e-Commerce

สรุป ราชกิจจานุเบกษาศุลกากรการค้า e-Commerce EEC -ร่างพระราชบัญญัติภาษี e-Commerce ตั้งกำแพงภาษีผู้ค้าในไทย-เอื้อประโยชน์ผู้ค้าต่างชาติ ??

มหกรรมชอปปิ้ง สนั่นโลก11.11 กำลังจะมาถึง ราชกิจจานุเบกษาศุลกากรการค้าe-Commerce EEC – ร่างพระราชบัญญัติภาษี e-Commerce  ก็กำลังมา มีกฏเกณฑ์อะไรบ้างใครได้ประโยชน์ -ใครเสียประโยชน์  มาดูกัน

ใกล้เข้ามาทุกที สำหรับมหกรรมชอปปิงวันคนโสด11.11 ซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากเจ้าพ่อแห่งวงการอีคอมเมิรช อาลีบาบา ที่จัดแคมเปญนี้ขึ้นมาเพื่อต้อนรับวันโสดของจีนในปี2009เป็นครั้งแรก เอาใจคนไร้คู่ได้ชอปปิ้งออนไลน์กะหน่ำทั้งวันทั้งคืน โดยมีแรงบันดาลใจมาจาก Black Friday ของสหัฐอเมริกา จากความสำเร็จนี้ ทำให้ผู้เล่นแพลตฟร์อม E-commerce หลายเจ้ากระโดดเข้ามาร่วมวงแคมเปญนี้อย่างคึกคัก โดยเฉพาะในปีนี้ ที่ ไม่เพียงแค่ผู้เล่นรายใหญ่เท่านั้นแม้แต่ผู้ค้ารายย่อยก็ยังลงมาเล่นแคมเปญนี้ ทำให้ภาพรวม มหกรรมชอปปิงวันคนโสด 11.11 ปีนี้จะไปได้สวย

แต่ เมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมาก็ทำเอา ผู้ค้าออนไลน์ ร้อนๆหนาวๆ เมื่อเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศกรมศุลกากรที่ 204/2562 เรื่อง การปฏิบัติพิธีการศุลกากร ณ เขตปลอดอากรกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ภายในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนพิเศษ 266 ง เพื่อกำหนดรายละเอียดวิธีปฏิบัติทั้งของผู้จัดตั้ง ผู้ประกอบการ และพีธีการศุลกากรสำหรับสินค้าที่ซื้อขายผ่านทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์(อี คอมเมิร์ซ) ในเขตปลอดอากรกิจการอี คอมเมิร์ซ ในพื้นที่อีอีซี ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้

– การปฏิบัติพิธีการศุลกากรสามารถกระทำได้ผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยเงื่อนไขการขอรับใบอนุญาตจัดตั้งเขตปลอดอากรกิจการอี คอมเมิร์ซต้องให้บริการรูปแบบสาธารณะ ไม่เป็นประโยชน์สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตรายใดรายหนึ่ง

ต้องมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 50 ไร่ อยู่ในเขตอีอีซี ในลักษณะของศูนย์กระจายสินค้าระหว่างประเทศ หรือกิจการอื่นอันเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศ

กำหนดให้ของที่นำออกจากเขตปลอดอากรฯแล้วนำเข้ามาในราชอาณาจักร หากนำของนั้นกลับเข้าไปยังเขตปลอดอากรฯภายใน 14 วัน ผู้ประกอบกิจการอี คอมเมิร์ซสามารถยื่นขอยกเลิกรายการนั้นในใบขนส่งสินค้าได้ จากเดิมภายใน 1 วัน นั่นคือ สินค้าที่ออกจากเขตปลอดอากรฯ ส่งขายถึงมือผู้ซื้อในประเทศ หากภายใน 14 วันมีการนำสินค้านั้นกลับคืนมา ผู้ค้าอี คอมเมิร์ซสามารถแจ้งยกเลิกได้ เพราะลักษณะการค้าอี คอมเมิร์ซเมื่อส่งของถึงมือผู้ซื้อในประเทศ ผู้ซื้ออาจปฏิเสธการรับสินค้านั้น หากตีกลับสินค้านั้นคืนเขตปลอดอากรใน 14 วัน ให้ยกเลิกการคิดภาษีศุลกากรสำหรับสินค้านั้นได้

ทั้งนี้การ ประกาศกรมศุลกากรที่กำหนดข้อปฎิบัติใหม่นี้ เกิดขึ้นเพื่อเชิญชวนให้ผู้ประกอบการค้าอี คอมเมิร์ซระดับโลก ให้เข้ามาลงทุนในเขตอีอีซี ซึ่งคาดว่าเมื่อประกาศนี้มีผลบังคับใช้ จะเห็นความคืบหน้าการลงทุนของผู้ประกอบการใหญ่เหล่านี้ในพื้นที่อีอีซีอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

ในขณะที่สภานิติบัญญัติ แห่งชาติได้มีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรว่าด้วยเรื่องระบบ e-Payment ซึ่งสรุปได้ดังนี้

มาตรา 3 ของ พ.ร.บ. ฉบับนี้กำหนดให้สภาบันการเงินต้องรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรม ลักษณะเฉพาะต่อกรมสรรพากร โดยธุรกรรมลักษณะเฉพาะนั้นเป็นธุรกรรมลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้

– ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันแล้ว มากกว่าหรือเท่ากับ 3,000 ครั้งต่อปีขึ้นไป
– ฝากหรือรับโอนทุกบัญชีรวมกันแล้ว มากกว่าหรือเท่ากับ 400 ครั้ง และมียอดรวมเงินรวมกันตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป

แต่ปัจจุบันยังไม่ได้มีการเชื่อมโยงข้อมูลข้ามธนาคาร ซึ่งหากผู้ค้าทำการกระจายบัญชีไป หลาย ๆ ธนาคารก็อาจพอเลี่ยงการตรวจสอบจากกรมสรรพากรได้บ้าง หรืออาจเลือกใช้บริการธนาคารต่างประเทศแทน

ทั้งนี้การยื่นภาษี e-Commerce จะขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ โดยแบ่งออกเป็นรูปแบบบุคคลธรรมดา ซึ่งไม่ได้มีการจดทะเบียนบริษัทใด ๆ หรือรูปแบบนิติบุคคล โดยมีการคำนวณภาษีต่างกันดังนี้:

– บุคคลธรรมดา จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามการคำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิและเงินได้พึงประเมิน โดยภาษีเงินได้สุทธิจะคำนวณจากรายได้ หรือเงินได้จากการขายสินค้าและบริการ (ประเภทที่ 8) หักลบ ค่าใช้จ่าย ซึ่งสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ในอัตราเหมาและหักตามค่าใช้จ่ายจริง โดยขึ้นอยู่กับอัตราค่าใช้ จ่ายตามที่กฎหมายกำหนดของธุรกิจแต่ละประเภท และหักลบค่าลดหย่อน อาทิเช่น ประกันชีวิต บุตร คู่สมรส เป็นต้น

ในส่วนของภาษีเงินได้พึงประเมิน ในกรณีที่มีเงินได้ประเภทอื่นที่ไม่ใช่เงินเดือนสูงเกินกว่า 60,000 บาท ให้นำยอดเงินได้นั้นคูณด้วย 0.005 และหากผลลัพธ์นั้นต่ำกว่า 5,000 บาทจะได้รับการยกเว้นภาษี แต่หากมากกว่าจะต้องทำการเปรียบเทียบระหว่างวิธีการคำนวณภาษีเงินได้สุทธิและวิธีการคำนวณภาษีเงินได้พึง ประเมิน โดยเลือกวิธีการที่ได้จำนวนภาษีสูงกว่า นิติบุคคล จะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยคำนวณตามเกณฑ์ที่เรียกว่า “กำไรสุทธิตามกฎหมายภาษีอากร”

หากธุรกิจ e-Commerce นั้น ๆ มีรายได้เกินกว่า 1,800,000 บาทต่อปี ผู้ประกอบการธุรกิจนั้น ๆ จะต้อง ทำการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีหน้าที่จัดทำรายงานภาษีซื้อ-ขาย และยื่นแบบแสดงภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมชำระภาษีเพิ่มเติม

ทั้งนี้กรมสรรพากรยังคงพยายามผลักดันร่างกฎหมายการเก็บภาษีเพิ่มเติมกับผู้ค้าขายผ่านช่องทางออนไลน์ หรือ e-Commerce อย่างต่อเนื่อง โดยกรมสรรพากรและกระทรวงการคลังได้เสนอร่าง พ.ร.บ. 3 ฉบับเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ได้แก่

ฉบับที่ 1: พ.ร.บ. แก้ไขกฎหมายภาษี ให้สถาบันการเงินต้องรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะต่อกรมสรรพากร

ฉบับที่ 2: พ.ร.บ. แก้ไขกฎหมายภาษี ให้เก็บภาษีกับการส่งพัสดุสินค้าจากต่างประเทศที่มีราคาต่ำกว่า 1,500 บาทเพิ่มเติม

ฉบับที่ 3: พ.ร.บ. แก้ไขกฎหมายภาษี เพื่อเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากผู้ประกอบการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) ในต่างประเทศ

อย่างไรก็ตามเมื่อมองในรายละเอียดก็พอจะสรุปได้ว่า ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนพิเศษ 266 ง เรื่อง การปฏิบัติพิธีการศุลกากร ณ เขตปลอดอากรกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ภายในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) เอื้อประโยชน์แก่ผู้ค้า E-Commerceรายใหญ่เช่น อาลีบาบา อเมซอนให้เข้ามาลงทุนใน EEC ได้ง่ายขึ้น

ในขณะที่ ร่างพระราชบัญญัติภาษี e-Commerce ซึ่งเรียกเก็บภาษีกับผู้ค้าe-Commerce ในไทย จะทำให้รัฐบาลสามารถจัดเก็บภาษีการค้าจากผู้ประกอบการ e-Commerceทั้งแบบ บุคคลธรรมดา และรูปแบบนิติบุคคล ได้ตามที่ควรจะเป็น เพื่อสร้างความเท่าเทียมกับธุรกิจอื่นๆ

ในขณะเดียวกันในมุมของผู้ค้านอกจากจะต้องเสียภาษีแล้ว ก็ยังมีความกังวลในเรื่องของการเรียกเก็บภาษีย้อนหลังแล้ว ก็อาจได้รับผลกระทบหากผู้ค้า E-Commerceจากต่างประเทศเข้ามาทำตลาดในไทยได้เงินขึ้น นั่นหมายว่า

ภาษีทั้ง2 อาจกลายเป็นตัดสะกัดกั้นการเติบโตของธุรกิจ E-Commerce ไทย