พนันออนไลน์

จิตแพทย์เตือน e -Sport เสี่ยงทำเด็กไทย ติดพนัน-พนันออนไลน์

สถานการณ์ปัญหาการพนันและ พนันออนไลน์ ในปัจจุบันเป็นเรื่องที่น่าห่วงอย่างมากเฉพาะในเด็กและเยาวชนไทย ที่ทุกวันนี้สามารถเข้าถึงเว็บไซต์และแอปพลิเคชันที่เข้าข่ายเป็นการพนันออนไลน์ ได้ง่ายจนน่าเป็นห่วง

พนันออนไลน์ – ผลสำรวจจากหนังสือกลไกเชิงพื้นที่ในการป้องกันและลดผลกระทบจากการพนัน : บทเรียนทรงพลัง เปิดเผยตัวเลขที่น่าตกใจว่า ปัจุบันประเทศไทยมีเด็กและเยาวชนเล่นการพนันสูงถึงร้อยละ36.9 หรือ 3,649,303คน แบ่งเป็นผู้ชาย 2,048,874 คน ผู้หญิง 1,600,429 คน และในจำนวนนี้กว่า 1 แสนคนติดหนี้พนัน รวมๆกันแล้วกว่า 335 ล้านบาท หรือเฉลี่ยที่รายละ 3,512 บาท

พนันออนไลน์

แต่ก็ไช่ว่าผู้ใหญ่ในสังคมโดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) ร่วมกับ สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย สถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย โดยความร่วมมือจาก กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จะนิ่งนอนใจ

เพราะในช่วง1 ทศวรรษที่ผ่านมา หลายภาคส่วนทั้งภาครัฐ ประชาสังคม และกลุ่มนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญก็ทำงานร่วมกันอย่างหนักหน่วงในการจัดการเว็บไซต์และแอปพลิเคชันที่เข้าข่ายเป็นการพนันออนไลน์ เพื่อไม่ให้เด็กและเยาวชนไทยหลงเข้าไปวงจรเล่นการพนันและติดการพนัน มาอย่างต่อเนื่อง และจริงจังมากขึ้นในระยะ ๑ ปีมานี้ จนมีทิศทางในการป้องกันได้ดีและมากขึ้นเรื่อยๆ

เพราะนอกจากจะสามารถสร้างเครือข่ายเพื่อป้องกันและลดผลกระทบได้แล้ว ยังสามารถผลักดันจนเกิด “ร่างแผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและลดผลกระทบเด็กและเยาวชนจากการพนันออนไลน์ พ.ศ.๒๕๖๓ – ๒๕๖๙” จาก 3 คณะทำงาน ได้แก่ คณะทำงานยกร่างแผนการป้องกันและลดผลกระทบเด็กและเยาวชนจากการพนันออนไลน์ คณะอนุกรรมการส่งเสริมการปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนในการใช้สื่อออนไลน์ และคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ

พนันออนไลน์

แถมยังหาเจ้าภาพมาขับเคลื่อนในเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงศึกษา กระทรวงมหาดไทย เพื่อใช้เป็นแนวทาง ตั้งกลไก ในการควบคุม จัดการปัญหา และช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการพนันและการพนันออนไลน์ ซึ่งมีสาระสำคัญ5ยุทธศาสตร์ ได้แก่

ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การผลักดันประเด็นการรู้เท่าทันพนันออนไลน์เป็นวาระแห่งชาติ
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การสร้างและพัฒนาให้เกิดกลไกในกำกับของรัฐเพื่อทำหน้าที่ บูรณาการความร่วมมือในการดำเนินงาน ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การสร้างองค์ความรู้ จัดการความรู้ และเผยแพร่
ยุทธศาสตร์ที่ ๔ การส่งเสริมบทบาทและระดมความร่วมมือของทุกภาคส่วน ในการป้องกัน ลดผลกระทบ ให้คำปรึกษา และบำบัดเยียวยา
และยุทธศาสตร์ที่ ๕ การสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายเฝ้าระวัง และส่งเสริมการบังคับใช้กฎหมาย
แม้ว่าผู้ใหญ่จากหลายๆองค์จะช่วยกันหลักดันจนเกิดยุทธศาสตร์ข้างต้นขึ้นมา แต่ในแง่ปริมาณนักพนันวัยเยาว์ที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นตามเว็บไซต์และแอปพลิเคชันพนันออนไลน์ก็ยังถือว่าน่าเป็นห่วงอยู่ดี

พญ.มธุรดา สุวรรณโพธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พูดถึงประเด็นนี้ว่า การทำงานต่อเนื่องในทศวรรษที่ 2 จะเป็นไปในลักษณะ “เล่นพนันได้ แต่ต้องมีความรับชอบ” ทั้งตัวผู้เล่นและเจ้าของธุรกิจพนันในรูปแบบต่างๆ และเยาวชนเองต้องตระหนักให้มากขึ้น และลุกขึ้นมาเป็นหนึ่งแกนนำในการจัดการปัญหา ในการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กและเยาวชนด้วยกันเอง

” ต้องเรียนว่าจากการศึกษาวิจัยที่ผ่านมา ในส่วนของเยาวชนเขาติดเกมไม่ได้ติดพนัน แต่เกมในปัจจุบันส่วนมากจะมีเรื่องพนันเข้ามาแอบแฝง สมองของวัยรุ่นเองก็มีธรรมชาติที่ชอบเข้าไปหาความเสี่ยง อยู่ตามธรรมชาติ โดยเฉพาะเมื่อเห็นว่าความเสี่ยงนั้นอาจทำให้ได้รางวัล หากว่าสมองของเด็กและวัยรุ่นถูกกระตุ้นด้วยการพนันรูปแบบต่างๆ สมองส่วน Striatum ซึ่งเปรียบเสมือนคันเร่งจะถูกใช้งานบ่อย เปรียบได้ เหมือนเป็นการฝึกฝนตั้งแต่อายุน้อยทำให้ สมองส่วนนี้มีความว่องไวในการทำงานมากขึ้น จนเป็นไปได้ว่าสมองส่วนหน้า PFC : Prefrontal cortex ที่เปรียบเสมือนเบรค ไม่สามารถพัฒนาแข่งขันกับสมองส่วนคันเร่ง ได้ ซึ่งอาจมีผลให้เด็กหรือวัยรุ่นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ขาดวุฒิภาวะอย่างถาวร

ที่น่าจับตาต่อไปคือ อีสปอร์ต (พนันออนไลน์) หรือกิจกรรมการแข่งขันเกม (Game Competition) เพื่อร่วมเพื่อชิงเงินรางวัล ของรางวัล หรือเพื่อเสริมความรู้สึกทางจิตใจ การพนันบนอี-สปอร์ตมีความเสี่ยงที่จะชักนำนักเล่นรายใหม่ ไปสู่การเล่นพนันเช่นเดียวกับการทายผลกีฬาในโลกออนไลน์ ปัญหาคือการที่ผู้เล่นพนันมีความนิยมชมชอบกีฬาอีสปอร์ตหรือเกมอีสปอร์ต ก็จะทำให้มีการแทงพนันกับทีมนั้น เกมนั้น โดยไม่สนใจว่ากำลังเล่นพนันหรือเสพติดพนัน

พนันออนไลน์

ลักษณะการพนันในอี-สปอร์ตมีการเชื่อมโยงเกมและอินเทอร์เน็ตเข้าด้วยกัน สามารถกระทำผ่านอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ ผ่านตัวโปรแกรม แอปพลิเคชัน เป็นกิจกรรมส่วนตัวที่ผู้เล่นสามารถทำได้ทั้งเล่นเกม ซื้อของ สนทนา จ่ายเงิน หรือรับชมการแข่งขันทัวร์นาเมนท์ต่างๆ ไปได้พร้อมกับการแทงพนันได้ทันที และผู้เล่น เกมส่วนมากเป็นเด็กและเยาวชนที่ยังไม่เท่าทัน และตระหนักรู้ว่าเกมหรืออี-สปอร์ตนั้น มีส่วนเชื่อมโยงกับธุรกิจ การพนันออนไลน์”

นอกจากการป้องกันแล้ว งานดูแลและคุ้มครองเด็กและเยาวชนที่ติดพนันก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะองค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดให้พฤติกรรมติดการพนันเป็นความผิดปกติทางจิตชนิดหนึ่งเรียกว่า Pathological Gambling หรือโรคติดพนัน อาการคือแม้ผู้เล่นการพนันจะมีความทุกข์จาก การเล่นพนัน แต่ก็ หยุดไม่ได้ยังคงต้องเล่นต่อไป

ผู้ที่มีปัญหาจากการพนันหรือผู้ติดการพนัน คือผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยตามเกณฑ์ การวินิจฉัยของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน ในทางการแพทย์เรียกว่าโรคติดพนัน(Gambling Disorder) จัดอยู่ในกลุ่มโรคเดียวกับโรคที่เกี่ยวกับสารเสพติด(Substance-related and Addictive Disorders) ที่ภาครัฐอย่าง สธ.และภาคีที่เกี่ยวข้องต้องเข้ามาดูแลแก้ไขอย่างใกล้ชิด

ทั้งนี้ ลักษณะของผู้ติดพนันต้องมีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 4 ข้อ ในระยะเวลา 1ปี คือ หมกมุ่นอยู่กับการเล่นพนัน อยากเล่นมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่สามารถหักห้ามใจ หรือหยุดการเล่นได้ มีอาการหงุดหงิดหากต้องหยุดเล่นหรือไม่ได้เล่น เมื่อมีความไม่สบายใจจะไปเล่นการพนัน เมื่อเสียพนันก็อยากเล่นอีกเพื่อให้ได้เงินคืน

อาจโกหกคนใกล้ชิดหรือแพทย์เรื่องการไปเล่นพนันหรือปกปิดจำนวนเงินที่ใช้ไปในการเล่นพนัน ต้องพึ่งพาผู้อื่นเรื่องเงิน เพราะมีปัญหาการเงินจากการพนัน และมีความเสื่อมถอยในหน้าที่การงาน การเรียน หรือเสียสัมพันธ์กับคนรอบข้างเนื่องมาจากพนัน

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: กฤษฎาพร วงศ์ชัย  (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่