ฮังการี ต่อจาก โปแลนด์ เมื่อสมาชิก EU พากันต่อต้านผู้อพยพเข้าประเทศ

เมื่อรัฐสภายุโรป (European Parliament) ได้ลงมติให้ลงโทษฮังการีในเรื่องการต่อต้านประชาธิปไตยจากแนวคิดประชานิยม ซึ่งอาจนำไปสู่การระงับสิทธิในการออกเสียงในสหภาพยุโรป

 

EU

 

ทั้งนี้ เป็นครั้งที่ 2 ที่รัฐสภาได้เปิดตัวกระบวนการทางวินัยของสหภาพยุโรปต่อรัฐสมาชิกมาตราที่ 7 เช่นเดียวกันกับโปแลนด์ในช่วงที่ผ่านมา เป็นผลมาจากนโยบายของนายกรัฐมนตรีฮังการี ‘Viktor Orban’ ซึ่งเป็นกระบวนการเรียกร้องเพื่อป้องกันประเทศสมาชิกไม่ให้ละเมิด

 

ตามรายงานจากหนึ่งในสมาชิกของ EU  ‘Judith Sargentini’ จากเนเธอแลนด์ ซึ่งบอกถึงความกังวลเกี่ยวกับการล้มระบอบประชาธิปไตยในฮังการี ในช่วงหลายปีที่ผ่านมารวมทั้งการปราบปรามผู้อพยพ ไม่ให้ผู้อพยพมุสลิมไหลเข้าประเทศ ผลักดันนโยบายปิดกั้นพรมแดน และสื่อต่างๆ

 

การลงแนนเสียงเห็นชอบให้ลงโทษฮังการีในข้อหาไม่เคารพต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญของสหภาพยุโรป ด้วยคะแนนเสียง 448 ต่อ 197 เสียง และงดออกเสียง 48 เสียง

 

ผลการพิจารณาเห็นได้ชัดว่า น้อยกว่า 2 ใน 3 ซึ่งถือว่าภายใต้สนธิสัญญายังคงไม่สามารถลงโทษฮังการีจากแนวคิดประชานิยมที่ผ่านมาของพวกเขา แม้ว่าจะฝ่าฝืนหลักนิติธรรมก็ตาม

 

เนื่อง Orban ชนะการเลือกตั้งเข้าสู่อำนาจในปี 2553 และเมื่อเร็ว ๆ นี้ได้รับชัยชนะอย่างมากในเดือนเมษายนของปีนี้ ทำให้เกิดไฟลุกลามจากสหภาพยุโรปมากขึ้นเรื่อย ๆ

 

EU

 

รวมถึงกฎหมาย ‘Stop Soros’ ของรัฐบาลฮังการีซึ่งการช่วยเหลือผู้อพยพลี้ภัยเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และห้ามไม่ให้องค์กรเอกชนช่วยเหลือผู้อพยพดังกล่าว

 

ซึ่งขณะนี้ Orban ยังคงได้รับการปกป้องจากการลงโทษทางวินัยของสหภาพยุโรป โดยสมาชิกของรัฐสภายุโรป

 

แต่หลังจากการกล่าวสุนทรพจน์ที่รุนแรงโดย Orban ในการอภิปรายในรัฐ Strasbourg เมื่อเขาไม่ยอมรับ “ฺBlackmail” ของสหภาพยุโรป และดูเหมือนว่าความสัมพันธ์ของสมาชิก EPP (European People’s Party) ต่อฮังการีจะแย่ลงตามไปด้วย

 

สำหรับมาตราที่ 7 มีความยืดเยื้อและไม่มีประเทศสมาชิกใดที่เคยได้รับการลงโทษอย่างจริงจัง เพราะการระงับสิทธิการออกเสียงดังกล่าวจะต้องได้รับการอนุมัติจากประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปทั้งหมด นอกเหนือจากประเทศที่ถูกกล่าวหาและดูเหมือนว่าจะเป็นไปได้ยากสำหรับฮังการี

 

ผู้อพยพลี้ภัยวาระแห่งชาติของ EU

 

ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการออกจากสมาชิก EU ของอังกฤษ รวมไปถึงการที่อิตาลีและมอลตาไม่ยอมให้เรือรับผู้ลี้ภัยจอดเทียบท่าในประเทศ ต่อเนื่องไปยังโปแลนด์และฮังการีในท้ายที่สุด

 

อย่างไรก็ตาม สมาชิก EU มีความพยายามในการจัดระเบียบผู้ลี้ภัยแต่ยังคงไม่เป็นผล เนื่องจากบางประเทศที่แสดงจุดยืนในการต่อต้านผู้ลี้ภัยอย่างชัดเจน อีกทั้งการลงโทษในกรณีของฮังการียังคงไม่ประสบความสำเร็จ ยิ่งทำให้การต่อต้านผู้ลี้ภัยยังคงหนักข้อมากยิ่งขึ้น ส่งผลต่อเนื่องให้เกิดการทะเลาะกันเองในกลุ่มสมาชิก EU ในที่สุด

 

ซึ่งการหลีกเลี่ยงการรับผู้ลี้ภัยในหลายประเทศนั้น เนื่องจากต้องใช้งบประมาณในการจัดสรรดูแลอย่างมหาศาล อีกทั้งจำนวนประชากรผู้ลี้ภัยเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้หากไม่ได้รับการดูแลที่เพียงพอ จะทำให้เกิดปัญหาอาชญากรรรม และการรวมกลุ่มยึดพื้นที่ของคนท้องถิ่นเป็นที่อยู่อาศัย ทั้งนี้ยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการแย่งงานของคนในประเทศนั้น ๆ ตามไปด้วย