ลดเค็ม ลดโรค

รู้หรือไม่ว่าบางคนอาจติดพฤติกรรมการกินเค็มโดยไม่รู้ตัว อันมาจากพฤติกรรมเพิ่มความเค็มของอาหารเข้าไปตามความเคยชิน ซึ่งอาหารโดยทั่วไปมีการปรุงรสโดยใส่น้ำปรุงรสที่มีความเค็มตั้งต้นอยู่แล้ว เมื่อเราเหยาะน้ำปลาหรือซอสปรุงรสอื่นเพิ่ม นั่นเท่ากับว่าเรากำลังเพิ่มภาระให้กับร่างกาย เราเป็นสาเหตุที่เราต้อง ลดเค็ม ลดโรค 

ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม ให้ข้อมูลว่า คนไทยติดเค็มจากวัฒนธรรมการกินที่เปลี่ยนไป และการออกกำลังกายที่น้อยลง ขณะที่อาหารยอดนิยมของทุกภูมิภาคมีปริมาณโซเดียมสูง ซึ่งการ ลดเค็ม ลดโรค จะทำให้คนไทยมีสุขภาพที่ดีขึ้น

ลดเค็ม ลดโรค
ภาพจาก https://www.matichon.co.th/local/news_205129

โซเดียมคืออะไร

โซเดียม มีอยู่ในอาหารแทบทุกประเภท ซึ่งเกลือคือสารประกอบที่มีโซเดียมร้อยละ 40 ดังนั้นเมื่อพูดถึงเกลือ 1 กรัม จึงหมายถึง โซเดียม 0.4 กรัม และเครื่องปรุงรสต่าง ๆ ที่เราใช้ทำอาหารก็มักจะมีเกลือเป็นส่วนผสมอยู่ จึงเท่ากับว่าความเค็มเท่ากับโซเดียมนั่นเอง

อีกทั้ง โซเดียมยังเป็นแร่ธาตุอิเล็กโทรไลต์ ซึ่งเป็นแร่ธาตุสำคัญที่เกี่ยวกับสมดุลน้ำของร่างกาย มีความสำคัญต่อการทำงานของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ และช่วยควบคุมระดับความดันโลหิต ซึ่งเราจะได้รับโซเดียมจากการรับประทานอาหารเป็นหลัก

อีกทั้งร่างกายก็ไม่สามารถขาดโซเดียมได้ สำหรับคนที่มีปริมาณโซเดียมในเลือดต่ำกว่าปกติ ก็จะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ กล้ามเนื้อกระตุก อ้อนล้าหมดแรง ซึมลง คลื่นไส้อาเจียน โดยอาจเกิดอาการเหล่านี้ขึ้นจากการเสียน้ำ ดื่มน้ำมากเกินไป หรือฮอร์โมนผิดปกติ เป็นต้น

ลดเค็ม ลดโรค

เค็มเกินไปจะเกิดอะไรขึ้น?

การบริโภคโซเดียมปริมาณมาก เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคอัมพฤกษ์อัมพาต นอกจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังข้างต้นแล้ว ยังเพิ่มการรั่วของโปรตีนในปัสสาวะ และส่งผลโดยตรงต่อไต อีกทั้งยังทำให้หัวใจทำงานหนักก่อให้เกิดภาวะหัวใจวาย ซึ่งปัจจุบันคนไทยบริโภคโซเดียมสูง 2-3 เท่าของปริมาณที่ร่างกายต้องการ

เค็มแค่ไหนจึงจะพอดี

ไม่ควรรับประทานโซเดียมเกิน 2,000 มิลลิกรัม หรือ 1 ช้อนชา ต่อวัน หรือหากเปลี่ยนจากเกลือเป็นน้ำปลา ก็ไม่ควรรับประทานน้ำปลาเกินวันละ 4 ช้อนชา สำหรับผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันสูง ควรลดโซเดียมเหลือเพียง 3 ส่วน เท่ากับประมาณ 4 ช้อนชาต่อวัน หรือไม่เกิน 1,500 มิลลิกรัม

 

ตัวอย่างปริมาณโซเดียมในเครื่องปรุงรส

ปลาร้า 100 กรัม = โซเดียม 4,000 – 6,000 มิลลิกรัม

กะปิ 1 ช้อนชา = โซเดียม 500 มิลลิกรัม

ซีอิ๊ว 1 ช้อนโต๊ะ = โซเดียม 692-1,420 มิลลิกรัม

น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ = โซเดียม 1,160 – 1,420 มิลลิกรัม

(ข้อมูลจากงานวิจัยการสร้างฐานข้อมูลวัตถุดิบอาหารและเครื่องปรุงรสอาหารท้องถิ่น โดยสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล)

 

ลดเค็ม ลดโรค

ลดเค็ม ลดโรค อย่างไร ให้ยัง Enjoy Eating

เมื่อเราติดรสชาติใดรสชาติหนึ่งไปนาน ๆ ลิ้นจะมีการปรับตัวจนเคยชินกับรสชาตินั้น ๆ ไป จนทำให้การปรับรสชาติทันทีทันใดอาจจะเป็นเรื่องทรมานความรู้สึกอยู่ไม่น้อย สิ่งที่ทำได้แบบที่เซฟความรู้สึกตัวเองที่สุด ก็คือลดการปรุงเค็มลงทีละน้อย เพื่อให้ลิ้นค่อย ๆ ปรับรสชาติ 

โดยสามารถเริ่มต้นที่การรับประทานก๋วยเตี๋ยวแบบปรุงรสอ่อน ๆ ลดระดับการใส่น้ำปลา เกลือ ซีอิ๊ว และเครื่องปรุงรสให้น้อยลง

อีกทั้งการลดปริมาณการกินอาหารที่มีรสชาติเค็มนำให้น้อยลงก็สามารถช่วยได้ เป็นการดูแลสุขภาพมากขึ้น โดยที่ยังมีความสุขกับการกินได้อยู่นั่นเอง

 

ขอบคุณข้อมูลจาก Rama Channel 

https://med.mahidol.ac.th

ลดเค็ม ลดโรค