เศรษฐกิจไทยในปี 2564 ไม่ได้เจอแค่ผลกระทบจากแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่ยังต้องเผชิญกับความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี การเข้าสู่สังคมสูงวัย และยังมีสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง ที่เป็นตัวฉุดให้เสถียรภาพลดลง เมื่อเจอกับโรคระบาดเข้ามาผสมโรงจึงเกิดผลกระทบอย่างรุนแรง เพราะตัวแปรเหล่านี้เป็นสิ่งที่ขัดขวางการพัฒนาประเทศ หากเราต้องการให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างยั่งยืนต้องอาศัยการพัฒนาทุกมิติ เน้นการเพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรมที่เป็นจุดแข็ง และปิดส่วนที่เป็นจุดอ่อนให้รวดเร็ว ภาพรวมเศรษฐกิจประเทศไทยในปี 2564 ได้รับผลกระทบมาต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2563 และยังมาเจอผลกระทบที่หนักขึ้นนำไปสู่การใช้มาตรการคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เข้มงวดในไตรมาส 3/2564 และเพิ่งได้เปิดประเทศช่วงท้ายปี ดังนั้น GDP ปี 2564 จึงถูกคาดการณ์ว่าจะเหลือการเติบโตเพียง 0.3% – 1.2% เท่านั้น เมื่อนำภาพรวมเศรษฐกิจไทยมาวิเคราะห์จุดบกพร่อง ตามบริบทและสถานะในการพัฒนาของประเทศไทยภายใต้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ของ ‘สภาพัฒน์ฯ’ จะเห็นว่าเรายังขาดศักยภาพในหลาย ๆ มิติ เป็นที่มาของการไม่สามารถบรรลุเป้าหมายในเวลาที่กำหนด สิ่งที่เป็นจุดบกพร่องของทั้ง 7 มิติ ที่ควรแก้ไขเพื่อพัฒนาศักยภาพมีดังนี้ มิติความมั่นคง พบว่าเสถียรภาพทางการเมืองและประสิทธิผลของรัฐบาลลดลง เพราะประเทศไทยยังมีสถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศที่เกิดความแตกแยกทางความคิด จนเกิดเหตุการประท้วงมาอย่างยาวนาน ซึ่งถือเป็นประเด็นเรื้อรังของสังคมที่ทำให้ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลไทยลดน้อยลงทุกที ขณะที่ความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินยังค่อนข้างน่าเป็นห่วง ข้อมูลจาก …
Read More »