ตีตีซูชิง เบอร์ 1 จีน เบอร์ 4 โลก!! จีน เดินหน้าสอบ ตีตีซูชิงแล้ว 45 วันรู้ผล

หลังจากทางรัฐบาลจีนสั่งลงดาบแพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่ผู้ให้บริการด้านการเรียกรถแท๊กซี่อย่าง ตีตีซูชิง (Didi Chuxing) ไปเมื่ออาทิตย์ก่อนด้วยการถอดแอพพิเคชั่นออกจาก App Store ในประเทศ ภายใต้ข้อหาด้านความั่งคงทางไซเบอร์ ล่าสุดทางกระทรวงหลัก 7 กระทรวงที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ได้เริ่มดำเนินการสอบสวนและตรวจสอบรายละเอียดของ ตีตีซูชิง แล้วในเรื่องความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (CYBER SECURITY)

โดยการสอบสวนครั้งนี้ประกอบไปด้วยกระทรวงการรักษาความปลอดภัยสาธารณะ, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ, กระทรวงคมนาคม, สำนักงานภาษีอากรของรัฐ, ผู้มีอำนาจกำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์ และกลุ่มผู้บังคับใช้กฎเกณฑ์ ตามรายงานของสำนักงานบริหารไซเบอร์สเปซแห่งประเทศจีน (CAC) ซึ่งการตรวจสอบครั้งนี้จะใช้เวลาอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 45 วันเพื่อให้ทุกอย่างเสร็จสิ้น แต่ก็สามารถขยายเวลาออกไปได้หากมีความจำเป็น โดยเวลาตรงนี้ไม่รวมที่ทาง ตีตีซูชิง จะต้องเตรียมเอกสารสำหรับการสอบสวนในครั้งนี้

ซึ่งทางหน่วยงานที่มีส่วนในด้านการกำกับดูแลด้านความั่งคงทางไซเบอร์ได้กำหนดเงื่อนไขให้สมาชิกทุกคนของหน่วยงานที่มีหน้าที่สอบสวนด้านความั่งคงทางไซเบอร์มีสิทธิ์ที่จะเริ่มต้นเข้ามาสอบสวน ถ้าหากเห็นข้อกังวลในเรื่องความมั่นคงของประเทศในเครือข่ายผลิตภัณฑ์และบริการ โดย ตีตีซูชิง (Didi Chuxing) เพิ่งจะมีการระดมทุนไปเมื่อเดือนก่อน ได้เงินไปกว่า 4,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่มูลค่าบริษัทในปัจจุบันสูงถึง 70,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ปัจจุบันมีการคาดการณ์กันว่าตลาดแพลตฟอร์มการเรียกรถแท๊กซี่ในจีน (Car-hailing/ Ride-hailing) ปี 2021 มีมูลค่าสูงถึง 441,500 ล้านหยวน พร้อมปริมาณการใช้ในปี 2018 อยู่ที่ 20,000 ล้านเที่ยวตลอดทั้งปี ซึ่งทาง ตีตีซูชิง มีจำนวนของผู้ใช้งานแอพพิเคชั่นต่อในเดือนในจีนเดือนพฤษาคม 2021 อยู่ที่ 62.8 ล้านยูสเซอร์ มากกว่าอันดับ 2 Hello Chuxing อยู่ถึง 3 เท่าเลยทีเดียว โดยพวกจัดอยู่อันดับ 11 สำหรับบริษัทที่มีมูลค่าแบรนด์สูงที่สุดในจีนในปี 2020 ด้วยมูลกว่า 20,041 ดอลลาร์สหรัฐ และหากขยับไปดูในระดับโลกพวกเขาถูกจัดให้เป็นบริษัทยูนิคอร์นอันดับที่ 4 ของโลกในปี 2021 ด้วยมูลค่าสูงถึง 60,000 ดอลลาร์สหรัฐ

มูลค่าตลาดของ ตีตีซูชิง หายไปกว่า 19,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐหลังทางการจีนมีบทลงโทษออกมา ซึ่งหลายฝ่ายมองการเข้าแทรกแซงกลุ่มเทคโนโลยีของทางการจีนผ่านเหตุผลสองประเด็น หนึ่ง คือข้อมูลที่ถูกเก็บโดยบริษัทเหล่านี้คุกคามความมั่นคงของประเทศ สอง การที่บริษัทเทคโนโลยีเหล่านี้เข้าไป IPO ในตลาดสหรัฐก็ต้องทำตามกฎเกณฑ์ของสหรัฐในเรื่องข้อมูล ซึ่งนั้นเท่ากับปล่อยให้ขุมทรัพย์ของประเทศและข้อมูลส่วนบุคคลตกไปอยู่ในมือของชาวต่างชาติ

ที่มา : SCMP, Statista

#BusinessPlus #ตีตีซูชิง #DidiChuxing #การลงทุน #GDPจีน #ธุรกิจ #Investment #tech #ความปลอดภัยไซเบอร์ #Cybersecurity