องค์กรไทยก้าวสู่อนาคตด้วยพับลิคคลาวด์ เพื่อตอบสนองธุรกิจและลูกค้าได้ดีขึ้น

นูทานิคซ์เผยข้อมูลสำรวจบริษัทในประเทศไทย นิยมโครงสร้างพื้นฐานไฮบริดคลาวด์มากกว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกและญี่ปุ่น และจากทั่วโลก

โดยใช้โครงสร้างพื้นฐานไอทีทั้งแบบดาต้าเซ็นเตอร์ ไพรเวทคลาวด์ และพับลิคคลาวด์ ที่ยังไม่ได้มีการผสานการทำงานร่วมกัน ผู้ตอบแบบสำรวจในไทยได้ระบุถึงเส้นทางเดินสู่การใช้ไฮบริดคลาวด์ของตน ด้วยการขยายการใช้บริการโครงสร้างพื้นฐานแบบมัลติพับลิคคลาวด์ในปีแรก หลังจากนั้นภายในปีที่สามจะใช้รูปแบบคลาวด์แบบผสมแต่ยังไม่ผสานการทำงานเข้าด้วยกัน โดยเป้าหมายการใช้บริการไฮบริดคลาวด์ คือ

1) ไฮบริดคลาวด์เป็นรูปแบบการใช้งานด้านไอทีที่เหมาะสม เป็นสถาปัตยกรรมที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย 92% ของผู้ตอบแบบสำรวจเห็นด้วยกับความคิดนี้

2) ผลสำรวจพบว่าบริษัทในไทยมีความพยายามอย่างมากในการวางแผนทั้งที่จะยกเลิก ปรับปรุง และบูรณาการดาต้าเซ็นเตอร์ที่ไม่ได้ใช้ระบบคลาวด์ 67% มีแผนใช้สภาพแวดล้อมที่เป็นไฮบริดภายในห้าปี ซึ่งเป็นจำนวนที่เพิ่มสูงขึ้น 63% เทจพอยต์จากระดับการใช้ไฮบริดในปัจจุบัน

3) ประเทศไทยนำหน้าในการใช้โครงสร้างพื้นฐานแบบไฮเปอร์คอนเวิร์จ (HCI) โดยเกือบ 70% รายงานว่าพวกเขาใช้งาน HCI อยู่แล้ว หรืออยู่ในระหว่างขั้นตอนการนำไปใช้ ในขณะที่ผลสำรวจทั่วโลกโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 50% เท่านั้น

4) แรงจูงใจสามอันดับแรกในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานไอทีให้ทันสมัยของบริษัทในไทยที่ตอบแบบสำรวจ คือ เพิ่มความเร็วเพื่อตอบสนองความต้องการทางธุรกิจ (79%) ควบคุมการใช้ทรัพยากรไอทีให้มีประสิทธิภาพขึ้น (67%) และให้สามารถให้การสนับสนุนลูกค้าได้ดีขึ้น (67%)

5) การแพร่ระบาดทั่วโลกยกระดับความสำคัญของไอที และเร่งให้มีการนำระบบคลาวด์มาใช้เร็วขึ้น มากกว่าสี่ในห้า (82%) ของผู้ตอบแบบสำรวจในไทยกล่าวว่า COVID-19 ทำให้องค์กรของตนมองเรื่องไอทีในเชิงกลยุทธ์มากขึ้น เป็นผลให้ 68% ของผู้ตอบแบบสำรวจรายงานว่ามีการเพิ่มการลงทุนในพับลิคคลาวด์ (เทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ 47%) ในขณะเดียวกันมีการลงทุนในไพรเวทคลาวด์เพิ่มขึ้น 56% (เทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ 37%)

ติดตาม Business+
ได้ที่ thebusinessplus.com