โลกใบใหม่ของนายธนาคาร

หลังอินเทอร์เน็ตเติบโตมาก หลายธุรกิจได้รับผลประโยชน์จากการเชื่อมต่อ และเมื่อโลกธุรกิจให้ความสำคัญกับลูกค้า ดังนั้น การวางกลยุทธ์ทางธุรกิจให้ตรงจุด ทุกๆ อย่างต้องเกิดการเปลี่ยนแปลง

ธนาคาร อินเตอร์เน็ตแบงกิ้ง

ธุรกิจธนาคารก็เช่นกัน ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา สาขาของธนาคารพาณิชย์ลดจำนวนลงอย่างต่อเนื่อง สะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ที่นิยมทำธุรกรรมทางการเงินที่ไม่ซับซ้อนผ่านระบบดิจิทัลแบงกิงมากกว่า โดยเฉพาะโมบายแบงกิงและอินเทอร์เน็ตแบงกิง เนื่องจากสามารถใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต เป็นต้น หรือ “Any Where, Any Time, Any Device” นั่นเอง

แน่นอน ความนิยมทำธุรกรรมทางการเงินผ่านช่องทางดิจิทัล ทำให้ได้เห็นถึงการปรับตัวของนายแบงก์ และเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้มีประสิทธิภาพ การที่นายแบงก์ลุกขึ้นมาเสริมทัพบริการต่างๆ ให้มีความคล่องตัว สอดรับกับพฤติกรรมทางการเงินของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป นั่นหมายถึง โลกการเงินได้เดินทางสู่ถนนสายใหม่
ทั้งนี้ โลกการเงินยุค 4.0 จากผลของ Mega Trend ย่อมทำให้ทุกๆ บริการจะถูกขับเคลื่อนและทดแทนด้วย เทคโนโลยี (Technology Disruption)

ระบบนิเวศทางการเงินที่ต้องสร้างชุดเครื่องมือขึ้นมาใหม่ ปฎิเสธไม่ได้ว่า จะเกิดรูปแบบผลิตภัณฑ์ทางการเงิน และช่องทางการให้บริการแตกต่างกันไป

มีการคาดการณ์ว่า การเปลี่ยนแปลงนี้ย่อมมีชุดของขีดความสามารถแข่งขันใหม่ ขณะเดียวกันจุดไหนที่จะเป๋นต้นทุนก็จะถูกแทนที่ด้วยอุปกรณ์ไฮเทค ทั้งหุ้นยนต์ เครื่องจักรสมองกล

เวลานี้แม้รายได้ของธนาคารจะยังไปได้ต่อ แต่เมื่อต้องมองระยะยาวๆ เชื่อว่าทุกๆ ธนาคารต้องปรับปรุงบริการ ซื้อเครื่องมือที่ทันสมัยที่สุด และกลุ่มที่จะถูกทดแทนด้วยเครื่องมือ อุปกรณ์ที่ทันสมัย ย่อมหนีไม่พ้นพนักงานแบงก์
กับคอนเซ็ปต์ Unmanned Banking ได้เกิดขึ้นแล้วในต่างประเทศ สาขาของธนาคารที่มีอยู่มากก็จะไม่จำเป็นอีกต่อไป

ในยุคหนึ่งที่ธนาคารแสวงหาคนเก่งมาร่วมงานนั้น การมีพนักงานเป็นจำนวนมากเป็นความแข็งแกร่งของธนาคารที่คู่แข่งยากจะเปรียบเทียบ แต่เมื่อโลกก้าวสู่ยุคของดิจิทัลแล้ว การมีพนักงานเป็นจำนวนมากกลับกลายเป็นจุดอ่อน เพราะจำนวนพนักงานที่มากหมายถึงต้นทุนในการจัดการทรัพยากรที่สูงขึ้น

ด้านหนึ่งของความรุ่งเรื่องของอุตสาหกรรมธนาคารที่เคยรุ่งเรือง แต่เมื่อต้องพ่ายแพ้กับความเร็วของเทคโนโลยี นั้นก็คือ โศกนาฏกรรมของพนักงานแบงก์