ชาวเน็ต ผู้ทรงอิทธิพลในโลกออนไลน์

จากปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ตบนสมาร์ตโฟนที่เพิ่มขึ้นทวีคูณ และยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง ล่าสุดVserv ผู้นำทางด้านแพลตฟอร์มสมาร์ทดาต้าสำหรับการตลาดและการค้าผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่  ทำการแบ่งกลุ่มผู้ใช้สมาร์ทโฟน ได้แก่ ขวัญใจวัยแชท, ผู้ใช้มือใหม่, ผู้ใช้ชั้นสูง, นักสนทนาเน้นการโทร, นักดาวน์โหลด และนักสำรวจค้นข้อมูล

ซาการ์ ฟาดเค กรรมการบริหาร ฝ่ายข้อมูลผู้บริโภคในเชิงลึก, Nielsen กล่าวว่า “รายงานครั้งนี้ จะเป็นตัวช่วยให้นักการตลาดรับรู้ข้อมูลเชิงลึก เพื่อเสริมสร้างกลยุทธ์ทางการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจำนวนผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตบนมือถือในประเทศไทยนั้นเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงมองว่ารายงานในครั้งนี้จะช่วยให้เหล่านักการตลาดมีความได้เปรียบทางด้านการวางกลยุทธ์”

ภายในรายงาน Smartphone User Persona Report (SUPR) 2015 ได้นำเสนอข้อมูลในเชิงลึกเกี่ยวกับการใช้งานสมาร์ทโฟนของผู้ใช้แต่ละกลุ่ม

ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาการใช้งานแอพพลิเคชั่น, การใช้ดาต้า และรายละเอียดส่วนตัวของผู้ใช้งาน โดยรายงานเผยว่าฐานผู้ใช้งานสมาร์ตโฟนชาวไทยมีอัตราเติบโต 15% จากปี 2556 จนถึงปี 2560 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้งานที่อายุต่ำกว่า 30 ปี

ภายในรายงาน SUPR 2015 ระบุว่า คนไทยใช้สมาร์ตโฟนเฉลี่ย 160 นาที/ต่อวัน สำหรับรายละเอียดชาวเน็ต 6 ประเภท แบ่งออกได้ดังนี้

ขวัญใจวัยแชท : จะใช้สำหรับการเล่นโซเชียลเน็ตเวิร์ค, แชท, การโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยกลุ่มนี้ส่วนมากจะเป็นผู้ชาย โดยคนกลุ่มนี้จะใช้เวลากว่าครึ่งวันในการเล่นโซเซียลเน็ตเวิร์ค
01 Chat

ผู้ใช้ชั้นสูง :  ใช้เวลาบนสมาร์ตโฟนกว่า 208 นาทีต่อวัน เพื่อเล่นเกมรวมทั้งสนทนาผ่านอินเทอร์เน็ต

03 High

ผู้ใช้มือใหม่ : เป็นกลุ่มคนที่ใช้สมาร์ตโฟนน้อยที่สุด และมีปริมาณการดาวน์โหลดน้อยที่สุดอีกด้วย รายละเอียดผู้ใช้จะอยู่ระหว่าง 18-24 ปี 02 new entry

นักสนทนาเน้นการโทร : ใช้สมาร์ตโฟนโทรเข้าโทรออกอย่างเดียว โดยมุ่งเน้นการส่งข้อความเป็นหลัก

04 talk

นักดาวน์โหลด : คือผู้ใช้ดาต้าสูงสุด 604 MB/วัน ในการโหลดเกมและใช้โซเชียลมีเดียเป็นหลัก ส่วนใหญ่เป็นผู้ชายอายุระหว่าง 25-30 ปี

05 download

นักสำรวจค้นข้อมูล : ใช้เวลาบนสมาร์ตโฟนเพียง 20 นาทีต่อวัน เพื่อการค้นหาข้อมูลบนเว็บเบราเซอร์และ App Store โดยส่วนมากจะเป็นผู้หญิงที่นิยมท่องเว็บ เพื่อซื้อของออนไลน์เป็นหลัก

06 server

จะเห็นได้ว่า ชาวเน็ตทั้ง 6 กลุ่มนี้เป็นเพียงแค่ตัวอย่างบางส่วนจากการสำรวจเพื่อให้นักการตลาดได้รู้จักกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น เพื่อสร้างกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพและเข้าถึงผู้คนกลุ่มดังกล่าวได้มากยิ่งขึ้น