ไทย เข้าสู่ Great Depression!! Lockdown รอบนี้ส่งไทยเข้าสู่วิกฤตเศรษฐกิจเต็มตัว

พาดหัวมาน่ากลัวจัง หลายคนรู้สึกอย่างนั้น ซึ่งจริง ๆ ก็ควรกลัว เพราะวิกฤตครั้งนี้ถูกออกแบบให้ยากลำบากในระดับสูงสุดอยู่แล้ว เพื่อจะเปลี่ยนโครงสร้างของสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมไปแบบพลิกฟ้าคว่ำดิน แต่เดี๋ยวจะมาสรุปอีกทีตอนท้ายเรื่องสำหรับใครที่ทนอ่านจนจบ แต่ตอนนี้เรามาไล่เรียงข้อมูลภายในประเทศช่วงนี้กันหน่อยว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้างในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา

ข้อมูลการระบาดและวัคซีน
ตอนนี้อย่างที่เรารู้กันประเทศไทยระบาดเขาสู่รอบที่ 3 แล้ว โดยจำนวนตัวเลขผู้ติดเชื้อรวมราว 415,000 คน เฉพาะระลอก 3 อยู่ที่ราว 386,307 คน ยอดเสียชีวิตในรอบนี้อยู่ที่ 3,328 คน (ข้อมูลวันที่ 19/7/2021) ซึ่งประเทศไทยฉีดไปแล้วจำนวน 13,533,717 โดส คิดเป็น 15.4% ของประชากร โดย 3 จังหวัดที่มีการฉีดมากที่สุดประกอบไปด้วย จังหวัดภูเก็ตคิดเป็นสัดส่วน 72.1% จังหวัดกรุงเทพมหานคร 44.6% และจังหวัดระนอง 31.6% ซึ่งวัคซีนที่ใช้อยู่ตอนนี้คือ Sinovac, AstraZeneca และ Sinopharm นี่คือ 3 ยี่ห้อที่เราใช้กันอยู่เป็นหลัก ๆ ณ ขณะนี้

ความคิดเห็น
วัคซีนเป็นเรื่องการเมืองระดับโลกมีการแบ่งฝั่งแบ่งฝ่ายกันชัดเจนระหว่างค่ายผู้ผลิตจากตะวันตกและตะวันออก นั้นทำให้แค่มีเงินอย่างเดียวก็ไม่เพียงพอต่อการได้มันมา เราจะเห็นตัวอย่างในหลายประเทศที่ถ้ามีฝั่งหนึ่งเข้าไปเจาะตลาดได้แล้ว ก็มักจะไม่มีอีกฝั่งให้เลือกในประเทศนั้น ๆ สักเท่าไร หรือมีก็จะเป็นสัดส่วนที่น้อยกว่า เพราะอุตสาหกรรมยาถือเป็นอุตสาหกรรมระดับโลก และการระบาดของไวรัสในครั้งนี้ในมุมหนึ่งมันก็คือการแย่งรายได้กันของแต่ละฝั่ง การทำการตลาดแข่งกันเพื่อนโชว์ประสิทธิภาพจึงกลายเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นอยู่อย่างต่อเนื่อง เพราะผลประโยชน์ครั้งนี้มันมหาศาลทุกคนจึงอยากโกยเม็ดเงินเข้ากระเป๋ากันอย่างเต็มที่ รวมไปถึงการเป็นประเทศผู้ซัพพลายวัคซีนให้ก็จะทำให้ตัวเองเข้าไปมีอิทธิพลในประเทศนั้น ๆ ในอนาคตด้วย

ข้อมูลการท่องเที่ยว
เครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจที่สำคัญของไทยเราคือภาคการท่องเที่ยว ตอนนี้พิการโดยสมบูรณ์แบบ เพราะนอกจาก “ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ (Phuket Sandbox)” ซึ่งเป็นการทดลองท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ พร้อมเงื่อนไนและค่าใช้จ่ายมากมาย นอกนั้นก็แทบจะขยับอะไรไม่ได้ โดยข้อมูลปี 2562 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าสู่ประเทศประมาณ 39.8 ล้านคน สร้างรายได้ราว 2 ล้านล้านบาท ส่วนนักท่องเที่ยวไทยสร้างรายได้ราว 1 ล้านล้านบาท มีการเดินทางทั้งปีอยู่ที่ราว 172 ล้านครั้งขณะที่ปี 2563 ต่างชาติเข้าไทยอยู่ที่ 6.7 ล้านคน คนไทยอยู่ที่ 95-100 ล้านครั้ง ทำรายได้ไป 750,000 ล้านบาท รายได้หายไปกว่า 70%-80% เลยทีเดียว ซึ่งล่าสุดทางกพท. ก็ออกประกาศฉบับที่ 3 ห้ามบินรับส่งผู้โดยสารในเส้นทางพื้นที่สีแดงเข้ม ยกเว้นเกี่ยวกับแซนด์บ็อกซ์และกรณีจำเป็น ฉุกเฉิน ส่วนเส้นทางอื่นให้จำกัดผู้โดยสารไม่เกิน 50% ของที่นั่ง

ความคิดเห็น
การท่องเที่ยวจะฟื้นไม่ฟื้นขึ้นอยู่กับการควบคุมโนคระบาดว่าทำได้ดีแค่ไหน ซึ่งก็อย่างที่เราเห็นตอนนี้ยังคงห่างไกลจากการควบคุมได้อีกมาก ซึ่งตรงนี้หมายความว่าอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องจำนวนมากไม่ว่าจะเป็น ทัวร์ ร้านอาหาร โรงแรม และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องจะล้มหายตายจากอย่างแน่นอนในรอบนี้ เพราะธุรกิจเหล่านี้พึ่งพานักท่องเที่ยวต่างชาติ และเม็ดเงินเหล่านั้นกว่าจะกลับมาอาจต้องรอไปจนถึงปี 2024 เพราะต้องธุรกิจการบินฟื้นเสียก่อน และถูกจากโมเดล “ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ (Phuket Sandbox)” เราจะเห็นการจำลองรูปแบบการท่องเที่ยวในอนาคตให้ดูเป็นตัวอย่างแล้ว ซึ่งมีเงื่อนไขและข้อจำกัดรวมไปถึงค่าใช้จ่ายจำนวนมาก เท่ากับต้องเป็นคนมีกำลังเท่านั้นจึงสามารถท่องเที่ยวได้ในอนาคต มุมหนึ่งคือการถนอมธรรมชาติไปในตัว

ข้อมูลหนี้ครัวเรือนไทย
ตอนนี้ระดับหนี้ครัวเรือนของไทยแตะร้อยละ 90 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเพิ่มขึ้นจากในช่วงไตรมาส 4 ปี 2563 ที่ร้อยละ 89.3 ของ GDP ซึ่งถือว่าสูงเป็นประวัติการณ์เลยทีเดียว ส่วนหนี้สาธารณะของประเทศตอนนี้อยู่ราว ๆ 51% แต่จากการคาดการณ์เมื่อจบเดือนกันยายนปี 2564 ตัวเลขจะขึ้นไปแตะ 57% สาเหตุจากกู้การเงินเพื่อใช้แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของไวรัส เพิ่มเติม พ.ศ.2564 บนวงเงิน 5 แสนล้านบาท แต่ตัวเลขอาจพุ่งขึ้นไปถึง 62%-63% ซึ่งนั้นจะทะลุเพดานทันที ด้วยสาเหตุ 3 ข้อ หนึ่ง การระบาดระลอก 3 ซึ่งความเสียจะสูงกว่า 100,000 ล้านบาท สอง กู้ชดเชยขาดดุลงบ 2565 อีก 700,000 ล้านบาท สาม GDP ที่ต่ำกว่าประมาณการ เมื่อ 3 ข้อนี้มารวมกันตัวเลขหนี้สาธารณะไทยจะพุ่งแตะ 62%-63% ทะลุเพดานทันที

ความคิดเห็น
หนี้ครัวเรือนตอนนี้เดินมาเลยเส้นแดงแล้ว คือชนเพดานจนก่อหนี้ไม่ได้แล้วสำหรับคนไทยส่วนใหญ่ เพราะก่อหนี้ในรอบแรกประคองไปแล้วซึ่งที่จริงคนไทยในช่วงหลังก็ก่อหนี้กันมากอยู่แล้ว โดยเฉพาะในเจเนอเรชั่นใหม่ ๆ ที่เป็นหนี้จำนวนมากตั้งแต่อายุยังน้อย นั้นทำให้รอบนี้เหลือเพียงแต่ขายสิ่งของบางอย่างเพื่อประทังชีวิตเท่านั้น ถ้าพวกเขามีไม่ว่าจะรถยนต์หรือบ้าน

ข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
จากข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอีในไทยพบว่ามีอยู่เกือบ 4 ล้านราย มีจำนวนคนเกี่ยวข้องมากถึง 20 ล้านคน ซึ่งถือเป็นหัวใจและฐานขับเคลื่อนที่สำคัญของเศรษฐกิจไทย โดยทางสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้เปิดเผยตัวเลขปี 2563 ของธุรกิจเอสเอ็มอี พบว่า ยอดขายเดือนมีนาคม 2563 เทียบกับมีนาคม 2562 ส่วนใหญ่คิดเป็นสัดส่วน 87.2% หรือมากถึง 2,315 ราย ตอบว่ามี ยอดขายลดลง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นร้านอาหารที่ยังไม่เข้าสู่ระบบออนไลน์ และสิ่งที่ตามมาก็คือมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐและเอกชนอย่างต่อเนื่อง พักหนี้ทั้งต้นและดอกเบี้ย ลดค่าน้ำและค่าไฟ เจรจาปรับโครงสร้างหนี้กับธนาคารใหม่ เงินเยียวยาลูกจ้างรายวันที่รัฐออกแทน

ความคิดเห็น
ธุรกิจเอสเอ็มอีเองก็เช่นกันเจ็บหนักมาจากในรอบแรกที่ก่อหนี้สินมาประคองกิจการไม่ให้ล้มหายตายจากไป แต่กับมาเจอการระบาดในรอบที่ 3 ซ้ำอีก นั้นทำให้พวกเขาหลายคนไม่มีพลังทางการเงินจะสามารถยืนยัดได้ต่อไป แม้จะมีมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐและเอกชนบ้างส่วนก็ตาม นั้นทำให้ เอสเอ็มอีไทยเจอหนี้ล้มทับใส่ คือแม้จะเลิกกิจการก็ยังต้องตามใช้หนี้ที่ก่อมาจากรอบแรกอีกพอสมควรเลยทีเดียว

รายได้รัฐหาย
จากการเปิดเผยของกระทรวงการคลังในเรื่องรายได้ของภาครัฐในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2564 พบว่า การจัดเก็บรายได้สุทธิอยู่ที่ 1,441,416 ล้านบาท ต่ำกว่าที่ประมาณการตามเอกสารงบประมาณไป 198,672 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.1 และต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 58,035 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.9

ความคิดเห็น
เมื่อรายได้ของธุรกิจขนาดเล็กและคนทั่วไปหาย นั้นก็นำมาสู่รายได้จากภาครัฐที่ปรับตัวลดลงตามและยังรวมไปถึงผลกระทบจากการที่ไม่สามารถเก็บเงินภาษีจากบริษัทเทคโนโลยีแพลตฟอร์มยักษ์ได้ ยิ่งซ้ำเติมสถานะทางการคลังของประเทศให้แย่หนักขึ้นไปอีก การกู้เงินจึงเป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้เพื่อประคองระบบเศรษฐกิจไม่ให้ล้มไปเสียก่อน แต่หากกู้จนชนเพดานแล้วยังไม่รอดอีกคราวนี้ก็อาจจะต้องตัดลดค่าใช้จ่ายกันเสียแล้ว ซึ่งตรงนี้เหล่าผู้รับเงินบำนาญ หรือได้ประโยชน์จากโครงการต่าง ๆ ของรัฐอาจจะเจอกับผลกระทบใหญ่ต่อไป ถ้าสุดทางแล้วไม่ได้อีกคราวนี้ก็ได้เวลาแปรรูปทรัพย์สินของชาติไปสู่มือเอกชนต่างชาติและไทยบางกลุ่มต่อไป

การ Full Lockdown ประเทศในรอบนี้สำหรับแอดมินคือการส่งประเทศไทยเข้าสู่วิกฤตเศรษฐกิจเต็มตัวเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งวิกฤตนี้อย่างที่บอกไปข้างต้นถูกออกแบบให้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทั้งในมิติโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรมไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในระดับนี้ไม่มีทางที่ประเทศจะไม่วุ่นวาย เพราะมีแต่ความวุ่นวายและทุกย์ยากในระดับเกินจินตนาการเท่านั้น จึงทำให้ Solution ใหม่ ๆ ที่เตรียมเอาไว้ได้รับการตอบรับโดยไม่มีเงื่อนไขจากผู้คน

ดั่งคำพูดที่ คุณเคลาส์ ชวาบ ผู้ก่อตั้งสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) เคยพูดไว้ว่า “การระบาดครั้งนี้ได้มอบโอกาสสำหรับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในระดับโลก”

2 ปีจากนี้คือช่วงเวลาแห่งความทุกข์ยาก แบบเกินความเข้าใจของคนส่วนใหญ่ ดูแลครอบครัวกันดี ๆ ครับ

ที่มา : posttoday, bangkokbiznews, prachachat, workpointtoday,mgronline

ติดตาม Business+ ได้ที่ thebusinessplus.com
Line Business+ ได้ที่ https://lin.ee/pbIHCuS

#businessplus #FullLockdown #เศรษฐกิจไทย #ตัวเลขเศรษฐกิจ #หนี้สินสาธารณะ #GDP