“การประกวดศิลปกรรมช้างเผือก” ครั้งที่ 12 หัวข้อ “รักโลก” ผลงาน “หนึ่งเดียวกัน” คว้า “รางวัลช้างเผือก” ไปครอง

นิทรรศการ “ศิลปกรรมช้างเผือก ครั้งที่ 12” ภายใต้หัวข้อรักโลก” ที่จัดโดย บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ล่าสุดคณะกรรมการตัดสิน 9 ท่าน ประกอบด้วย  คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี ศาสตราจารย์เกียรติคุณพิษณุ ศุภนิมิตร ศาสตราจารย์เกียรติคุณถาวร โกอุดมวิทย์ ศาสตราจารย์ ดร. อภินันท์ โปษยานนท์ คุณนิติกร กรัยวิเชียร รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยยศ อิษฎ์วรพันธุ์ คุณกิตติภรณ์ ชาลีจันทร์ คุณวศินบุรี สุพานิช วรภาชน์ และ คุณลำพู กันเสนาะ การประกวดครั้งนี้ มีผู้ร่วมส่งผลงานทั้งหมด 270 ท่าน จำนวนผลงานรวม 327 ชิ้น และผ่านการคัดเลือกทั้งหมด 57 ชิ้นงาน

โดยผลงานที่ได้รับรางวัลช้างเผือก ได้แก่ “หนึ่งเดียวกัน”  โดย คุณจรัญ พานอ่อนตา รับเงินรางวัล 1,000,000 บาท รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ “ลูกรักโลก” โดย คุณบุญมี แสงขำ รับเงินรางวัล 500,000 บาท โดยในปีนี้ ได้เพิ่มรางวัลพิเศษ คือ รางวัลคุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี  ได้แก่ “โลกคือความหลากหลาย” โดย คุณสุรพันธ์ ขวัญแสนสุข รับเงินรางวัล 400,000 บาท รางวัล CEO AWARD ได้แก่ “ด้วยมือเรา” โดย นางสาวนารา วิบูลย์สันติพงศ์ รับเงินรางวัล 250,000 บาท นอกจากนี้ยังมีรางวัลรองชนะเลิศ 5 รางวัล รางวัลละ 200,000 บาท ประกอบด้วย คุณพิพัฒน์ จันทร์ทิพย์  คุณเพชราพร โสภาพ คุณลดากร พวงบุบผา คุณวีระพงศ์ แสนสมพร คุณอนันต์ยศ จันทร์นวล และรางวัลชมเชยอีก 12 รางวัล รางวัลละ 100,000 บาท รวมเงินรางวัลทั้งสิ้น  4,350,000 บาท

คุณนิติกร กรัยวิเชียร ผู้อำนวยการโครงการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และคณะกรรมการตัดสิน กล่าวว่า การประกวดศิลปกรรมช้างเผือก เกิดจากความตั้งใจอันดีของ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเฟ้นหาศิลปินไทยรุ่นใหม่ที่มีทักษะความสามารถทางศิลปะอันโดดเด่น ในการสร้างสรรค์ศิลปะแบบเหมือนจริง (Realistic) และศิลปะรูปลักษณ์ (Figurative Art) โดยยึดถือความเหมือนจริงเป็นแก่นสำคัญเพื่อให้ผลงานศิลปะเหล่านี้เป็นอีกหนึ่งแนวทางที่สำคัญ ในการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจด้านศิลปะร่วมสมัยให้ขยายไปสู่การรับรู้ของสังคมในวงกว้าง การดำเนินการประกวดศิลปกรรมช้างเผือก เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 และดำเนินงานต่อเนื่องเรื่อยมาเป็นประจำทุกปี โดยในปี พ.ศ. 2566 นับเป็นการจัดการประกวดครั้งที่ 12 ภายใต้หัวข้อ ‘รักโลก’ เพื่อให้ศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะได้แสดงฝีมือและความคิดสร้างสรรค์ โดยตีความจากโจทย์  ที่กำหนดให้ ซึ่งศิลปินที่เข้าร่วมประกวดแต่ละคน ก็ต่างสร้างสรรค์ผลงานที่น่าสนใจในรูปแบบและแนวทางที่แตกต่างได้อย่างน่าประทับใจ และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี

ศาสตราจารย์เกียรติคุณพิษณุ ศุภนิมิตร คณะกรรมการตัดสิน กล่าวว่า “ปีนี้รู้สึกตื่นเต้นมากครับ ที่ได้เห็นผลงานทั้งหมด เพราะศิลปินมีความตั้งใจมากๆ ส่งผลงานมาจำนวน 327 ชิ้น สำหรับหัวข้อ รักโลก ผมว่าง่ายสำหรับศิลปินที่ใช้จินตนาการ สร้างสรรค์ทำให้ศิลปินส่งผลงานเป็นจำนวนมาก สำหรับเกณฑ์การตัดสินคือหลักๆเป็นเรื่องของความคิด ทักษะคือสิ่งที่สนับสนุนความคิด รางวัลช้างเผือกเราต้องการสไตล์ Figurative และ Realistic ซึ่งใช้ฝีมืออย่างเดียวไม่พอต้องมีความคิดด้วย เพราะฉะนั้นคนที่ได้รางวัลช้างเผือก และรางวัลอื่นๆ ทุกคนมีแนวความคิดเป็นของตัวเอง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ รางวัลช้างเผือกในครั้งนี้เป็นผลงานที่ดีที่สุด กรรมการให้คะแนนเป็นเอกฉันท์เพราะงานของเค้าบอกความคิดเรื่องของโลกได้อย่างชัดเจนว่าโลกนี้มีความหลากหลาย ซึ่งทุกสิ่งที่เกิดขึ้นบนโลกนี้ประกอบด้วยมนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้องทุกอย่าง งานของเค้าจึงใช้คนจำนวนมากๆ มารวมตัวกันเป็นรูปทรงต่างๆ เป็นจุดหนึ่งที่น่าสนใจมากที่สุดในผลงานที่เราคัดเลือก”

ศาสตราจารย์เกียรติคุณถาวร โกอุดมวิทย์ คณะกรรมการตัดสิน กล่าวว่า “ในฐานะที่ผมเป็นศิลปินและกรรมการตัดสิน โครงการนี้ถือเป็นโครงการที่น่ายกย่องจากดำริของคุณฐาปน ที่ต้องการสนับสนุนศิลปินที่ทำงานในลักษณะเสมือนจริง Figurative และ Realistic เป็นการสนับสนุนทั้งทักษะในเชิงฝีมือ และเชิงความคิด สำหรับหัวข้อปีนี้ รักโลก เป็นหัวข้อที่ค่อนข้างอิสระ ทำให้ศิลปินส่งผลงานมาเป็นจำนวนมาก ในเรื่องเกณฑ์การตัดสิน เราดูในเชิงความคิด และความสอดคล้องกับหัวข้อที่เรากำหนด ทักษะฝีมือการนำเสนอ  โดยผลงานที่ได้รับรางวัลช้างเผือก เราเห็นผลงานโดดเด่นมาตั้งแต่รอบแรก ภาพที่เค้าส่งมาทางออนไลน์ เมื่อได้เห็นงานจริงเรารู้สึกประทับใจ เค้าสามารถใช้ตัว Figure มาสอดประสานร้อยเรียงให้เป็นเรื่องราว สะท้อนให้เห็นสภาวะของโลกไปสู่มิติตามจินตนาการ ตามวัตถุประสงค์ นิทรรศการศิลปกรรมช้างเผือกถือว่าเป็นนิทรรศการที่ค่อนข้างสำคัญในวงการศิลปะโดยเฉพาะกับศิลปินรุ่นใหม่ๆ ที่มีความหลากหลาย และมีความสามารถ อยากให้ติดตามชมนิทรรศการในครั้งนึ้ครับ”

ข้าพเจ้านำเรื่องราวความประทับใจในกิจกรรมการลงแขกเกี่ยวข้าวของสังคมชนบทอีสานของตนเอง มาเป็นแรงบันดาลใจ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์วิถี สร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัยผ่านเทคนิคกระบวนการเย็บปักเส้นด้าย ร้องเรียงเรื่องราวความรัก ความสัมพันธ์ ผสานพลังความสามัคคี ก่อเกิดความสุขของการร่วมแรงร่วมใจช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ภายใต้การใช้ชีวิตที่เรียบง่าย สามารถปรับประยุกต์วิถีชีวิตให้เข้ากับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างกลมกลืน โดยยึดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง รัชกาลที่ 9 ที่ตรัสถึง “ความพอเพียงสร้างได้ก็ต่อเมื่อคนในชุมชนช่วยเหลือเกื้อกูลกัน” เป็นประโยคที่จุดประกายความคิดให้ข้าพเจ้าเล็งเห็นถึงการมีส่วนร่วมจากส่วนรวม เพื่อสร้างสรรค์และสานสัมพันธ์ชุมชนไทยให้ยั่งยืนสืบไปนิทรรศการศิลปกรรมช้างเผือก ครั้งที่ 12 จัดแสดงผลงาน “รักโลก” ณ ชั้น 9 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน – 20 กรกฎาคม 2566 โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นองค์ประธานเปิดงานแสดง และพระราชทานรางวัล ในวันที่ 10 กรกฎาคม 2566