พี่น้องพันล้าน กับก้าวที่ท้าทายของ PEAK จากแบรนด์จีนสู่ No.1

ย้อนกลับไปเมื่อ 5 ปีที่แล้ว แฟนแฟนกีฬาบาสเกตบอลในไทยแทบไม่มีใครเคยได้ยินชื่อแบรนด์รองเท้าบาสเกตบอลสัญชาติจีนดีกรีไม่ธรรมดา เพราะนักกีฬาระดับสตาร์ของ NBA อาทิ เจสัน คิดด์, โทนี พาร์กเกอร์, เชน บาติเย่, จอร์จ ฮิลล์ ฯลฯ และทีมชาติหลาย ๆ ประเทศให้การยอมรับ อย่างแบรนด์ PEAK

PEAK

แต่สิ่งที่น่าสนใจกว่าการเจาะอเมริกาและยุโรปของแบรนด์จีนคือการเข้ามาของแบรนด์ PEAK ในประเทศไทยกับเป้าหมายใหญ่ No.1 ภายใต้การดูแลของ ธนาคม รัชตโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สปอร์ต แพสชั่น อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด ตัวแทนนำเข้ารองเท้าแบรนด์ PEAK รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย

เส้นทางของรองเท้าแบรนด์ PEAK ในประเทศไทยต้องย้อนกลับไปเมื่อปลายปี 2555 หลังจากธนาคม รัชตโรจน์ นักธุรกิจหนุ่มไฟแรงดีกรีปริญญาโท วิทยาลัยการจัดการมหิดล ทายาทธุรกิจจิวเวลรี่ที่มีความฝันอยากปลุกปั้นธุรกิจเกี่ยวกับกีฬาซึ่งเป็นความชอบส่วนตัว โดยเฉพาะรองเท้ากีฬา
ซึ่งตลาดรองเท้ากีฬาที่ได้รับความนิยมอยู่ในขณะนั้นอย่างรองเท้าวิ่งและฟุตบอลมีผู้เล่นในตลาดจำนวนมาก ทั้งอินเตอร์แบรนด์และโลคอลแบรนด์ แต่ตลาดรองเท้ากีฬาบาสเกตบอลกลับเป็นตลาดเล็ก ๆ ที่แบรนด์ใหญ่ ๆ ไม่ให้ความสำคัญและมีผู้เล่นอยู่ไม่กี่แบรนด์ ช่องว่างทางการตลาดตรงนี้ทำให้ธนาคมเริ่มศึกษาตลาดรองเท้าบาสเกตบอลที่ครั้งหนึ่งเคยพุ่งทยานไปแตะอันดับ 2 ก่อนจะร่วงลงมานี้อย่างจริงจัง

ปักธงแบรนด์ PEAK

PEAK

รูปแบบ สีสัน ความสวยงาม และคุณภาพ คือสิ่งที่ธนาคมสัมผัสได้จาก PEAK นำมาสู่การศึกษาข้อมูลของแบรนด์ระดับโลกสัญชาติจีนแบรนด์นี้ ก่อนจะหอบแผนธุรกิจเข้าไปเสนอกับบริษัทแม่จนได้รับสิทธิการนำเข้าตั้งแต่ปลายปี 2555 เจ้าเดียวในประเทศไทย โดยตั้งเป้าไว้ที่อันดับ 3 เพราะตลาดนี้มีผู้เล่นหลัก ๆ ในตลาดเพียงแค่ 3 แบรนด์เท่านั้น

ในช่วงแรกของการทำแบรนด์ในประเทศไทย ธนาคมยอมรับว่าค่อนข้างยาก เพราะคนยังติดภาพลักษณ์ของจีนและที่สำคัญคือ คนไทยติดแบรนด์ ถ้าไม่รู้จัก ไม่ได้ลอง คนไทยจะซื้อยาก นั่นหมายความว่าคนไทยติดรอยัลตี้ของแบรนด์คู่แข่งซึ่งเป็นแบรนด์ระดับโลก

PEAK

และเมื่อมองกลับมาที่ PEAK ธนาคมก็รับรองว่า PEAK เองก็มีนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีที่สามารถแข่งขันในระดับเดียวกันได้ ไม่ว่าจะเป็นระบบ Cushion-3, FootHold และ Gradient Dual ซึ่งทำให้ PEAK มีคุณสมบัติเด่น 3 ด้าน คือ นุ่ม เบา ทน

ดังนั้นเพื่อสร้างการรับรู้ โมเดลที่ถูกนำมาใช้คือการตลาดออนไลน์ และการตลาดทางตรง โดยเฉพาะการออกบูธในงานแสดงสินค้าที่เกี่ยวกับกีฬาเป็นหลัก กระทั่งลูกค้าให้ความสนใจในรูปลักษณ์และความคงทน โดยเฉพาะอายุการใช้งานที่เทียบกับอินเตอร์แบรนด์ถึง 1-2 เท่า ส่งผลให้ยอดติดตามเฟชบุ๊กเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่สินค้าเป็นที่พูดถึงและมีเสียงตอบรับล้นหลาม รวมทั้งเป็นที่สนใจของบรรดาห้างต่าง ๆ และกลุ่มคนที่สนใจเป็นตัวแทนจำหน่าย ทำให้แบรนด์ PEAK มีความแข็งแรงมากพอ จุดนี้เองทำให้ธนาคมมองถึงการเปิดชอปในรูปแบบโชว์รูมอย่างจริงจัง

PEAK

“ตอนนี้เราพอใจในผลงานระดับหนึ่ง เพราะเราเริ่มต้นจากที่คนยังไม่รู้จัก แต่ตอนนี้พอพูดถึงบาสเกตบอล คนก็เริ่มติดชื่อเราแล้ว คนรู้จักแบรนด์มากขึ้น แต่เรายังมีโอกาสที่จะทำให้คนรู้จักในเชิงกีฬามากขึ้น”

และในปีที่ 2 ของ PEAK ธนาคมต้องการสร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์ PEAK ในด้านการตลาดที่ฉีกกฎจากแบรนด์อื่นที่มักจะดึกนักกีฬา NBA มาเป็นพรีเซนเตอร์ ด้วยการสร้างไอดอลขึ้นมาเอง ภายใต้โปรเจ็กต์ Full Fill your Basketball Experience เติมเต็มประสบการณ์บาสแบบครบวงจร โดยการจัดการแข่งขันบาสเกตบอล 3×3 จัดแคมป์พาเยาวชนไปฝึกทักษะการเล่นบาสเกตบอลในต่างประเทศ โดยมีนักกีฬา NBA เป็นโค้ช นอกจากนี้ยังได้ พบปะพูดคุยกับนักบาสเกตบอลทีมชาติอย่างใกล้ชิด ซึ่งธนาคมเชื่อว่าเป็นการตลาดที่จับต้องได้ ซึ่งก็ได้รับผลการตอบรับที่ดีเกินคาด

“มูลค่าตลาดรองเท้ากีฬาในประเทศไทยอยู่ที่ประมาณ 5 พันล้านบาท แต่เราไม่ได้เน้นเรื่องของตัวเลขจำนวนเยอะอยู่แล้ว เราต้องการเน้น 3 เรื่อง คือ 1. Passion 2. การทำให้วงการบาสเกตบอลโตขึ้น 3. เราอยากให้คนได้ใช้ของคุณภาพดีในราคาที่เหมาะสม แต่ว่าตัวเลขตรงนี้ต้องเข้ามาช่วยด้วยเหมือนกัน ตอนแรกเราตั้งเป้าไว้ที่เบอร์ 3 แต่ปีนี้เราตั้งเป้าจะเป็นเบอร์ 1 ในตลาดบาสเกตบอลในประเทศไทยให้ได้”

นอกเหนือจากรองเท้าบาสเกตบอลแล้ว ธนาคมยังมีแผนนำสินค้าอื่นภายใต้แบรนด์ PEAK เข้ามาทำตลาดในประเทศไทย โดยจะเน้นไปที่รองเท้าวิ่งและลำลอง โดยชูจุดเด่นของแบรนด์ในเรื่องของความนุ่มเบา ราคาถูก จับตลาดกลุ่มคนที่เริ่มออกกำลังกาย รวมถึงคนที่ต้องการรองเท้ากีฬาที่สามารถสวมใส่หลังจากเล่นกีฬาได้ทันที รวมทั้งไลน์สินค้าที่เป็นแอกเซสซอรี ทั้งชุดออกกำลังกาย ถุงเท้า รองเท้า กางเกง ชุดชั้นใน และกระเป๋าอีกด้วย

เฮาส์แบรนด์ เติมไลน์สปอร์ต แพสชั่น

PEAK
นอกเหนือจากแบรนด์ PEAK แล้ว บริษัท สปอร์ต แพสชั่น อินเตอร์กรุ๊ป จำกัดยังมีแผนที่จะเติมเต็มธุรกิจเกี่ยวกับกีฬาอย่างครบวงจร ด้วยการดีเวลอปเฮาส์แบรนด์เป็นของตัวเอง ภายใต้แบรนด์สปอร์ต แพสชั่น โดยชูความเป็น Passion และเน้นความเป็นแบรนด์ของคนรุ่นใหม่

“สินค้าบางตัวเราก็ยังเป็นแค่ผู้จัดจำหน่าย แต่หลังจากนี้เราจะเป็นเจ้าของแบรนด์เองโดยต่อยอดจากเฮาส์แบรนด์ในชื่อแบรนด์สปอร์ต แพสชั่น ซึ่งเป็นเสื้อผ้า แอกเซสซอรีที่เกี่ยวกับการออกกำลังกาย ฟิสเนต และพวกซัพพอร์ต เช่น น้ำยาดับกลิ่น ตอนนี้ผมคิดว่าอะไรที่เกี่ยวข้องและทำไปด้วยกันได้ โดยเฉพาะ FootBalance เป็นบริการที่ลิงก์เข้ากับรองเท้า ซึ่งเรากำลังดีเวลลอป”

โดย New Business Model นี้จะมีแบรนด์ PEAK เป็นเรืองธง และมีธุรกิจ FootBalance ซึ่งเดิมเป็นเพียงบริการหนึ่งที่ซัพพอร์ต PEAK แตกออกมาเป็นอีกหนึ่งธุรกิจ รวมไปถึงการแตกไลน์บริการในเรื่องของการจัดอีเวนต์และแคมป์ที่เชื่อมระหว่างวิชาการกับกีฬาเข้าด้วยกัน

ส่วนในระยะยาว สปอร์ต แพสชั่นตั้งเป้าที่จะเป็นแบรนด์ที่คนนึกถึงเมื่อพูดถึงแบรนด์กีฬา รวมทั้งผันตัวเป็นผู้ผลิตและขยายตลาดไปต่างประเทศ ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการขอสิทธิ์นำแบรนด์ PEAK เข้าไปทำตลาดในประเทศลาวและเมียนมาอีกด้วย

FootBalance ธุรกิจใหม่มูลค่าสูง

PEAK
จิตริณี รัชตโรจน์ ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ FootBalance ประเทศไทย ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์และการสื่อสารการตลาด เปิดเผยถึงธุรกิจ FootBalance ว่า เดิม FootBalance หรือเครื่องผลิตแผ่นรองเท้าเฉพาะบุคคลเป็นเพียงแอกเซสซอรีที่เข้ามาเสริมธุรกิจในส่วนของ PEAK เพื่อเสริม Value Ad ในร้านให้มากกว่าการซื้อของให้แก่ลูกค้า ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่จากฟินแลนด์ที่ยังมีให้เห็นไม่มากในเมืองไทย และสามารถสร้างมูลค่ารวมทั้งต่อยอดไปในธุรกิจอื่น ๆ ได้ ดังนั้น บริษัทจึงมีความพยายามแตกไลน์ FootBalance ออกมาเป็นอีกหนึ่งธุรกิจ

ซึ่งถ้าหากมองไปถึงข้อได้เปรียบของ FootBalance คือสามารถเปิดร้านได้เลย โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีสินค้ารอบข้าง ในลักษณะของการเป็นสินค้าและบริการในตัว ซึ่งในส่วนของผู้บริการเองไม่ได้มอง FootBalance ว่าเป็นเพียงแผ่นรองเท้าเท่านั้น แต่ยังมองไปถึงเข่า แผ่นหลัง และคอ ซึ่งเครื่อง FootBalance สามารถสร้างผลิตภัณฑ์เหล่านี้ออกมาเป็นรุ่นแรกของธุรกิจภายใต้แบรนด์สปอร์ต แพสชั่น

สำหรับ FootBalance เปิดบริการมาได้เพียง 1 ปี แต่ได้รับการตอบรับจากลูกค้าที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพ โดยเริ่มจากการการเปิดสาขาที่ดิ เอ็มโพเรียม รวมทั้งทำการตลาดผ่านโซเชียลมีเดียเพื่อสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายในแวดวงกีฬา และไลฟ์สไตล์ ตลอดจนสายการแพทย์

PEAK

“จริง ๆ แล้วแผ่นรองเท้าสำคัญมากกว่าตัววัสดุภายนอกของรองเท้า เพราะแผ่นรองเท้าคือจุดที่เป็นหัวใจของรองเท้า ในช่วงแรก ๆ เราต้องพยายามปรับทัศนคติให้กับลูกค้าใหม่เรื่อย ๆ ว่าแผ่นรองเท้าที่ตัดตามเท้าของคุณจะช่วยส่งผลให้คุณในระยะยาว แต่ต้องแลกมาด้วย Budget ที่เยอะพอสมควร เพราะฉะนั้น กลุ่มคนที่ซื้อต้องกลับมาเป็นกลุ่มที่ไลน์อัพกีฬา”

แต่ด้วยข้อจำกัดในเรื่องของราคาที่ค่อนข้างสูง ประกอบกับคนไทยยังมองแผ่นรองเท้าว่าเป็นเพียงแค่แอกเซสซอรีที่ไม่ได้มีความสำคัญมาก ทำให้กลุ่มเป้าหมายและลูกค้าของตลาดนี้ยังค่อนข้างจำกัด ดังนั้นสปอร์ต แพสชั่นจึงต้องเลือกกลุ่มลูกค้าในการทำการตลาดในกรุงเทพฯ ซึ่งในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา FootBalance มีการปรับในเรื่องของ Satisfy และ Passion ของลูกค้า รวมทั้งการ Follow Up เก็บข้อมูลลูกค้าในเครื่อง รวมทั้งการหาลูกค้าในรูปแบบของเมมเบอร์ ซึ่งปัจุบันมีเกือบ 500 ล้านในระบบ

“เป้าหมายหลักของ FootBalance ที่สปอร์ต แพสชั่นวางไว้คือ Stand Alone ที่แยกออกมาเป็น Station หนึ่งที่เน้นในเรื่องของแอกเซสซอรี นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะสร้างโลคอลแบรนด์ เช่น ถุงเท้า ภายใต้คอนเซ็ปต์ Make Your Life Better ทำชีวิตของคุณดีขึ้นทุกวัน”