‘Agoda’ เผยผลสำรวจ “ผู้หญิงที่ทำงานในภูมิภาคเอเชีย” พบแต่ละ Gen เห็นต่างในการยอมรับคนทุกกลุ่มโดยไม่แบ่งแยก

“การมองเห็นโอกาสได้อย่างชัดเจนโปร่งใส” “ความยืดหยุ่นในที่ทำงาน” และ “การเข้าถึงโอกาสได้” ถือเป็น 3 เรื่องที่บริษัทควรดำเนินการอย่างเร่งด่วนที่สุด ในการส่งเสริมสภาพแวดล้อมของที่ทำงานให้มีการยอมรับคนทุกกลุ่มโดยไม่แบ่งแยก หรือ Inclusivity ตามรายงานจากการสำรวจ “ผู้หญิงในที่ทำงานในภูมิภาคเอเชีย” หรือ “Women in the Workplace: Asia” ครั้งแรกของอโกด้า บริษัทเทคโนโลยีด้านการท่องเที่ยวซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในภูมิภาคเอเชีย โดย 3 เรื่องที่กล่าวไปข้างต้นอยู่ในอันดับที่สูงกว่าการจ่ายค่าตอบแทนอย่างเท่าเทียมและการสนับสนุนผู้ที่มีบุตร ในการสำรวจผู้คนจำนวน 12,000 คน ใน 10 ประเทศ ในภูมิภาคเอเชีย

จากการวิเคราะห์พบว่า ความแตกต่างทางความคิดเห็นเป็นไปตามอายุมากกว่าตามเพศอย่างมาก แม้ว่าในภาพรวมทุกคนจะมองว่า “การมองเห็นโอกาสได้อย่างชัดเจนโปร่งใส” เป็นเรื่องสำคัญอันดับ 1 แต่เมื่อเจาะลึกลงไปเฉพาะกลุ่มตามช่วงอายุ จะเห็นความแตกต่างว่า ในกลุ่มผู้ที่มีอายุ 18-24 ปี มีเพียง 38% เท่านั้นที่ให้ความสำคัญที่สุดกับการมองเห็นโอกาสได้อย่างชัดเจนโปร่งใส ในขณะที่กลุ่มผู้มีอายุมากกว่า 55 ปีคิดเป็น 49% การจัดอันดับความสำคัญนั้นแตกต่างไปตามเพศ โดยเมื่อพูดถึงการสร้างพลังบวกเพื่อส่งเสริมความสำเร็จ (empowerment) ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นกลุ่มคนที่ไม่คิดว่าตัวเองเป็นเพศชายหรือเพศหญิง หรือ “นอน-ไบนารี” (non-binary) มีแนวโน้มที่จะให้ความสนใจกับการนับรวมทางสังคม (social inclusion) การนับรวมทางอาชีพ (professional inclusion) และกลุ่มผู้บริหารระดับสูงที่มาจากคนทุกกลุ่มอย่างสมดุล (balanced representation within senior leadership) ว่าเป็นประเด็นสำคัญต่อการสร้างพลังบวกเพื่อส่งเสริมความสำเร็จในที่ทำงาน (empowerment) มากกว่าเพศอื่นๆ

เอเลียนา คาร์เมล, ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล, อโกด้า กล่าวว่า ผลสำรวจนี้มีประโยชน์ต่อองค์กรที่ต้องการรักษาคนเก่ง (talent) ที่มีคุณภาพในภูมิภาคเอเชีย “การสร้างสภาพแวดล้อมที่ทำให้ผู้คนรู้สึกว่าได้รับความเคารพทั้งในสังคมและทางอาชีพเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ความเป็นธรรมทางโอกาส ทั้งความสามารถในการมองเห็นโอกาสที่มีอยู่ และการเข้าถึงเครื่องมือ หรือการฝึกอบรมเพื่อเข้าถึงโอกาส เป็นคำตอบที่เราเห็นได้ชัดเจนมากจากการสำรวจครั้งนี้ สำหรับองค์กรที่ต้องการจ้างคนเก่งในระดับแนวหน้า (top talent) เส้นทางอาชีพ เป้าหมายที่ชัดเจน และความชัดเจนว่าความสำเร็จหน้าตาเป็นอย่างไรนั้นสำคัญมากในปัจจุบัน”

3 เรื่องที่บริษัทควรดำเนินการอย่างเร่งด่วนที่สุด ในการส่งเสริมสภาพแวดล้อมของที่ทำงานให้มีการยอมรับคนทุกกลุ่มโดยไม่แบ่งแยก

อันดับ โดยรวม ชาย หญิง นอน-ไบนารี อายุ 18-24 อายุ 35-44 อายุ 55+
1 การมองเห็นโอกาสได้อย่างชัดเจนโปร่งใส(42%) การมองเห็นโอกาสได้อย่างชัดเจนโปร่งใส(43%) การมองเห็นโอกาสได้อย่างชัดเจนโปร่งใส(42%) การนับรวมทางสังคม

(53%)

การเข้าถึงโอกาส

(40%)

การมองเห็นโอกาสได้อย่างชัดเจนโปร่งใส(42%) การมองเห็นโอกาสได้อย่างชัดเจนโปร่งใส(49%)
2 ความยืดหยุ่นในที่ทำงาน

(39%)

การเข้าถึงโอกาส

(38%)

ความยืดหยุ่นในที่ทำงาน

(41%)

การมองเห็นโอกาสได้อย่างชัดเจนโปร่งใส(51%) ความยืดหยุ่นในที่ทำงาน

(38%)

ความยืดหยุ่นในที่ทำงาน

(38%)

ความยืดหยุ่นในที่ทำงาน

(39%)

3 การเข้าถึงโอกาส (38%) ความยืดหยุ่นในที่ทำงาน

(37%)

การเข้าถึงโอกาส

(38%)

การนับรวมทางอาชีพ

(41%)

การมองเห็นโอกาสได้อย่างชัดเจนโปร่งใส(38%) การเข้าถึงโอกาส (38%) การจ่ายเงินอย่างเท่าเทียม

(35%)

เพดานที่มองไม่เห็นยังคงมีอยู่ และผู้ตอบแบบสอบถาม 1 ใน 4 “ลาออก” เนื่องจากการเลือกปฏิบัติทางเพศ
เกือบครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสำรวจ (46%) เชื่อว่าเพดานที่มองไม่เห็น (glass ceiling) ซึ่งเปรียบเสมือนเพดานที่กีดกันความก้าวหน้าของคนทุกเพศ ยังคงมีอยู่ในประเทศของตัวเอง โดยผู้ตอบแบบสอบถามจากเวียดนาม (63%) ไทย (56%) และไต้หวัน (53%) มีแนวโน้มที่จะเห็นด้วยมากกว่า ขณะที่ผู้ตอบแบบสอบถามจากฟิลิปปินส์มีแนวโน้มที่จะเห็นด้วยน้อยที่สุด (27%) นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามเพศชาย และนอน-ไบนารี (41%) ที่เชื่อว่าเพดานที่มองไม่เห็นยังคงมีอยู่ มีสัดส่วนน้อยกว่าผู้ตอบแบบสอบถามเพศชายหญิง (52%) และความเชื่อนั้นแตกต่างไปตามอายุ โดยผู้ตอบแบบสอบถามอายุ 18-24 ปี (53%) ที่เชื่อว่าเพดานที่มองไม่เห็นยังคงมีอยู่ มีสัดส่วนมากกว่าผู้ตอบแบบสอบถามอายุมากกว่า 45 ปี (42%)

ผู้ตอบแบบสอบถามอายุ 18-24 ปี มีแนวโน้ม(ที่จะ)ลาออก หรือรู้จักคนที่ลาออกเนื่องจากการเลือกปฏิบัติทางเพศมากกว่า (35%) เมื่อเทียบกับผู้ตอบแบบสอบถามอายุมากกว่า 55 ปี (12%)

การเปลี่ยนแปลงกำลังเกิดขึ้น โดยประเทศที่กำลังพัฒนามีมุมมองในแง่บวกมากกว่าว่าการเปลี่ยนแปลงกำลังเป็นไปในทิศทางที่ดี

ผู้ตอบแบบสอบถามเกือบ 7 ใน 10 เชื่อว่าสภาพแวดล้อมของที่ทำงานของผู้หญิงเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมา (เชื่อว่าเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นเล็กน้อย 41% และดีขึ้นมาก 28%) มีเพียง 8% ที่เชื่อว่าเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลง เมื่อมองผลสำรวจตามแต่ละเพศ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามเพศชาย 32% สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน ตรงกันข้ามกับผู้ตอบแบบสอบถามเพศหญิง 25% และผู้ตอบแบบสอบถามนอน-ไบนารี 24% ผู้ตอบแบบสอบถามเพศหญิง 42% รับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับผู้ตอบแบบสอบถามเพศชาย 39% และผู้ตอบแบบสอบถามนอน-ไบนารี 37%

การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมของที่ทำงานสำหรับผู้หญิงในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมา

ชาย หญิง นอน-ไบนารี
ดีขึ้นมาก 32% 25% 24%
ดีขึ้นเล็กน้อย 39% 42% 37%
ไม่มีการเปลี่ยนแปลง 21% 26% 25%
แย่ลงเล็กน้อย 5% 5% 12%
แย่ลงมาก 3% 3% 2%

เมื่อมองผลสำรวจแบบแต่ละประเทศ เห็นได้ว่าญี่ปุ่น (57%) และเกาหลีใต้ (40%) มีแนวโน้มที่จะเห็นว่าสภาพแวดล้อมของที่ทำงานสำหรับผู้หญิงมีการพัฒนาน้อยที่สุด หรือมองว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย หรือมองว่าเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลง ในทางตรงกันข้ามผู้ตอบแบบสอบถามจากฟิลิปปินส์ (44%) อินเดีย (36%) อินโดนีเซีย (36%) เวียดนาม (35%) และไทย (28%) มองว่ามีการพัฒนาที่ดีขึ้นมากในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมา

“การปรับปรุงสภาพแวดล้อมของที่ทำงานซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้หญิงก็เป็นประโยชน์ต่อองค์กรโดยรวมด้วยเช่นกัน แม้ว่า “เพดานที่มองไม่เห็น” ยังคงมีอยู่ แต่จากผลสำรวจจะเห็นได้ว่าผู้คนในภูมิภาคเอเชียมีความรู้สึกว่าสิ่งต่างๆ กำลังเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่กำลังพัฒนา” เอเลียนา คาร์เมล, ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล, อโกด้า กล่าว “ผลการสำรวจของอโกด้าเผยให้เห็นว่ามีคนอายุ 18-24 ปี ที่แนวโน้มที่จะไม่ทนต่อการเลือกปฏิบัติทางเพศมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงหรือรู้สึกว่าเป็นเช่นนั้น องค์กรที่จะประสบความสำเร็จต้องสร้างวัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมที่ไม่เพียงแต่ส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ แต่ต้องลงมือทำให้เห็นจริงในทุกๆ วัน ไม่ว่าจะเป็นการทำให้ทุกคนรู้บทบาทและเห็นโอกาสของตัวเองอย่างชัดเจน การสนับสนุนวัฒนธรรมการกล้าพูดที่ซึ่งเสียงของทุกคนจะไม่ถูกละเลย มองข้าม หรือเพียงแค่นำเสนอความเท่าเทียมด้วยการใช้แนวทางปฏิบัติที่สร้างความยืดหยุ่นในการทำงานให้พนักงาน เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีกลุ่มคนใดเสียเปรียบ”

ประโยชน์ของความสมดุลทางเพศในกลุ่มพนักงาน

2 ใน 3 (66%) ของผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศต่าง ๆ ระบุว่าความสมดุลทางเพศในกลุ่มพนักงานเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามอายุ 18-24 ปี (71%) การเพิ่มความหลากหลายทางเพศในทีมผู้บริหารหรือผู้นำจึงมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นสำหรับองค์กรต่าง ๆ ผลการสำรวจพบว่าประโยชน์สูงสุดของความสมดุลทางเพศในกลุ่มพนักงาน คือสภาพแวดล้อมของการทำงานที่ยอมรับคนทุกกลุ่มโดยไม่แบ่งแยก (inclusive work environment) (70%) ช่วยดึงดูดและรักษาคนเก่ง (63%) และปรับปรุงผลลัพธ์ทางธุรกิจให้ดีขึ้น (45%)

เอเลียนา คาร์เมล, ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล, อโกด้า กล่าวว่า ผลการสำรวจ “ผู้หญิงในที่ทำงานในภูมิภาคเอเชีย” (Women in the Workplace: Asia) ครั้งแรกของอโกด้า เผยให้เห็นชัดว่าทัศนคติต่อการยอมรับคนทุกกลุ่มโดยไม่แบ่งแยกในสถานที่ทำงาน (workplace inclusivity) เปลี่ยนแปลงไปตามกลุ่มคนแต่ละรุ่น การทำความเข้าใจ และยอมรับความแตกต่างระหว่างคนแต่ละรุ่นในกลุ่มพนักงานไม่ได้เป็นเพียงข้อได้เปรียบเชิงกลยุทธ์เท่านั้น แต่ยังเป็นกุญแจสำคัญในการปลดล็อกนวัตกรรม ส่งเสริมการทำงานร่วมกัน และสร้างสถานที่ทำงานที่ประสบความสำเร็จในมุมมองที่หลากหลาย ผลสำรวจนี้เน้นย้ำถึงบทบาทสำคัญในการสร้างทีมผู้นำที่หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของการเป็นตัวแทนทางเพศ ในการส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ไม่แบ่งแยก การดึงดูดคนที่มีความสามารถ และการขับเคลื่อนความสำเร็จของธุรกิจ การศึกษานี้ทำหน้าที่เป็นแหล่งข้อมูลสำคัญในการทำความเข้าใจและผลักดันแนวทางของการยอมรับคนทุกกลุ่มโดยไม่แบ่งแยกในสถานที่ทำงานในภูมิทัศน์เอเชียที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา”