยะ AIS 5G ที่เซ็นทรัลเวิลด์เป็นครั้งแรก หรือการทำหุ่นยนต์เสมือนจริงที่สามารถเปลี่ยนลุคเสื้อผ้าได้ ซึ่งถือว่าเป็นการ Transformation ศูนย์การค้าเซ็นทรัลให้กลายเป็นศูนย์การค้าแห่งอนาคต

AIS

ในมุมของ คุณจิรยุทธ์ กาญจนมยูร Chief Information Officer The Mall Group กล่าวว่า ธุรกิจค้าปลีกถูกกดดันเรื่อง Digital Transformation จำนวนมาก เพราะห้างสรรพสินค้าถูกปิดตัว จนทำให้ต้องปรับตัวอย่างรุนแรง ซึ่งทางเดอะมอลล์กรุ๊ปได้ทำ Digital Transformation มานานกว่า 5 ปี ด้วยการศึกษา Customer Behavior เทรนด์โดยการนำ AI มาช่วยประมวลผล และปัจจุบัน พัฒนาช่องทางขายที่ทำให้ลูกค้าสะดวกสบายมากขึ้นทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องอาศัยการเชื่อมโยงด้านเครือข่าย เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า จึงได้ร่วมมือกับ AIS ในแง่ของการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านการเชื่อมต่อเครือข่ายให้กับศูนย์การค้า ทั้งต่างจังหวัดและกรุงเทพฯ เพื่อให้ลูกค้า และพันธมิตรร้านค้าสามารถเชื่อมต่อได้อย่างไม่สะดุด

คุณอดิศักดิ์ จาบทะเล Senior Vice President Information Technology and Digital N.C.C Management & Development Co.Ltd. กล่าวถึงการบริหาร และการจัดงานในศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ว่า ทุกครั้งที่มีการจัดงานจะต้องสมบูรณ์แบบ เพราะหากงานผ่านไปแล้ว จะไม่สามารถกลับมาจัดใหม่ในงานเดิมได้อีกครั้ง ดังนั้นเทคโนโลยีที่ใช้จึงต้องเสถียรและปลอดภัยสูงสุด ซึ่งที่ผ่านมาเราร่วมกับ AIS ในแง่ของสัญญาณอินเตอร์เน็ต และการเชื่อมโครงข่ายไปยัง Hall ต่างๆ ที่เชื่อมโยงกันทั้งหมด โดยที่มี Fiber Optic พร้อมซัพพอร์ตเสมอ และมี WiFi สำหรับคนที่เข้ามาใช้พื้นที่ทั้งหมด ดังนั้นสำหรับศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์แล้วการหาพาร์ตเนอร์มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพคือสิ่งที่สำคัญที่สุด

นอกจากบนเวทีสัมมนาแล้ว ทาง AIS ยังได้มีการจัดแสดงเทคโนโลยีมากมายภายในบูท โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยให้เกิดความยั่งยืนในองค์กร ซึ่งสร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้ที่สนใจ โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่ต้องการนำเทคโนโลยีไปใช้ในองค์กรเป็นอย่างมาก โดยเทคโนโลยีที่ผู้ประกอบการให้ความสนใจจนกลายเป็นไฮไลต์ในงานมีมากมาย โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่ช่วยให้การทำงานสะดวกสบาย และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

AIS

  • Cloud X – Completed Cloud Service Platform for Your Digital Transformation ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการบริการคลาวด์ภายในประเทศสำหรับลูกค้าองค์กร จุดเด่นคือการบริการที่หลากหลาย ให้บริการบน Data Center ระดับ Telecom-Grade ที่ครอบคลุมทั่วประเทศ และยังมีผู้เชี่ยวชาญดูแล 24 ชั่วโมง
  • AIS PARAGON Platform – One Stop Platform to Manage 5G, Edge Compute and Cloud for Your Digital Transformation แพลตฟอร์มซึ่งเป็นศูนย์การบริหารจัดการโครงข่าย 5G, Edge Computing, Cloud และ Applications นำมาไว้ในแพลตฟอร์มเดียว เพื่อให้ธุรกิจสามารถสร้าง 5G Solutions ที่ตอบโจทย์และเหมาะกับความต้องการได้ง่าย และยืดหยุ่น เห็นภาพรวมของการใช้งาน และสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการ

AIS

  • Cloud PC for Enterprise – Where Limitless Computing Meets Mobility ซึ่งจะเข้ามาช่วยเสริมความการบริหารจัดการทรัพยากรและความปลอดภัย ด้วยการใช้งานคอมพิวเตอร์ ในรูปแบบ Desktop as a Service (DaaS) บนระบบคลาวด์ที่สามารถจัดสรรได้ตามความเหมาะสมต่อผู้ใช้งาน พร้อมฟังก์ชันการตรวจสอบสถิติและสถานะการใช้งานผ่านระบบควบคุม โดยมีความปลอดภัยในการเก็บข้อมูล
  • Operator Connect for Microsoft Team- Stay Connected with AIS Network and Fixed Line Numbers ที่เข้ามาช่วยยกระดับการสื่อสารขององค์กร ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถโทรออกไปยังเบอร์ภายนอกและรับสายได้ผ่าน Microsoft Teams รองรับการใช้งานได้ทั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์หรือมือถือ เสมือนมีเบอร์ประจำตัว สามารถใช้งานได้เหมือนระบบโทรศัพท์ทั่วไป
  • Communications Platform-as-a-Service (CPaaS) – Makes Business Communications Simpler for all the Conversations that Matter ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์ครอบคลุมทุกการสื่อสารขององค์กร ให้บริการในรูปแบบของ Cloud-based ช่วยให้องค์กรสามารถเชื่อมต่อทุกช่องทางการสื่อสารในปัจจุบัน เข้ากับแอปพลิเคชันของตนเองได้ในแพลตฟอร์มเดียว ไม่ว่าจะเป็น เสียง ข้อความ และวิดีโอ โดยไม่จำเป็นต้องสร้างระบบบริหารจัดการหลังบ้าน หรือแยกของแต่ละระบบ ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ เพิ่มความคล่องตัวและยืดหยุ่น ในการติดต่อสื่อสารในยุคปัจจุบันได้มากยิ่งขึ้น
  • AI Voice BOT – AI System that Elevates the Management of your Business ซึ่งนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มลูกค้าระดับองค์กร เป็น AI BOT ที่ให้บริการ Call Center เสมือนมีทีม Call Center คุยกับลูกค้า และนอกจากนี้ยังสามารถใช้ AI Voice Bot ดังกล่าว ในการให้บริการอื่น ๆ ได้อีก เช่น โทรนัดหมายให้บริการ เสนอขายสินค้า
  • Microsoft 365 Copilot – Your Copilot for Work ซึ่งใช้ AI มาช่วยปลดล็อกความคิดสร้างสรรค์และลดระยะเวลาในการสร้างเอกสารให้กับพนักงานลงได้

นอกจากเทคโนโลยีที่ช่วยส่งเสริมการทำงานให้กับองค์กรต่าง ๆ แล้ว ยังมีเทคโนโลยีที่ AIS ร่วมพัฒนากับ 3 กลุ่มอุตสาหกรรมหลัก ทั้งกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต กลุ่มธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ ธุรกิจผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์และค้าปลีก โดยมีเทคโนโลยีที่ผู้เข้าร่วมสนใจจำนวนมาก

AIS

  • Energy & Carbon Credit Management Platform- Your One-Stop Solution towards Net-Zero ระบบบริหารจัดการข้อมูลพลังงานในโรงงาน เพื่อนำไปวิเคราะห์และคำนวณให้เป็นข้อมูล Carbon Credit เพื่อนำไปใช้ตรวจสอบ นำไปสู่การลดการใช้คาร์บอน พร้อมออกรายงานที่สามารถนำไปยื่นตรวจสอบกับหน่วยงานต่าง ๆ ได้
  • Cobot with 3D Vision – Revolutionizing Automation with Precision ระบบแขนกลหุ่นยนต์ที่สามารถทำงานร่วมกันกับมนุษย์ ที่ผสานการทำงานร่วมกับกล้อง เพื่อความแม่นยำในการทำงาน เช่น ใช้ในการหยิบจับอุปกรณ์เพื่อขนย้ายหรือใช้ในการประกอบชิ้นส่วนของสินค้าต่าง ๆ
  • Automated Picking and Handling System – Handling the Future: Smart, Swift, and Automated ระบบหยิบ และขนถ่ายสินค้า วัสดุแบบอัตโนมัติ ซึ่งสามารถควบคุมการทำงานผ่านแพลตฟอร์ม เชื่อมต่อแบบไร้สายผ่านสัญญาณ 4G หรือ 5G ทำให้สามารถช่วยลดขั้นตอนในการทำงานในคลังสินค้า เหมาะสำหรับศูนย์กระจายสินค้า และในโรงงานที่มีหมวดหมู่สินค้า ในสายการผลิตที่หลากหลาย
  • EV Charger – Sustainable Smart, Control the Flow of Energy through the Cable ความต้องการใช้รูปแบบการขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนี้ ทำให้จำนวนรถเพิ่มขึ้นบนท้องถนนอย่างต่อเนื่อง การให้บริการอุปกรณ์และสถานีชาร์จไฟฟ้านั้นจึงเป็นที่ต้องการอย่างมาก ธุรกิจนี้จะช่วยตอบโจทย์ทุกประเภทรถ ประเภทเครื่องชาร์จ พื้นที่การใช้งาน และรูปแบบการใช้งาน
  • AIS Robot Platform – Tailoring Robot Journeys: Your Way, Your Robot Platform โปรแกรมแอปพลิเคชันกับหุ่นยนต์ โดย Robot แพลตฟอร์ม มีชุดเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้รับบริการสามารถสร้างลำดับของคำสั่งซอฟต์แวร์ที่ควบคุมอุปกรณ์กลไกของหุ่นยนต์และตัดสินใจเกี่ยวกับงานที่จะดำเนินการ แพลตฟอร์มยังมีระบบจัดการเนื้อหา เพื่อเป็นช่องทางสำหรับการอัปเดตเนื้อหาบน Robot มีฟังก์ชัน การตรวจสอบสิทธิ์และติดต่อฟังก์ชันกับภายนอก Robot แพลตฟอร์ม
  • Solar Energy Platform – Elevating your Sustainable Energy with Smart Platform แพลตฟอร์มบริหารจัดการพลังงานสะอาด โดยสามารถตรวจสอบ และบริหารการจัดการการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ตรวจสอบปริมาณไฟฟ้า สำหรับภาคพาณิชย์และภาคอุตสาหกรรม
  • IOC – Integrated Operation Center Smart Buildings แพลตฟอร์มในการบริหารจัดการ Facility ต่าง ๆ ภายในอาคาร เช่น การใช้พลังงาน การใช้น้ำ คุณภาพอากาศ รวมถึงมอนิเตอร์ และตรวจตราความปลอดภัยในอาคาร ซึ่งนอกจากจะช่วยให้การบริหารจัดการทรัพยากรภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพสูงสุดแล้ว ยังถือเป็นการช่วยลดการใช้พลังงานโลก ซึ่งเป็นหนึ่งในหนทางนำไปสู่ความยั่งยืนได้อีกด้วย

ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่เกิดขึ้นในงาน “AIS Business Digital Future 2024: DIGITAL INDUSTRY EVOLUTION” ที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าภาคธุรกิจสามารถเปลี่ยนถ่ายไปสู่การเติบโตที่ยั่งยืนด้วยการทำ Digital Transformation โดยเทคโนโลยีดิจิทัลพื้นฐานคือหัวใจสำคัญสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน ดังจะเห็นได้จากการที่ AIS มีการพัฒนาด้าน Digital Infrastructure และ Solutions ตามการเปลี่ยนแปลงของโลกตลอดเวลา ซึ่งทำให้พันธมิตรธุรกิจ และคู่ค้าสามารถปรับตัวและเพิ่มความแข็งแกร่งสู่เวทีโลกได้จากการมีเทคโนโลยีที่เหนือกว่า และยังเป็นการเติบโตแบบยั่งยืนตาม Mission ของโลก

AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย

เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน

“Your Trusted Smart Digital Partner”

ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่

Email : business@ais.co.th

Website : https://www.ais.th/business