นโยบาย “Common Prosperity” ของจีน กับความเสี่ยงที่ซ่อนอยู่ใน Evergrande

ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา จีนกำลังเข้าสู่การผลักดันนโยบาย “Common Prosperity” โดยความหมายของเจ้านโยบายนี้ก็คือ การลดความไม่เท่าเทียมด้านรายได้ และควบคุมเหล่ามหาเศรษฐี ซึ่งปัญหาพวกนี้มีต้นต่อมาจากการนำเอาระบบทุนนิยมที่ให้ความสำคัญกับผู้ถือหุ้นและคนกลุ่มเล็กเท่านั้นเป็นสำคัญมาใช้ หรือ Shareholder Capitalism (Shareholder Capitalism เป็นแนวคิดจากนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลชาวอเมริกัน “Milton Friedman”) และระบบทุนนิยมในลักษณะนี้ก็จะนำมาสู่ความเหลื่อมล้ำในสังคมและโลกอย่างมากมาย อย่างที่เราเห็นกันตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา

โดยทางนโยบายใหม่ของจีนนี้จะแทนที่ของเดิมด้วยการเน้นไปที่เรื่องของการกินดีอยู่ดีของคนจีนภายในประเทศโดยรวมเป็นสำคัญ หรือ Stakeholder Capitalism (Stakeholder Capitalism เป็นแนวคิดใหม่ที่ Professor Klaus Schwab ผู้ก่อตั้ง World Economic Forum เสนอขึ้นมาเพื่อสร้างทุนนิยมในรูปแบบใหม่ด้วยความยั่งยืนการให้ความสำคัญกับความกินดีอยู่ดีของผู้คนและความสมดุลของโลก (People and Planet) ดูแลผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย)

ตอนนี้ในรัฐบาลจีนเองกำลังมีการหยิบยกเรื่องของ Stakeholder Capitalism ขึ้นมาพูดคุย ที่ซึ่งลูกค้า ลูกจ้าง และรัฐบาลท้องถิ่น มองว่าจะทำอย่างไรให้บริษัทที่ทำธุรกิจทั้งหลายเหล่านี้ ยอมกระจายกำไรของพวกเขาคืนสู่สังคมให้มากขึ้น เราจำเป็นต้อวเช้าใจก่อนว่าเงินนั้นมันก็แค่ตัวเลขที่วิ่งไปในบัญชี การที่มันไปกองอยู่ที่ใครคนใดคนหนึ่งจำนวนมากนั้นไม่น่าจะเกิดประโยชน์อะไรกับประเทศชาติ

ที่จริงแล้วคำว่า “Common Prosperity” นั้นไม่ได้ถูกใช้โดยประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เป็นคนแรก โดยคนที่ใช้คนแรกคือนายสฺวี่ เจียยิ่น (ฮุย คา ยัน ในภาษากวางตุ้งมาตรฐาน / เขาเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์มากกว่า 35 ปี) ซึ่งเป็นประธานบริษัท เดอะ เอเวอร์แกรนด์ กรุ๊ป ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์จีนที่กำลังมีปัญหาดังไปทั่วโลกอยู่ในตอนนี้นั้นเอง คำว่า “Common Prosperity” เคยถูกเขาใช้เป็นสโลแกนในปี 2018 และตัวเขาก็ได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาเศรษฐีที่ใจบุญมากที่สุดคนหนึ่งของจีน โดยมีการบริจาคเงินนับพันล้านดอลลาร์สหรัฐไปให้กับบริษัทวิจัยด้านยา

โดยก่อนปีนี้ทางบริษัทได้มีการขอให้พนักงานไม่รับโบนัสของพวกเขา เพื่อที่บริษัทจะได้ใช้เงินส่วนนี้ในการจัดการกับเงินกู้ระยะสั้นของริษัท นั้นทำให้พวกพนักงานหลายร้อยชีวิตเข้าร่วมกับผู้ซื้อบ้านที่ตื่นตระหนกเพื่อร้องขอเงินสดของพวกเขากลับมา ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในจีนมีผู้มีส่วนได้ส่วนค่อนข้างเล็กน้อย เพื่อที่จะซื้อที่ดิน บ่อยครั้งที่ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์จะต้องยืมเงินจาก บริษัท ทรัสต์เพื่อการลงทุน และในทางกลับกันบ่อยครั้งมีการร้องขอผู้บริหารจัดการระดับอาวุโสที่ชื่อถือได้สำหรับแผนงานซึ่งกลายเป็นนักลงทุนที่อยู่ผลิตภัณฑ์ทั้งหลายเหล่านี้ เงินกู้สำหรับก่อสร้างและสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นเรื่องมาที่หลัง และ เมื่อ 5 ปีก่อน ทรัสต์เหล่านี้ที่ลงทุนในโครงการของ เดอะ เอเวอร์แกรนด์ กรุ๊ป มีการเสนอผลตอบแทนมากถึง 30% ต่อปี ตามการรายงานจากสื่อท้องถิ่นในเวลานั้น

นั้นทำให้บริษัทมีการเติบโตอย่างมากและมีการขยายตัวด้านการเงินอย่างมาก การร่วมลงทุนได้ถูกส่งลงไปสู่การบริหารระดับกลางและระดับคนทำงานทั่วไป ซึ่งนั้นได้ทำให้เงื่อนไขทางการเงินของบริษัทแย่มาก ผลิตภัณฑ์บริหารจัดการความมั่งคั่งของพวกเขาได้เสนอผลตอบแทนสูงถึง 5%-10% ต่อปี โดยผลิตภัณฑ์เหล่านั้นไม่ได้ถูกผูกอยู่กับแผนพัฒนาโครงการ ซึ่งจะผูกกับคนทำงานอีกต่อหนึ่ง ซึ่งตรงนี้หมายความว่าพวกเขาไม่สนใจคุณภาพของการลงทุนที่ซึ่งเงินของพวกเขาถูกเอาไปลง

แม้จะอยู่ในช่วงการปรับโครงสร้างหนี้ แต่บริษัทยังคงสามารถดำเนินงานได้อย่างปกติ ขณะที่เจ้าหนี้และผู้ถือหุ้นกำลังมีการต่อรองราคากัน พนักงานของพวกเขายังคงทำงานอยู่ตราบที่บริษัทยังจ่ายเงินและไม่ไล่ออก แต่แน่นอนปัญกาในครั้งนี้ได้เปลี่ยนแปลงชีวิตของพวกเขาไปจากเดิม พวกเขากลายเป็นหนึ่งในเจ้านี้จำนวนมากที่เอกสารนอนรออยู่ในแบงค์ยักษ์ใหญ่ และมีความเป็นไปได้ที่พวกเขาจะออกมาประท้วง

ผู้สนับสนุน “Common Prosperity” บอกว่า ธุรกิจจำเป็นต้องแบ่งปันกำไรกับคนทำงานของเขา นั้นเป็นเรื่องที่ดี แต่ผู้มีหน้าที่ดูแลนโยบายของรัฐจำเป็นต้องรู้ด้วยว่าธรรมชาติของบริษัทนั้นเสพติดการเป็นหนี้ และเดอะ เอเวอร์แกรนด์ กรุ๊ป ก็ยืมเงินจากคนทุกกลุ่มตั้งแต่ ลูกค้า พนักงาน และซัพพลายเออร์ “Common Prosperity” อาจจะกลายเป็นการแชร์ความยากจนอย่างรวดเร็วก็เป็นได้

บทความนี้ของ Bloomberg ค่อนข้างจะจับแพะชนแกะไปนิดสำหรับแอดมิน เพราะบริบทของ ประเทศจีน และ เดอะ เอเวอร์แกรนด์ กรุ๊ป ไม่เหมือนกัน อีกฝ่ายเป็นภาครัฐ อีกฝ่ายเป็นบริษัทเอกชนที่มุ่งหากำไรเป็นสำคัญ เพราะฉะนั้นเป้าหมายของการทำงานก็ต่างกันมากอยู่แล้ว ภาครัฐมีหน้าที่ดูแลประเทศ ความเป็นอยู่ของประชาชนให้กินดีอยู่ดี ซึ่งที่ผ่านมา ประเทศจีน ภายใต้การนำของ ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ก็พิสูจน์แล้วว่าสามารถทำได้จริง ชนชั้นกลางของประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล จนกลายเป็นแรงขับเคลื่อนของเศราฐกิจโลกที่จะขาดไม่ได้ไปแล้ว เพราะฉะนั้น “Common Prosperity” ของฝาก เดอะ เอเวอร์แกรนด์ กรุ๊ป จึงไม่ได้มีความหมายแบบเดียวกับของท่านประธานาธิบดีสี จิ้นผิง แต่อย่างใด

อ่านสื่อตะวันตกจำเป็นต้องระวัง อคติ ให้ดี!!

เขียนและเรียบเรียง : เอกพล มงคลพัฒนกุล

ที่มา : Bloomberg

ติดตาม Business+ ได้ที่ thebusinessplus.com
Line Business+ ได้ที่ https://lin.ee/pbIHCuS

#Businessplus #Business+ #นิตยสารBusinessplus #จีน #ค้าปลีก #เศรษฐกิจจีน #อสังหาริทรัพย์จีน #ก่อสร้าง #ChinaRealestate #Evergrande #เดอะเอเวอร์แกรนด์กรุ๊ป