ThaiBev

ห่วงโซ่คุณค่า โมเดลการจัดการความยั่งยืนของ ThaiBev สู่เบอร์หนึ่ง DJSI (World Index) ต่อเนื่อง 2 ปีซ้อน

ThaiBev เป็นบริษัทที่ดำเนินการด้านการบริหารจัดการความยั่งยืนตลอดห่วงโซ่คุณค่าตั้งต้นน้ำจรดปลายน้ำ  ซึ่งล่าสุดนอกจากโอกาสครบรอบ 16 ปีแล้ว ยังคว้าอันดับหนึ่ง DJSI (World Index) ต่อเนื่อง 2 ปีซ้อน สะท้อนให้เห็นการเติบโตทางธุรกิจที่เดินไปพร้อมกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้นำธุรกิจเครื่องดื่มครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน ภายใต้วิสัยทัศน์ 2020

ThaiBev  นำโดยโฆษิต สุขสิงห์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุดกลุ่มธุรกิจต่อเนื่อง เปิดเผยถึงความสำเร็จครั้งนี้ว่า หรือ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ได้รับคัดเลือกให้เป็นสมาชิกในกลุ่มดัชนีความยั่งยืน ดาวโจนส์ ประเภทกลุ่มดัชนีโลก (World Index) และประเภทดัชนีตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market Index) ประจำปี 2562 ในอันดับที่ 1 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ในกลุ่ม Beverages industry

ThaiBev

ทำให้ปีนี้ ไทยเบฟ ได้รับคัดเลือกให้เป็น Industry Leader, DJSI World Member, และ DJSI Emerging Market โดยไทยเบฟถือเป็นบริษัทในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มของอาเซียนเพียงบริษัทเดียว ที่ได้รับการประเมินให้เป็นผู้นำด้านความยั่งยืนในอันดับที่สูงที่สุดของโลกต่อเนื่อง 2 ปีซ้อน โดยในปีนี้ ไทยเบฟสามารถทำคะแนนได้ 92 คะแนน จากปีแล้ว 90 คะแนน โดยคะแนนที่เพิ่มขึ้นมาจากการดำเนินงานใน 2 ส่วนคือ การจัดการ Supply chain และการพัฒนาบุคลากร

ซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาและการขับเคลื่อนองค์กรภายใต้วิสัยทัศน์ 2020 ที่มุ่งมั่นสร้างสรรค์และแบ่งปันคุณค่าจากการเติบโต ที่ถือเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญที่ไทยเบฟให้ความยึดถือเพื่อสร้างความยั่งยืน โดยให้ความสำคัญตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ ตลอดจนการบริการจัดการซัพพลายเชน

ThaiBev

รวมถึงแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่มีกระบวนการการจัดการของเสียอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม ที่จะเป็นส่วนสำคัญในการช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน โดยการวางแผนหรือกลยุทธ์ในการดำเนินงานจะต้องสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน

ทั้งนี้ ไทยเบฟเน้นย้ำเรื่องห่วงโซ่คุณค่าตั้งแต่ การจัดซื้อ การผลิต การกระจายสินค้า การขาย การตลาด และสุดท้ายคือ การเก็บกลับ ภายใต้ความเชื่อที่ว่า ห่วงโซ่คุณค่า จะเข้มแข็งได้ คนที่เกี่ยวข้องต้องเข้มแข็งด้วย

โจทย์แรกของไทยเบฟคือ ต้องกลับไปมองว่าทำอย่างไรบริษัทถึงจะได้วัตถุดิบที่มีคุณภาพตลอดเวลาเพื่อนำมาสร้างสินค้าที่มีคุณภาพได้ ซึ่งก็ต้องกลับไปหาต้นน้ำอย่าง Supplier ว่ามีการบริหารจัดการน้ำที่ครอบคลุม และไม่ได้สร้างให้เกิดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและชุมชน

นอกจากนี้ยังได้นำเทคโนโลยีภาพถ่ายดาวเทียมเข้ามาวิเคราะห์ถึงทิศทางการไหลของน้ำ เปรียบเทียบในอดีตและปัจุบันเพื่อทำนายอนาคต ว่าทิศทางที่น้ำไหลไปจะมีสิ่งเจือปนอะไรบ้าง และต้องบริหารจัดการน้ำตรงนี้อย่างไร

ThaiBev

“ปีนี้ DJSI หันกลับมามองเรื่องของการคัดเลือกวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ซึ่งไม่ได้มองแค่ไทยเบฟ แต่กลับไปถามหาว่าวัตถุดิบต้นน้ำมีการจัดการความยั่งยืนมากน้อยขนาดไหน และสามารถที่จะวัดผลจาก third party หรือบุคคลที่สามได้หรือเปล่า สิ่งที่เขาเน้นย้ำมากขึ้นเรื่อย ๆ อีกข้อคือ เรื่องของมูลค่าเพิ่ม ซึ่งไม่ได้หมายถึงแค่เฉพาะตัวเงิน แต่หมายถึงสามารถสร้างสรรค์ได้จากการที่ลงไปทำงานร่วมกับสังคม แล้วขยายผลได้มากน้อยขนาดไหน”

 

และอีกโจทย์ที่สำคัญไม่แพ้กันคือ เรื่องของ Packaging ที่กำลังเป็นกระแสไปทั่วโลกในแง่ของการลดใช้พลาสติก ซึ่งในส่วนนี้หากใครติดตามแนวทางพัฒนาความยั่งยืนของไทยเบฟ จะเห็นว่าเมื่อ 4 ปีที่แล้ว ไทยเบฟได้ให้ความสำคัญกับ Circular Economy เพราะหนึ่งในห่วงโซ่คุณค่าของไทยเบฟอันสุดท้ายคือ การบริหารจัดการ Post Consumption Management หรือการเก็บกลับสิ่งที่คิดว่าจะมีผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมซึ่งก็คือตัวภาชนะบรรจุ โดยตั้งเป้าว่าทุกอย่างที่บริษัทผลิตจะต้องมีความสามารถในการเก็บกลับทั้งหมด

โดยในปัจุบันไทยเบฟประสบความสำเร็จอย่างมากในการเก็บกลับ และนำมาใช้ใหม่ในบรรจุภัณฑ์ที่เป็นกระดาษและธุรกิจแก้ว ซึ่งสามารถเก็บกลับและนำมาใช้ใหม่ไม่ต่ำกว่า 70% รวมทั้งที่ถูกแปรรูปไปแล้วเช่นเศษแก้วประมาณ 10% และตั้งเป้าที่ขยายไปยังเรื่องของขวดพลาสติก และกระป๋องอลูมิเนียม

ThaiBev

และอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ไทยเบฟทำคะแนนได้ดีอีกจุดคือ การสร้างวัฒนธรรมความยั่งยืนในองค์กร ภายใต้ความเชื่อที่ว่า การพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องเกิดจากภายในองค์กร ซึ่งเป็นความท้าทายอย่างมากสำหรับไทยเบฟ ที่จะปลูกฝังให้คนในองค์กรเข้าใจในทุกบริบทของความยั่งยืน แล้วสามารถนำไปปฏิบัติใช้ให้ได้ผลที่เหมือนกันในทุกภาคส่วน

 

“ตอนนี้สิ่งที่เราทำคือ เราพยายามชักจูงให้ทุกหน่วยธุรกิจในองค์กรเราคิดและแข่งขันกันเอง ผมว่าสิ่งที่สำคัญมากกว่าเราไปเทียบกับคนอื่น ซึ่งเราก็ถือว่าทำมาได้ดี แต่จะสำคัญมากกว่าคือ ถ้าเราจะทำให้ได้ดีกว่านี้ ผมว่าเราต้องสร้างให้ทุกคนในองค์กรไม่อยู่เฉย คือแข่งขันกันเอง เพื่อค้นหาว่าแนวทางไหนจะพัฒนาความยั่งยืนได้ดีกว่า แล้วก็ยึดของคนที่ดีกว่าเป็นหลักแล้วก็แข่งกันอีก

เรานำความรู้จากการที่เราถูกประเมิน DJSI มาย่อยเป็นวัฒนธรรมองค์กร และร่วมมือกับ C ASEAN ทำโครงการ Thaibev Sustainbility Academy เพื่อถ่ายทอดโนเลจไปในทุก ๆ ธุรกิจ แล้วก็พัฒนาพนักงานทุกคนให้เขาสามารถนำเอาสิ่งเหล่านี้ไปปฏิบัติได้ในงานของเขา”

 

ทั้งหมดนี้ เป็นการตอกย้ำความพร้อมถึงศักยภาพทางธุรกิจเครื่องดื่มครบวงจร และองค์กรแห่งความเป็นเลิศในทุกมิติของไทยเบฟ เพื่อตอบสนองความต้องการในทุกช่วงเวลาอันมีค่าของผู้บริโภค ควบคู่ไปกับการสร้างประโยชน์ต่อสังคมอย่างยั่งยืน สู่กลไกการขับเคลื่อนการดำเนินงานที่สอดคล้อง ตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนของการเป็นบริษัทชั้นนำระดับโลก

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: กฤษฎาพร วงศ์ชัย  (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่