ชัยชนะของโบอิ้ง

คำสั่งซื้อเครื่องบินที่มากกว่าคู่แข่งตลอดกาลอย่างแอร์บัส ทำให้ “โบอิ้ง” กลายเป็นผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่ที่สุดในโลกหลังพยายามอย่างหนักในหลายปีที่ผ่านมา

เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ สำหรับชัยชนะของโบอิ้งที่มีเหนือแอร์บัส หลังทั้งสองบริษัทรายงานผลประกอบการประจำปี 2556 ออกมาเมื่อเร็วๆ นี้ คำสั่งซื้อเครื่องบินพาณิชย์ที่โบอิ้งมีเหนือแอร์บัส จะพบว่า มีจำนวนต่างกันไม่มาก โดยโบอิ้งส่งมอบเครื่องบินจำนวน 648 ลำ ขณะที่แอร์บัสส่งมอบเครื่องบินจำนวน 626 ลำ และหากมองย้อนกลับไปในปี 2012 สถานการณ์ดังกล่าวถือว่า ย้อนรอยเดิม นั่นคือ โบอิ้งมียอดขายเหนือแอร์บัสอีกเช่นกัน และนั่นเพียงพอที่จะทำให้ “โบอิ้ง” กลายเป็นผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่ที่สุดในโลกเป็นเวลา 2 ปีติดต่อกันแล้ว

ข่าวดังกล่าวทำให้สื่อใหญ่ทั่วโลก พากันรายงานข่าวอย่างครึกโครม โดยสำนักข่าว BBC รายงานว่า ผู้บริหารแอร์บัสพอใจกับตัวเลขดังกล่าวแล้ว แม้แอร์บัสจะมีสถิติยอดขายที่ดีเพิ่มขึ้นอีกปีหนึ่งก็ตามสำหรับโบอิ้ง ข่าวดังกล่าวถือเป็นชัยชนะที่พนักงานทุกคน รวมถึงผู้บริหารรอคอยมานาน ซึ่งจริงๆ แล้ว โบอิ้งเริ่มมาแรงแซงโค้งแอร์บัส ผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่ของโลกได้ในระยะหลัง หลังต้องถูกทิ้งห่างมาเป็นเวลาร่วม 10 ปี จุดเปลี่ยนที่ทำให้โบอิ้งมีชัยชนะเหนือแอร์บัส คงต้องพิจารณาเชิงลึก เริ่มจากบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนของเครื่องบินในสหรัฐอเมริกาเริ่มเดินหน้าการผลิตอีกครั้งหลังจากที่ส่งสินค้า (ชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ) ล่าช้ามาเป็นเวลาหลายปี ซึ่งทำให้เครื่องบินรุ่น 787 ดรีมไลเนอร์ ซึ่งเคยเป็นสินค้าธงนำได้ฤกษ์ส่งมอบสู่เส้นทางการบินของหลายๆ สายการบินเสียที

ประการต่อมาคือ หากยึดคำกล่าวของ เรย์ คอนเนอร์ ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โบอิ้ง คอมเมอร์เชียล แอร์เพลน ที่ระบุว่า ปีที่ผ่านมา เรามีผลงานที่โดดเด่นมาก สามารถส่งมอบเครื่องบินรุ่นใหม่ ที่ทันสมัยและสามารถประหยัดเชื้อเพลิงให้แก่ลูกค้าได้มากกว่าที่เคยทำมา

K65105-02 Next Gen 737 production increase resized“หลังจากโบอิ้งเพิ่มกำลังการผลิตในปีที่ผ่านมา โรงงานผลิตทั้ง 3 แห่ง ได้แก่ โรงงานผลิตที่เมืองเอเวอเรสต์และเรนตัน โรงงานผลิตในวอชิงตัน และโรงงานนอร์ทชาร์ลส์ตันในรัฐเซาท์แคโรไลนา ทำให้เราสามารถส่งมอบเครื่องบินพาณิชย์ได้เป็นจำนวนสูงสุดเป็นประวัติการณ์

รวมถึงผลงานที่โดดเด่นในอีกหลายๆ จุด ปีที่ผ่านมานับเป็นการสะท้อน และตอกย้ำความสามารถกับความสำเร็จของทีมงานโบอิ้งได้เป็นอย่างดี”

เป็นคำกล่าวที่ชี้ให้เห็นถึง จุดเปลี่ยนสำคัญของโบอิ้งคือ ทั้งการเพิ่มการผลิตให้ทันต่อการส่งมอบแก่ลูกค้า โดยมีสินค้ารุ่นใหม่ที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้ จนนำมาสู่ผลประกอบการที่แข็งแกร่งเพิ่มขึ้นนั่นเอง

เอเชีย-อาเซียน ตลาดใหญ่ของโบอิ้ง

ปัจจุบันโรงงานที่เรนตันของโบอิ้ง ทำการผลิตเครื่องบินรุ่น 737 ด้วยจำนวน 38 ลำต่อเดือน สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ และจะเพิ่มขึ้นเป็น 42 ลำต่อเดือน ในอนาคตอันใกล้ หลังทำการยกระดับสายการผลิตให้รองรับการผลิตเครื่องบินรุ่นใหม่ 737-แม็กซ์ ที่จะเริ่มส่งมอบให้ลูกค้าภายในปี 2560

ทั้งนี้ ปริมาณเครื่องบินที่ผลิตจากเรนตันราว 70% เป็นการผลิตเพื่อขายให้กับตลาดระหว่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดเอเชียที่สายการบินจำนวนมากกำลังขยายความสามารถในการรองรับปริมาณผู้โดยสารที่เป็นคนชั้นกลาง ซึ่งกำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

ลูกค้ารายใหญ่ของโบอิ้งในเอเชีย คือ ไลออนแอร์ของอินโดนีเซียและไชนา เซาเธิร์น แอร์ไลน์ ที่ได้รับมอบเครื่องบินรุ่น 737 ไปแล้วหลายสิบลำ ในขณะที่สายการบินซิลค์แอร์ ก็เป็นลูกค้าหลักเช่นเดียวกัน หลังจากเมื่อปีที่แล้ว สั่งซื้อเครื่องบินรุ่น บี737 รวม 54 ลำ ซึ่งเป็นเครื่องบินรุ่นใหม่ 737-แม็กซ์ จำนวน 31 ลำ

Malaysia 737 BSI Interiorอย่างไรก็ตาม ด้วยปริมาณความต้องการเครื่องบินโดยสารเพื่อการพาณิชย์ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ธุรกิจผลิตเครื่องบินอาจต้องเผชิญกับสภาพปริมาณเครื่องบินรอส่งมอบที่ค้างส่งอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งไม่เพียงแต่โบอิ้งที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์การผลิตที่จำนวนเครื่องบินสั่งซื้อค้างส่งอยู่จำนวนมาก เนื่องจากคู่แข่งอย่างแอร์บัสก็ประสบชะตากรรมแบบเดียวกัน

ปัจจุบัน โบอิ้งไม่มีแผนการขยายอุปกรณ์การผลิตหรือสร้างโรงงานเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด เพียงแต่นำเทคโนโลยีมาปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพ รวมถึงกระบวนการผลิตให้ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่เท่านั้น

อย่างไรก็ดี โบอิ้ง ยังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากปริมาณความต้องการในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และภูมิภาคอาเซียนที่โบอิ้ง เสนอแผนจำลองว่า การเดินทางของคนชั้นกลางผ่านสายการบิน Low Cost ในอีก 20 ปีข้างหน้าจะเติบโตเป็น 3 เท่าของปัจจุบัน โดยจะมีความต้องการเครื่องบินพาณิชย์ใหม่ทั้งสิ้นประมาณ 3,080 ลำ คิดเป็นมูลค่าราว 450,000 ล้านดอลลาร์หรือประมาณ 13,950,000 ล้านบาท

“ตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเป็นหนึ่งในตลาดที่มีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นมากที่สุดของโลก ในอีก 20 ปีข้างหน้าประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้จะมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงมาก และทำให้มีปริมาณผู้เดินทางทางอากาศมากขึ้น ทั้งเพื่อการติดต่อธุรกิจและการท่องเที่ยว” แรนดี ทินเซ็ธ รองประธานฝ่ายการตลาด โบอิ้ง คอมเมอร์เชียล แอร์เพลน ที่เปิดเผยถึงรายงานการคาดการณ์ตลาดเครื่องบินพาณิชย์ทั่วโลก และในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เล่าให้ฟัง

เขายังระบุต่อว่า สายการบินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะต้องการเครื่องบินแบบทางเดินเดียวมากที่สุด เช่น โบอิ้งรุ่น 737 รุ่นใหม่ รวมถึงรุ่น 737 MAX รุ่นล่าสุด ซึ่งคาดว่าจะมีสัดส่วนสูงถึง 70% ของปริมาณเครื่องบินทั้งหมด ซึ่งเครื่องบินแบบนี้ได้รับความนิยมมากในหมู่สายการบินต้นทุนต่ำในภูมิภาคนี้ ซึ่งมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว

“สายการบินต้นทุนต่ำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการเติบโตเป็นประวัติการณ์ เมื่อเทียบกับปี 2545 ที่สายการบินเหล่านี้ยังไม่เกิด แต่ในปี 2555 สายการบินต้นทุนต่ำมีสัดส่วนมากถึง 22% ในตลาดรวมของภูมิภาค และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 42% ในปี 2575”

หากคำกล่าวนี้เป็นจริง ดังนั้นสิ่งที่ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โบอิ้ง คอมเมอร์เชียล แอร์เพลน “เรย์ คอนเนอร์” ที่บอกว่า ปีที่ผ่านมา เครื่องบินโบอิ้งรุ่นที่ส่งมอบมากที่สุดได้แก่ Next-Generation 737 จำนวน 440 ลำ ตามด้วยโบอิ้ง 777 จำนวน 98 ลำ และโบอิ้ง 787 ดรีมไลเนอร์ จำนวน 65 ลำ ซึ่งสายการบิน 16 แห่งทั่วโลกใช้ทำการบินอยู่ในปัจจุบัน ส่งผลให้โบอิ้งยังคงครองความเป็นผู้นำในตลาดเครื่องบินพาณิชย์แบบ 2 ทางเดิน

เช่นเดียวกับรุ่น 777X ที่โบอิ้งเปิดตัวในเดือนพฤศจิกายน ที่งานดูไบแอร์โชว์ ซึ่งได้รับคำสั่งซื้อถึง 259 รายการ รวมมูลค่าประมาณ 3,135 พันล้านบาท (95,000 ล้านดอลลาร์) และรุ่น 787-10 ดรีมไลเนอร์ ซึ่งเป็นเครื่องบินที่ประหยัดเชื้อเพลิงมากที่สุดในตลาดเครื่องบินเจ็ต โดยได้เปิดตัวที่งานปารีสแอร์โชว์ ราวกลางปีที่แล้ว

และสำหรับปี 2557 นี้ คอนเนอร์ ระบุว่า จะเป็นอีกปีหนึ่งที่ดีสำหรับโบอิ้ง เพราะบริษัทฯ มีแผนส่งมอบเครื่องบินรุ่น 787-9 ลำแรก รวมทั้งปรับปรุงการออกแบบเครื่องบินใหม่ ๆ ทั้ง 737 MAX, 787-10 และ 777 รวมถึงเพิ่มกำลังการผลิตโบอิ้ง 737 ด้วย

787 interior - biz class

…หากเป็นเช่นนั้นจริงๆ สิ้นปีนี้ทั่วโลกอาจจะได้เห็นการฉลองชัยที่โบอิ้งมีเหนือแอร์บัส เป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน

10

11

12

ป.ปลา