3 ยักษ์เอเชีย สร้าง คาร์บอน กว่า 30% ของโลก คาดใช้เงินกว่า 12 ล้านล้านเหรียญ แก้ปัญหานี้

สามประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในเอเชียใช้เงินกับการบรรลุเป้าการปล่อยพลังงานคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ไป 12 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของพวกเขา ประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ จะต้องชดใช้เงินจำนวนนี้โทษฐานที่พวกเขาปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาคิดเป็น 2 ใน 3 ของทวีปเอเชียแปซิฟิก และคิดเป็น 30% จาก 100% ของทั่วโลก

ประเทศญี่ปุ่นและประเทศเกาหลีใต้ให้คำมั่นสัญญาที่จะบรรลุเป้าการปล่อยพลังงานคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ให้ได้ภายในปี 2050 ส่วนประเทศจีนตั้งเป้าเอาไว้ที่ 2060 Net-zero emissions นั้นอ้างถึงการกำจัดก๊าซเรือนกระจกออกจากชั้นบรรยากาศให้ได้มากกว่าการผลิต

โดยปริมาณเงินทุนที่ต้องใช้ในการบรรลุเป้าหมายนี้ที่ 12 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ นั้นมากกว่า 90% ของ GDP ประเทศจีนในปี 2020 ซะอีก จากรายงานของ นาย Robert Carnell หัวหน้าทีมวิจัยทวีปเอเชียแปซิฟิกของ ING ซึ่งการจะบรรลุเป้าหมายนี้ได้ พวกเขาจำเป็นต้องผลิตกระแสไฟฟ้าให้ครอบคลุม เพื่อจะส่งมอบพลังงานไฟฟ้าให้กับรถยนต์พลังงานไฟฟ้าจำนวนมหาศาลในอนาคต รถรางไฟฟ้า รถบรรทุกไฮโดรเจน เครื่องบินที่บริโภคพลังงานอย่างยั่งยืน และเรือพลังงานแอมโมเนีย เป็นต้น

12.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐไม่รวมค่าใช้จ่ายโครงสร้างพื้นฐานที่จะต้องแทนที่โครงสร้างพื้นฐานเก่าที่มีอยู่ของรถยนต์แบบเดิม การติดตั้งจุดที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า และที่กักเก็บพลังงานในอุตสาหกรรม พร้อมกับ 30% ของการบริโภคพลังงานที่จะมาถึงจากระบบโลจิสติกส์ของทั้ง 3 ประเทศ พวกเขาจำเป็นต้องออกกฎหมายให้เร็วและมีการนำมาปรับใช้อย่างยั่งยืนเพื่อให้แน่ใจถึงการบรรลุเป้าหมายภายใต้กรอบเวลาของพวกเขา ถ้าประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เริ่มกระบวนการเปลี่ยนผ่านพลังงานของพวกเขาในวันนี้ และได้แผ่ความพยายามออกไปตลอด 30-40 ปีจากนี้

เส้นทางสู้ Zero Emissions ของจีน

อย่างที่เรารู้กันว่าจีนคือโรงงานโลก นั้นทำให้จีนกลายเป็นผู้ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รายใหญ่ที่สุดของโลก และการจะบรรลุคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ได้นั้นจะทำให้จีนมีต้นทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมขนส่งสูงถึง 11 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 1.6% ของ GDP ประเทศต่อปีจนถึงปี 2060 เลยทีเดียว

โดยทาง ING นั้นมุ่งไปที่รถยนต์ที่ใช้สำหรับขนส่งซึ่งจะขยายขึ้นไปแตะ 450 ล้านคันในปี 2050 จาก 220 ล้านคันในปี 2018 ขณะที่ประเทศจีนถือเป็นประเทศที่มีการเติบโตของรถยนต์ไฟฟ้าค่อนข้างสูงมาก ซึ่งถ้าหากมีการใช้รถยนต์ไฟฟ้าแบบ Battery Plug-In เต็มที่ทั่วประเทศในปี 2060 คาดว่าการบริโภคพลังงานจากรถยนต์ในปี 2050 จะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมเดินเรือของประเทศจีนที่จะมีการเรียกร้องการบรรลุเป้าหมายเรื่องนี้เป็นอย่างมาก โดยมีการคาดการณ์ว่าในปี 2060 ความต้องการขนส่งทางทะเลจะเติบโตมากกว่า 120% เมื่อเทียบกับช่วงเวลานี้

อย่างไรก็ตามมันเป็นไปไม่ได้เลยที่จะบรรลุค่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นกลางโดยปราศจากการเข้าแทนที่พลังงานดีเซลและก๊าซธรรมชาติเหลว รวมไปถึงแอมโมเนียเขียว ซึ่งนั้นจะทำให้มีต้นทุนพิเศษเพิ่มขึ้น 3,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และการเพิ่มขึ้น 433 กิกะวัตต์ของความสามารถในการผลิตพลังงานไฟฟ้า

ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้กับการบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางด้านคาร์บอนไดออกไซด์

ทั้งสองประเทศมีระยะเวลาของเป้าหมายที่จะบรรลุเรื่องนี้ในปีเดียวกันคือ 2050 โดยต้นทุนของญี่ปุ่นจะอยู่ที่ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับแผนการเปลี่ยนผ่านระบบขนส่งของตัวเอง ซึ่งตั้งอยู่บนเงื่อนไขว่าจะต้องเพิ่มความสามารถในการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น และคิดเป็นมูลค่าสูงถึง 20% ของ GDP ประเทศในปัจจุบัน แต่มันคิดเฉลี่ยต่อปีจะอยู่แถว ๆ 0.6% เท่านั้น

ในรายงานระบุอีกว่าตอนนี้ญี่ปุ่นยังห่างไกลจากการลดคาร์บอนไดออกไซด์อีกมาก เพราะปัจจุบันพลังงานที่ใช้มากกว่า 2 ใน 3 ของพวกเขายังมาจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ด้านเกาลีใต้การจะบรรลุเป้าหมายนี้นั้นทาง ING ประเมินว่าพวกเขามีต้นทุนทางการเงินสูงถึง 400,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 0.6% ของ GDP ในวันนี้ของประเทศ เมื่อถัวเฉลี่ยระยะเวลาออกไป 30 ปีจากนี้

เขียนและเรียบเรียง : เอกพล มงคลพัฒนกุล

ที่มา : Bloomberg, CNBC

ติดตาม Business+ ได้ที่ thebusinessplus.com
Line Business+ ได้ที่ https://lin.ee/pbIHCuS

#Businessplus #Business+ #นิตยสารBusinessplus #คาร์บอนไดออกไซด์ #ZeroEmissions #อุตสาหกรรมโลจิสติกส์