ไขข้อสงสัยRobotic Process Automation ช่วยงานหรือแย่งงานกันแน่

ในงาน November Series 2018มีการบรรยายที่เปี่ยมไปด้วยความรู้เกี่ยวกับ Robotics Summit ภายใต้ธีม Shaping the Future with Robotics and AI ในหัวข้อ“Leveraging Automation Intelligence” ซึ่งมีผู้เข้าร่วมฟังบรรยายเป็นผู้บริหารหน่วยงานเอกชน ภาครัฐ และรัฐวิสาหกิจของกลุ่มธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ ค้าปลีก และยานยนต์

หัวข้องานในครั้งนี้ได้กล่าวถึง ประเด็นของRPA หรือ Robotic Process Automation ที่น่าสนใจว่าRPA หรือ Robotic Process Automation คือ กระบวนการทำงานอัตโนมัติด้วยหุ่นยนต์RPA เป็นโซลูชั่นที่ทำงานได้เสมือนพนักงานคนหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการ Click, Select,Copy, Paste หรือ Field entry เราสามารถมอง RPA ได้ว่าเป็นหุ่นยนต์ตัวหนึ่ง แต่ไม่มีรูปร่างหน้าตา ไม่มีแขนขา เหมือนหุ่นยนต์ปกติทั่วไป

“RPA ไม่ได้ผลิตมาเพื่อแย่งงานมนุษย์ แต่เพื่อช่วยให้มนุษย์ทำงานได้สะดวกรวดเร็วขึ้น ลดข้อผิดพลาด และการย้อนกลับไปแก้ปัญหา”

RPA เหมาะสำหรับงานประเภทที่เป็นรูทีน หรืองานประเภทซ้ำซากที่ต้องทำถี่ ๆ โดยจะต้องมีเงื่อนไขหรือกฎเกณฑ์ที่ชัดเจน NICE RPA สามารถจำแนกออกเป็นสองประเภท คือ Desktop Automation และ Robot

1. Desktop Automation สามารถเรียกได้ว่าเป็นเสมือนผู้ช่วยที่อยู่บนหน้าจอ desktop สามารถทำงานไปพร้อม ๆ กับคน โดยไม่เกิดการแย่งการใช้งานคอมพิวเตอร์กันเพียงแต่ต้องใช้คนละแอปพลิเคชัน

2. Robot เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการทำงานตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ เพียงแค่มีการตั้งค่า trigger หรือ schedule เอาไว้ ซึ่ง NICE RPAประเภทนี้สามารถทำงานได้ 24 ชั่วโมง ไม่มีการอู้งาน ลาพักร้อน หรือลาป่วย

ข้อดีของ RPA คือ สามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง, ลดค่าใช้จ่าย เช่น ค่าโอที หรือความเสียหายที่เกิดจากข้อมูลผิดพลาด, ช่วยให้ทำงานได้ไวขึ้นและลด human error ภาพรวมจึงทำให้พนักงาน มีความสุขมากขึ้น มีเวลาในการพัฒนาตนเอง และศักยภาพในการทำงานมากขึ้น มีเวลาให้กับตนเอง ครอบครัว และเพื่อนๆ KPI ในการทำงานเพิ่มสูงขึ้น, ลูกค้ามีความพึงพอใจกับการให้บริการที่รวดเร็ว และข้อผิดพลาดที่น้อยลง ส่งผลให้บริษัทลดค่าใช้จ่ายจากการนำไปแก้ไข้หรือชดเชยสิ่งที่ผิดพลาด ช่วยเพิ่ม loyalty ของพนักงาน และลูกค้าต่อองค์กร