‘อาชญากรรมคอปกขาว’ อาจเพิ่มมากขึ้น จากการล้มละลายของธนาคารในสหรัฐฯ

ในทุก ๆ ครั้งที่โลกต้องเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจ มีข้อมูลจาก UN รายงานว่าจะก่อให้เกิดอาชญากรรมทุกรูปแบบเพิ่มขึ้นหลายเท่า หรือยกตัวอย่างวิกฤตการเงินโลกในปี 2550-2552 ผลวิจัยพบว่าใน 11 ประเทศที่เศรษฐกิจตกต่ำเป็นอย่างมาก อาทิ แคนาดา อิตาลี จาเมกา ลัตเวีย มอริเชียส เม็กซิโก ฟิลิปปินส์ โปแลนด์ ไทยฯ เกิดเหตุอาชญากรรมสูงสุดในรอบ 20 ปีเลยทีเดียว

และปัจจุบันจากเหตุการณ์ล้มละลายของธนาคารใหญ่ในสหรัฐอย่าง Silicon Valley Bank, Signature Bankและธนาคารอื่น ๆ ที่มีแนวโน้มจะล้มละลายเรียงกับเป็นโดมิโน่ ทำให้ผู้ใช้บริการหลาย ๆ คงยังคงเดือดร้อน รวมถึงกองทุนต่าง ๆ ทั่วโลกที่เลือกลงทุนในธนาคารเหล่านั้น

จากวิกฤตเหล่านี้อาจก่อให้เกิดอาชญากรรมเพิ่มขึ้น นั่นก็คือ อาชญากรรมคอปกขาว (White-Collar Crime) เพิ่มขึ้นก็ย่อมได้ เพราะอาชญากรรมประเภทนี้ล้วนมาในคราบการฉ้อโกง

แล้ว อาชญากรรมคอปกขาว คืออะไร?

ต้องเกริ่นก่อนว่าอาชญากรรมประเภทนี้จะมีผู้กระทำความผิดมักอยู่ในองค์กรทั้งในภาคราชการ รัฐวิสาหกิจ  หรือเอกชน โดยเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ที่ตนมีอยู่เพื่อแสวงหาประโยชน์ในทางที่ไม่ถูกต้องให้กับตัวเองหรือเพื่อนร่วมงาน หรือที่เราเรียกกันว่า การทุจริตคอร์รัปชัน

ทั้งนี้ อาชญากรรมประเภทนี้จะไม่ใช้ความรุนแรงเพื่อให้ได้มาทรัพย์สินมา ไม่ว่าจะเป็นจากการฉ้อโกงหลักทรัพย์ การยักยอก การฉ้อโกงบริษัท และการฟอกเงิน ที่ส่วนใหญ่วางแผนเตรียมการและทำงานเป็นขบวนการ ทำให้อาชญากรรมประเภทนี้มักถูกเรียกบ่อย ๆ ว่าเป็นอาชญากรรมของคนชั้นสูง เพราะจะเห็นได้จากการที่คนดังระดับโลกหลาย ๆ คนตกเป็นผู้ต้องหา อาทิ Ivan Boesky (นักเทรดหุ้น), Bernard Ebbers (นักธุรกิจเจ้าของ WorldCom ), Michael Milken (นักการเงิน)

โดยหน่วยงานระดับโลกที่ดูแลอาชญากรรมประเภทนี้ ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สมาคมผู้ค้าหลักทรัพย์แห่งชาติ (NASD) สำนักงานสืบสวนกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (FBI) และหน่วยงานของรัฐในประเทศนั้น ๆ

อย่างไรก็ดี สำหรับวิกฤตล้มละลายของธนาคารสหรัฐฯ ทำให้ทาง APA พูดถึงเรื่องนี้ไว้ว่า ถึงแม้อาชญากรรมปกขาวเป็นกิจกรรมอาชญากรรมที่ไม่รุนแรง แต่การก่ออาชญากรรมมักเกิดขึ้นโดยบุคคลที่มีความน่าเชื่อถือสูงและมีสถานะทางสังคม ทั้งนี้อาชญากรรมอาจจะเกิดขึ้นจากการแสวงหาอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นเพื่อสร้างกำไรให้กับธนาคาร หรือเปรียบเสมือนการละเมิดผลประโยชน์สูงสุดของผู้ใช้บริการก็ย่อมได้

เป็นที่น่าติดตามว่าหากเกิดอาชญากรรมคอปกขาวขึ้น รัฐบาลสหรัฐจะใช้กฎหมายธงแดง (Red flag) ในการควบคุมอาชญากรรมนี้ก็ย่อมได้ ซึ่งกฎหมายประเภทนี้ในแต่ละรัฐฏ็มีคำสั่งในการใช้ที่ต่างกันไป แต่ส่วนใหญ่แล้วใช้เพื่อขจัดความเสี่ยงในกรณีต่าง ๆ

 

ที่มา : UN,FBI, psychologytoday

เขียนและเรียบเรียง : อโญศิริ สุระตโก

 

Line Business+ ได้ที่ : https://lin.ee/pbIHCuS

 

IG ได้ที่ : https://www.instagram.com/businessplus.thailand/

 

#Businessplus #Business+ #นิตยสารBusinessplus #อาชญากรรมคอปกขาว #ธนาคารสหรัฐล้ม #FED #FBI