ค่าใช้จ่ายของครอบครัว มีหนี้ vs ไม่มีหนี้

การก่อหนี้ครัวเรือนไทย มาจากสาเหตุหลายปัจจัย เช่น วินัยในการออม การเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่าย รวมถึงการไม่เคยวางแผนทางการเงิน ทั้งนี้ ธปท. ร่วมกับ Nielsen ดำเนินการสำรวจครัวเรือนตัวอย่างจำนวน 1,500 ครัวเรือน ทั่วประเทศในระหว่างเดือน ก.ค. – ส.ค. 2560 ภายใต้ ชื่อ ‘โครงการสำรวจศึกษาปัญหาหนี้สินของภาค ครัวเรือนไทยและนัยเชิงนโยบาย’ หรือ ‘BOTNielsen Household Financial Survey’

 

ทั้งนี้ ได้วิเคราะห์ความแตกต่างของพฤติกรรมการใช้จ่ายของครัวเรือนไทย โดยควบคุมปัจจัยต่าง ๆ ให้คงที่ เช่น รายได้ สินทรัพย์ทางการเงิน จำนวนสมาชิกในครอบครัว เป็นต้น โดยใช้วิธีการทางเศรษฐมิติ ค้นพบตัวเลขที่น่าสนใจ ดังต่อไปนี้

 

1. ครอบครัวมีหนี้ VS ครอบครัวไม่มีหนี้

 

ผลการศึกษาพบว่า ครอบครัวที่มีหนี้มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มที่ไม่มีหนี้กว่า 7% โดยพบว่า

 

  • ค่าโทรศัพท์สูงกว่า 140%
  • ค่าใช้จ่ายในการเดินทางสูงกว่า 405%
  • ค่าซ่อมรถสูงกว่า 178%

 

2. ครอบครัวที่มีหนี้  มีปัญหาในการชำระหนี้ VS ไม่มีปัญหาการชำระหนี้

 

สำหรับครอบครัวที่มีปัญหาในการชำระหนี้มีค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยสูงกว่าครอบครัวที่ไม่มีปัญหาสูงกว่า 20% โดยพบว่า

 

  • ค่าใช้จ่ายเพื่อความบันเทิงสูงกว่า 320%
  • ค่าเสื้อผ้าสูงกว่า 470%
  • ค่ารักษาพยาบาลสูงกว่า 268%

 

จากตัวเลขสะท้อนให้เห็นถึงอะไร?

 

  • การให้ความสำคัญกับการหน้าตาทางสังคม โดยโมเดลดังกล่าวได้เพิ่มปัจจัยควบคุมด้านมูลค่ารถยนต์เข้าไป กลับไม่พบความแตกต่างเรื่องค่าซ่อมรถ แสดงว่าครัวเรือนที่มีหนี้มีรถยนต์ที่มีราคาสูงกว่าโดยเฉลี่ย ซึ่งไม่ได้คำนึงถึงรายได้ทั้งหมดของตน
  • เมื่อพิจารณาจำนวนผู้สูงอายุในครัวเรือน ไม่พบความแตกต่าง แสดงว่าครัวเรือนที่มีปัญหา นอกจากมีพฤติกรรมการใช้จ่ายที่ไม่ระมัดระวังแล้ว ยังมีค่ารักษาพยาบาลสูงที่มาจากการมีผู้สูงอายุด้วย

 

หนี้ครัวเรือน

 

แนวทางการแก้ปัญหา

 

  • ความมีวินัยทางการเงินเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องปลูกฝังตั้งแต่วัยเยาว์ โดยต้องเริ่มต้นจากครอบครัวเป็นอันดับแรก
  • การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จำเป็นต้องเตรียมวางแผนทางการเงิน และหมั่นดูแลสุขภาพ ทั้งนี้การทำประกันสุขภาพ และประกันชีวิตจะตั้งแต่แรก จะช่วยสร้างความคุ้มครองในกรณีที่เจ็บป่วย และไม่ต้องกังวลกับค่าใช้จ่ายในการรักษา
  • เริ่มต้นวางแผนการออมให้เหมาะสมกับความเสี่ยงที่เรารับได้ เช่น หากเรากลัวรับความเสี่ยงน้อย โดยเราสามารถฝากประจำ หรือออมกองทุนรวมตราสารหนี้  ซึ่งหากเรารับความเสี่ยงได้มากขึ้นโดยสามารถลงทุนในตราสารทุน หรือหุ้น เพื่อฐานะทางการเงินที่มั่นคงในระยะยาว

 

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าหลายภาคส่วนทั้งรัฐบาล และภาคเอกชน จะพยายามส่งเสริมความรู้ทางการเงิน และมาตรการดูแลสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ เพราะการประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน จะต้องเริ่มต้นจากสาเหตุที่แท้จริง ซึ่งมาจากการไร้ซึ่งวินัยทางการเงิน โดยมาจากการใช้เงินเกินฐานะของตน ทั้งนี้ เราจะต้องเริ่มต้นวางแผนทางการเงิน และจะต้องใช้จ่ายน้อยกว่าที่หา เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาหนี้ครัวเรือนตามมา อันส่งผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในระยะยาว