เมื่อโรคระบาดที่ยืดเยื้อ ปัจจัยสี่ก็ต้านไม่อยู่

.
หนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีขนาดใหญ่ และเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศเลยก็ว่าได้ นั่นก็คือ อุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร เนื่องจากเป็นต้นทางและแหล่งวัตถุดิบสำคัญของหลาย ๆ อุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบเชื่อมโยงกัน
.
ปีที่ผ่านมานี้ ยังคงเป็นปีที่หลายอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบจากโรคระบาดอันยาวนาน และถึงแม้เรื่องของอาหาร จะเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่สำคัญทั้งของผู้บริโภคและหลายอุตสาหกรรม แต่ในช่วง 9 เดือนของปี 2564 ที่ผ่านมาภาพรวมอุตสาหกรรมเกตรและอาหารกลับมีการปรับตัวลดลงเล็กน้อย
.
โดยข้อมูลจาก SET พบว่าบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 56 ราย มีรายได้รวมกว่า 901,928.64 ล้านบาท ลงลด 0.52% จาก 9 เดือนของปี 2563 ที่มีรายได้ 906,611.56 ล้านบาท
.
ซึ่งหากแบ่งดูออกเป็น 2 กลุ่มแล้ว สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร มีบริษัททั้งหมด 45 ราย มีรายได้รวมอยู่ที่ 754,940.66 ล้านบาท ลดลง 7.40% เนื่องจากที่ผ่านมามาตรการเข้มงวดต่าง ๆ จากสถานการณ์โควิด-19 ยังคงเป็นอุปสรรคต่อห่วงโซ่อุปทาน มีผลทำให้การผลิตและการขนส่งต้องหยุดชะงัก
.
ปัจจัยดังกล่าวจึงเป็นต้นทุนมหาศาลที่มีผลต่อกำไรอีกด้วย โดยกำไรสุทธิของกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารอยู่ที่ 17,461.14 ล้านบาท หดตัวลง 36.90% จากช่วง 9 เดือนแรกปี 2563
.
ซึ่งบริษัทที่มีรายได้สูงสุดเป็นอันดับหนึ่งในกลุ่ม คือ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF
.
ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา มีรายได้รวม 378,455.03 ล้านบาท ลดลง 14.90% และกำไรสุทธิอยู่ที่ 6,308.43 ล้านบาท ลดลงมากถึง 67.84% สาเหตุหลักมาจากมาตรการปิดเมืองเพื่อควมคุมการระบาดของโรค ทำให้มีผลกระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค และต้นทุนในการดำเนินงานของบริษัท
.
สำหรับอัตรากำไรสุทธิอยู่ที่ 2.18% ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันในปีที่แล้วมากถึง 65.94% แต่อย่างไรก็ตามถือว่าบริษัทยังมีอัตรากำไรสุทธิสูงมากกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารที่หดตัว -0.09% หมายความว่าแม้บริษัทจะต้องแบกรับค่าใช้จ่าย และต้นทุนจำนวนมาก แต่ก็ถือว่ายังรักษาระดับผลงาน และจัดการบริหารการเงินได้ดี
.
ในส่วนของอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) อยู่ที่ 6.38% ลดลงจากปีที่แล้วในช่วงเวลาเดียวกันที่ 13.28% คิดเป็น -51.96% อย่างไรก็ตามยังถือว่าสูงกว่าในกลุ่มที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.96%
.
ประกอบกับการพิจารณาดูในผลอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (D/E) อยู่ที่ 1.93 เท่า ลดลงจากปีที่แล้ว ที่มีอัตรา 2.11 เท่า ลดลงราว 8.53% แต่ยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มซึ่งอยู่ 1.75 เท่า
.
ซึ่งเป็นไปได้ว่าอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) ที่มีค่าที่สูงนั้น อาจไม่ใช่ผลดีเท่าไหร่นัก เพราะในส่วนของหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (D/E) ค่อนข้างสูงกว่าค่าเฉลี่ยในกลุ่ม ซึ่งต่อให้มีกำไรค่อนข้างสูง แต่ก็มีความเสี่ยงก็ต้องแบกรับกับค่าใช้จ่ายไปกับการชำระดอกเบี้ยที่สูงกว่าเช่นกัน
.
สำหรับอัตราส่วนสภาพคล่อง (Current Ratio) อยู่ที่ 1.13 เท่า ถือว่าบริษัทฯ มีสินทรัพย์หมุนเวียนมากพอที่สามารถชำระหนี้ระยะสั้นได้
.
“อย่างไรก็ตามในภาพรวมผลประกอบการแล้ว CPF ถือว่าเป็นบริษัทที่ยังรักษาผลงานได้ดีจากปีที่แล้ว แม้ว่าจะต้องเจอกับแรงกดดันจากหลาย ๆ ปัจจัย แต่ยังคงสามารถกินส่วนแบ่งตลาดสูง และในส่วนของรายได้ทิ้งห่างอันดับ 2 ของกลุ่มอย่าง บมจ. ไทยยูเนี่ยน หรือ TU มากถึง 266.96%”
.
ที่นี้เราขยับมาดูในส่วนของ กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตร กันบ้าง โดยมีบริษัททั้งหมด 11 รายใน SET มีรายได้ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมามีรายได้รวม 146,987.98 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 60.99% ในช่วงเวลาเดียวกันจาก 91,304.45 ล้านบาท กำไรสุทธิ 17,397.64 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมากถึง 207.72%
.
ถือเป็นตัวเลขการเพิ่มขึ้นที่น่าสนใจ เนื่องจากตั้งแต่ช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา ผลกระทบจากน้ำท่วม ได้สร้างความเสียหายต่อเกษตรกรผู้ปลูกข้าวไม่น้อย ในขณะเดียวกันสินค้าเกษตรอื่น ๆ มีแนวโน้มอุปทานขยายตัวเพิ่มขึ้น จากปริมาณน้ำฝนที่มากพอสำหรับการทำเกษตร ส่งผลให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในพื้นที่ และทำให้ภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องได้รับอานิสงส์ไปด้วย
.
โดยตัวที่โดดเด่นที่สุดในกลุ่ม คือ บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) หรือ STA
ธุรกิจยางธรรมชาติ
.
ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา มีรายได้รวม 90,317.61 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563 มากถึง 82.46% และกำไรสุทธิ 14,232.99 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 252.98% โดยปัจจัยมาจากราคาขายเฉลี่ยของยางธรรมชาติปรับตัวอยู่ในระดับสูง และปริมาณอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของผู้บริโภค ซึ่งถึงแม้ราคาขายเฉลี่ยของบริษัทฯ สูงกว่าราคายางธรรมชาติในตลาดโลก แต่บริษัทฯ ก็ยังสามารถทำยอดขายได้ดี
.
สำหรับอัตรากำไรสุทธิอยู่ที่ 26.3% ถือว่าบริษัทมีการจัดการควบคุมต้นทุนและเพิ่มยอดขายได้ดี เนื่องจากสูงกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมเกษตรอยู่มาก ซึ่งอยู่ที่ 12.17%
.
นอกจากนี้อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) อยู่ที่ 49.16% สูงค่าเฉลี่ยในกลุ่ม 31.55% ประกอบกับอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (D/E) อยู่ที่ 0.63 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่ม 0.67 เท่า แสดงให้เห็นถึงการบริหารการเงินที่ค่อนข้างดีของบริษัทฯ เพราะมีอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้นสูง ในขณะเดียวกันอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นต่ำ หมายความว่าบริษัทให้ผลตอบแทนสูง และมีความเสี่ยงต่ำในการแบกภาระหนี้สิน หรือดอกเบี้ย
.
ด้านอัตราส่วนสภาพคล่อง (Current Ratio) 2.38 เท่า ถือว่าบริษัทฯ ค่อนข้างมีสภาพที่ดี และสามารถชำหนี้ในระยะสั้นได้
.
“เรียกได้ว่าในช่วงที่สถานการณ์โรคระบาด สภาพเศรษฐกิจ และภัยพิบัติทางธรรมชาติไม่ค่อยเป็นใจ มีผลทำให้ภาพรวมของอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารไม่ค่อยสู้ดีนัก แต่ในบางธุรกิจก็ยังสามารถประคองให้ผลประกอบการอยู่ในระดับที่ค่อนข้างดีทีเดียว อย่างไรก็ตามยังมีในส่วนของ พีชเศรษฐกิจใหม่ และ โปรตีนจากพีช ที่กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก บวกกับการส่งออกที่อาจมีขยายตัวเล็กน้อยจากสถานการณ์โรคระบาดที่เริ่มคลี่คลายและสภาพเศรษฐกิจที่ค่อย ๆ ฟื้นตัว ซึ่งถือว่าจะเป็นท้าทายที่ต้องจับตามองกันต่อไป”
.
เขียนและเรียบเรียง : ธนัญญา มุ่งสันติ
.
ข้อมูล : SET
.
ติดตาม Business+ ได้ที่ thebusinessplus.com
Line Business+ ได้ที่ https://lin.ee/pbIHCuS
.
#Businessplus #Business+ #นิตยสารBusinessplus #เศรษฐศาสตร์ #เกษตรและอาหาร