รายงานจาก the University of Chicago’s Energy Policy Institute เผยว่าจำนวนฝุ่นอนุภาคขนาดเล็กในลดลงมากกว่า 40% ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา (2013-2020) ซึ่งจะมีส่วนช่วยต่อชีวิตคนจีนให้ยืนยาวขึ้นราว 2 ปี แต่ถึงอย่างไรตอนนี้จีนก็ยังถือว่ามีค่าเฉลี่ยของ PM2.5 เกินกว่าที่ควรจะเป็นอยู่ดี โดยเมื่อเปรียบเทียบจีนกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นับตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา จีนมีแนวโน้มของค่าเฉลี่ย PM2.5 ดีขึ้นเรื่อย ๆ สวนทางกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้นไม่หยุดโดยปี 2020 โดยค่าฝุ่นขึ้นไปอยู่ที่ 54.8
ขณะที่ข้อมูลจาก World Health Organization ก็เพิ่มเติมว่า 97% ของประชากรโลกอาศัยอยู่ในสถานที่ที่อากาศมีคุณภาพแย่ ปราศจากประเทศจีน โลกจะเจอกับสถานการณ์ที่ระดับคุณภาพอากาศโดยเฉลี่ยแย่ลงนับตั้งแต่ปี 2013 สาเหตุมาจากเหล่าประเทศอุตสาหกรรมในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต และ แอฟริกากลาง รวมไปถึงประเทศอย่างกัมพูชาและไทยเองเราก็ได้เห็นการเพิ่งขึ้นของ PM2.5 เกิน 10% ในช่วงปี 2020 คุณ Christa Hasenkopf ซึ่งเป็น the study’s co-author and director of Air Quality Programs at the University of Chicago ก็เผยว่า “ปัญหาคุณภาพอากาศเป็นเรื่องที่รับมือได้ยาก และต้องใช้การลงทุนระยะยาวเพื่อให้เกิดความก้าวหน้าอย่างแท้จริง”

แปล เขียน และเรียบเรียง : เอกพล มงคลพัฒนกุล
ที่มา : the University of Chicago’s Energy Policy Institute, Bloomberg
ติดตาม Business+ ได้ที่ : https://www.thebusinessplus.com/
Line Business+ ได้ที่ : https://lin.ee/pbIHCuS
IG ได้ที่ : https://www.instagram.com/businessplus.newgen2021/
#Businessplus #Business+ #นิตยสารBusinessplus #PM25 #ฝุ่นขนาดเล็ก #จีนลดฝุ่น