จากผลการสำรวจเมื่อปีพ.ศ.2550 ประเทศไทยมีสุนัขจรจัดประมาณ350,000 ตัว 10 ปีต่อมาพบว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ โดยในปีพ.ศ.2560 พบสุนัขจรจัดถึงประมาณ 820,000 ตัว จนกรมปศุสัตว์ ได้ออกมาคาดการณ์ว่าในปีพ.ศ.2570 ประเทศไทยจะมีสุนัขและแมวจรจัดถึงประมาณ 1.92 ล้านตัว และจะมากถึง 5 ล้านตัวในอีกประมาณ 20 ปีข้างหน้า โดยได้มีการออกพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 มาตรา 23 ห้ามมิให้เจ้าของสัตว์ปล่อย ละทิ้งหรือกระทำการใดๆ ให้สัตว์พ้นจากการดูแลของตนโดยไม่มีเหตุอันสมควร บทลงโทษปรับไม่เกิน 40,000 บาท ซึ่งสาเหตุที่ทำให้มีสุนัขและแมวจรจัดเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากนั้น ส่วนหนึ่งเกิดจากการถูกทอดทิ้งโดยผู้เป็นเจ้าของ ยิ่งในช่วงที่เกิดวิกฤตไวรัส Covid-19 แพร่ระบาด หลายคนเกิดความวิตกกังวล โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สัตวแพทย์หญิงวลาสินี ศักดิ์คำดวง คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ที่บ่งชี้ว่าสุนัขและแมวเป็นแหล่งแพร่เชื้อไวรัส Covid-19 ดังนั้นจึงไม่ควรทอดทิ้งสัตว์เลี้ยง และหากไม่มีความจำเป็นจริงๆ ก็ไม่แนะนำให้นำสัตว์เลี้ยงไปฝากตามสถานรับฝากสัตว์เลี้ยง เพราะอาจสร้างความเครียดให้กับสัตว์ และหากมีสัตว์เลี้ยงอยู่กันอย่างหนาแน่น อาจจะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ และนอกจากนี้ ควรล้างมือก่อน และหลังการสัมผัสตัวสัตว์ และทำความสะอาดอุปกรณ์และพื้นที่เลี้ยงสัตว์ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่เหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ ในขณะที่บุคลากรส่วนใหญ่ได้ Work From Home ตามมาตรการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ยังมีเจ้าหน้าที่ส่วนหนึ่งที่จะต้องมาปฏิบัติหน้าที่ตามปกติที่ “บ้านรักหมาศาลายา” ซึ่งเป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นเพื่อสวัสดิภาพสุนัขจรจัด มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ภายใต้การดูแลของคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สัตวแพทย์หญิงวลาสินี ศักดิ์คำดวง คณบดีฯ กล่าวว่าปัจจุบันพบว่าสุนัขที่อยู่ในโครงการ “บ้านรักหมาศาลายา” ส่วนหนึ่งมีอายุมากขึ้น และป่วยด้วยโรคที่มากับความชรา ได้แก่ โรคไต โรคเบาหวาน และโรคหัวใจ จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาพยาบาล และการจัดอาหารให้เหมาะสมต่อโรค ซึ่งที่ผ่านมาได้มีผู้บริจาคอาหารสัตว์จนเพียงพอแล้ว แต่ยังขาดในส่วนของอาหารที่ต้องใช้ดูแลเฉพาะโรค รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้นตามอายุของสัตว์ “ในช่วง Covid-19 ระบาด อยากให้รักษาสุขอนามัยกันให้ดีทั้งเจ้าของและสัตว์เลี้ยง เพื่อตัวท่านเองและสัตว์เลี้ยงที่ท่านรัก ที่สำคัญไม่ควรทอดทิ้งสัตว์เลี้ยงไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น โดย คณะสัตวแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดลเราเองก็ไม่ทอดทิ้งสุนัขที่อยู่ในความดูแลของโครงการ “บ้านรักหมาศาลายา” เช่นกัน แม้ว่าในช่วง Covid-19 ระบาด“บ้านรักหมาศาลายา” จะปิดเยี่ยมชม และงดกิจกรรมจิตอาสา แต่ก็ยังเปิดรับบริจาคสำหรับผู้ที่มีจิตเมตตาต่อสัตว์ โดยสามารถติดต่อได้ที่099-3302424 หรือ FB: บ้านรักหมาศาลายา มหาวิทยาลัยมหิดล – Salaya Dog Shelter Mahidol University (https://www.facebook.com/salayadogshelter) เราจะผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน คนและสัตว์ไม่ทอดทิ้งกัน” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สัตวแพทย์หญิงวลาสินี ศักดิ์คำดวง คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวเชิญชวนทิ้งท้าย
Read More »Tag Archives: มหาวิทยาลัยมหิดล
ม.มหิดล ผลักดันสิทธิคนพิการทำประกันโควิด
“ความพิการไม่ใช่โรค” นอกจากความบกพร่องทางร่างกายบางส่วนแล้ว คนพิการไม่มีอะไรแตกต่างไปจากคนทั่วไป เรามีสิทธิในการดำรงชีวิตเฉกเช่นเดียวกัน ในขณะที่ทั่วโลกกำลังถูกคุกคามด้วยภัยจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 คนพิการก็เป็นประชากรกลุ่มหนึ่งที่ได้รับผลกระทบเช่นกัน อาจารย์แพทย์หญิงวัชรา ริ้วไพบูลย์ คณบดีวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า คนพิการมีอุปสรรคอย่างมากในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารการระบาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา รวมทั้งข้อมูลความรู้ และมาตรการในการป้องกันตัวเอง หรือช่วยป้องกันการแพร่ระบาดในสังคม นอกจากนั้น มาตรการต่างๆ ยังส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง และทำให้มีปัญหาอุปสรรคในการดำรงชีวิตต่อผู้คนในสังคมได้ โดยเฉพาะคนพิการที่มีความจำกัดของความสามารถในการดำรงชีวิตที่แตกต่างจากคนทั่วไป โดยในกลุ่มคนพิการทางร่างกายและการเคลื่อนไหว อาจมีความยากลำบากในการปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน เช่น การล้างมือและการใส่หน้ากากด้วยตนเอง เนื่องจากในบางรายอาจขยับแขน/มือไม่ได้ รวมทั้งยากลำบากที่จะป้องกันอุปกรณ์ช่วยความพิการไม่ให้แปดเปื้อนเชื้อโรค หรือในรายที่ต้องนั่งรถเข็น ก็อาจไม่สามารถเอื้อมถึงเจลล้างมือ หรืออุปกรณ์ป้องกันที่วางไว้ในที่สูงเกินไป และเมื่อจำเป็นต้องมีผู้ช่วยเหลือก็จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นก็ทำให้ยากลำบากต่อการทำตามมาตรการรักษาระยะห่างเพื่อการป้องกันการติดเชื้อ (Social Distancing) ในส่วนของกลุ่มคนพิการทางการเห็น ก็มีข้อจำกัดในเรื่องมาตรการรักษาระยะห่างเพื่อป้องกันการติดเชื้อ เนื่องจากต้องใช้มือสัมผัสช่วยการรับรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัว และที่สำคัญคือ มีข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอย่างมาก เช่นเดียวกับกลุ่มคนพิการทางการได้ยิน แต่แตกต่างกันในอุปสรรคที่ทำให้เข้าไม่ถึงข้อมูล โดยคนพิการทางการเห็น จำเป็นต้องได้รับข้อมูล โดยเฉพาะจากสื่อสาธารณะที่มีการบรรยายด้วยเสียง หรือข้อความที่อยู่ในรูปแบบที่มีโปรแกรมช่วยแปลงเป็นเสียงอ่านได้ เช่น word file จึงทำให้คนพิการลักษณะนี้อาจต้องมีอุปกรณ์ช่วยในการเข้าถึงข้อมูลเพิ่มขึ้น ในขณะที่คนพิการทางการได้ยิน จำเป็นต้องมีล่ามภาษามือช่วยแปล หรือภาพที่มีคำบรรยายประกอบ …
Read More »ม.มหิดล สร้างสรรค์แอปพลิเคชัน “เสียงยิ้ม” และ “ความจำ&ความสุข” สู้วิกฤต COVID-19
นับตั้งแต่เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2563 ที่พบผู้ติดเชื้อ COVID-19 รายแรกในไทย จนปัจจุบันมีจำนวนเพิ่มขึ้นถึงหลักร้อย ท่ามกลางความตื่นความตระหนก “สติ” เท่านั้นคือสิ่งเดียวที่จะทำให้เราผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง นักกิจกรรมบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงสอนให้พวกเรา “ยิ้มสู้” ไม่ว่าจะเจออุปสรรคอะไร ธรรมชาติของโรคระบาด จะมีทั้งขาขึ้น และขาลง ตอนเราลง ถ้าเรามี “สติ” รู้เท่าทันว่าจะต้องป้องกันตัวเองอย่างไรด้วยความ “สงบ” ซึ่งสงบในที่นี้คือ “การคิดบวก” และการมี “อารมณ์ที่มั่นคง” รวมทั้งมีการสื่อสารที่ดี จากการ “คิดดี พูดดี ทำดี” จะทำให้เรามีภูมิต้านทานโดยธรรมชาติ “ความยืดหยุ่น” และ “การปรับตัว” เป็นทักษะชีวิตที่สำคัญประการแรกๆ ในโลกยุคศตวรรษที่ 21 ที่มีการเปลี่ยนแปลงในทุกวัน จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเปรียบเหมือนบททดสอบว่าเรามีพร้อมเพียงใดที่จะเผชิญโลกต่อไปข้างหน้า …
Read More »ม.มหิดล เตรียมพร้อมมุ่งสู่ 1 ใน 100 มหาวิทยาลัยโลก สร้างบรรยากาศความเป็นนานาชาติ เปิดห้องปฏิบัติการแลกเปลี่ยนวิชาการ
ในการพัฒนาประเทศให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงโลก การพัฒนางานวิจัยและสร้างสรรค์นวัตกรรมถือเป็นภารกิจสำคัญของสถาบันอุดมศึกษา โดยที่ผ่านมา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้มีนโยบายที่จะผลักดันให้มหาวิทยาลัยมหิดล เป็น 1 ในมหาวิทยาลัยต้นแบบของประเทศที่จะขึ้นไปอยู่ใน 1 ใน 100 อันดับมหาวิทยาลัยโลก สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหน่วยงานที่ทำรายได้จากนวัตกรรมเป็นลำดับต้นๆ ของมหาวิทยาลัย ซึ่งเกิดจากการผลักดันงานวิจัยที่มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและยาวนานมากว่า 30 ปี ไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ โดยเฉพาะเรื่องวัคซีนเดงกี่ หรือ ไข้เลือดออก ซึ่งตอนนี้ทางบริษัทเอกชนที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีกำลังทำการศึกษาวิจัยในคน และมีแนวโน้มที่จะนำออกไปสู่ตลาดโลก เพื่อช่วยป้องกันการติดเชื้อไข้เลือดออก อาจารย์ ดร. นายแพทย์กิตติพงศ์ ไพบูลย์สุขวงศ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนานวัตกรรม สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึงนโยบายในการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างสรรค์งานวิจัยและนวัตกรรมของสถาบันฯ โดยมองไปถึงตัวชี้วัดในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกในด้านความเป็นนานาชาติ (Internationalization) ซึ่งที่ผ่านมา สถาบันฯ ได้มีการลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยในประเทศอินโดนีเซีย 2 มหาวิทยาลัย ในการแลกเปลี่ยนนักศึกษา โดยได้เปิดให้นักศึกษาทางการแพทย์จากประเทศอินโดนีเซียมาศึกษาดูงานเป็นเวลาอย่างน้อย 4 สัปดาห์ที่สถาบันฯ เพื่อเพิ่มบรรยากาศความเป็นนานาชาติ โดยในปีที่ผ่านๆ …
Read More »ม.มหิดล วางยุทธศาสตร์มุ่งผลิตนวัตกรรมสุขภาพ
โลกในศตวรรษที่ 21 มีสิ่งที่ท้าทายในระบบสุขภาพมากมาย ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบและความสูญเสียต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน และเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างมหาศาล จึงจำเป็นต้องมีการปรับตัวเพื่อพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นอยู่เสมอ ในการพัฒนาระบบสุขภาพไทย โดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัล 5G มาใช้ร่วมกับเทคโนโลยีใหม่ๆ การแพทย์ เป็นความหวังที่จะช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการสุขภาพได้ตามความต้องการ และรวดเร็ว โดยพบว่า ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เริ่มเข้ามามีบทบาทในระบบสาธารณสุขทั่วโลกมากขึ้น เมื่อเร็วๆ นี้ ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ภัทรชัย กีรติสิน ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล (iNT) ได้รับเกียรติบรรยายในหัวข้อ “ระบบสุขภาพไทยในยุค 5G” ในการประชุมวิชาการครั้งที่ 27 เรื่อง “ความท้าทายการพยาบาลในศตวรรษที่ 21” จัดโดย สมาคมศิษย์เก่าพยาบาลศิริราชในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ โดยกล่าวว่า “ระบบสุขภาพ” (Healthcare System) ทั่วโลกตอนนี้กำลังจะเกิดการเปลี่ยนแปลง (disruption) อย่างสิ้นเชิง ด้วยความก้าวหน้าทางดิจิทัลและเทคโนโลยี 5G ที่กำลังมา ทำให้หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ …
Read More »ม.มหิดล จัดอบรมเสริมพลังผู้นำสุขภาพท้องถิ่นทั่วไทย พร้อมขยายผลสู่ภูมิภาคอาเซียน
จากคำประกาศ Alma-Ata ขององค์การอนามัยโลก ว่าด้วยการสาธารณสุขมูลฐาน (Primary Health Care) ที่ประเทศไทยได้เริ่มนำงานสาธารณสุขมูลฐานมาใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 ให้การรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ในโรงพยาบาล ได้พัฒนาสู่งานชุมชน จากงานบริการดูแลรักษาสุขภาพเบื้องต้น สู่งานบริการสาธารณสุขมูลฐาน จนเกิด “อาสาสมัครสาธารณสุข” หรือ อสม. ที่ยกระดับจากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รัฐบาลได้กำหนดให้วันที่ 20 มีนาคมของทุกปีเป็น “วันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติ” เพื่อเป็นการให้ความสำคัญของอาสาสมัครสาธารณสุข ที่พัฒนาสุขภาพดีถ้วนหน้า (Health For All) มาสู่คุณภาพชีวิตที่ดี ตามภาวะกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลง ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ภูดิท เตชาติวัฒน์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า งานสาธารณสุขมูลฐาน เป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนางานสาธารณสุขของประเทศ โดยตลอด 36 ปีที่ผ่านมา สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล …
Read More »ม.มหิดล ประยุกต์องค์ความรู้เพื่อมวลมนุษยชาติ ดำเนินโครงการสำรวจสุขภาพประชาชนลาว ด้านโรคไม่ติดต่อ
ประเทศไทย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เปรียบเหมือนบ้านพี่เมืองน้องที่มีความใกล้ชิดทางเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา และวัฒนธรรม โดยในปี 2563 ถือเป็นปีครบรอบ 70 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตไทย – สปป.ลาว รัฐบาลไทย โดย กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ (Thailand International Cooperation Agency : TICA) ได้ร่วมกับรัฐบาล สปป.ลาว ดำเนินโครงการสำรวจสุขภาพประชาชนลาว ด้านโรคไม่ติดต่อ เพื่อนำผลไปใช้ในการวางแผนด้านนโยบายสาธารณสุขของประเทศ ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาไทย – ลาว ระยะ 3 ปี (พ.ศ.2563 – 2565) สาขาสาธารณสุข โดยได้มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อเร็วๆ นี้ ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์วิชัย เอกพลากร ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะหัวหน้าโครงการฯ กล่าวว่า ในขณะนี้ทุกประเทศทั่วโลกมีแนวโน้มของปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง …
Read More »ม.มหิดล จัดอบรมเสริมพลังผู้นำสุขภาพท้องถิ่นทั่วไทย พร้อมขยายผลสู่ภูมิภาคอาเซียน
จากคำประกาศ Alma-Ata ขององค์การอนามัยโลก ว่าด้วยการสาธารณสุขมูลฐาน (Primary Health Care) ที่ประเทศไทยได้เริ่มนำงานสาธารณสุขมูลฐานมาใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 ให้การรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ในโรงพยาบาล ได้พัฒนาสู่งานชุมชน จากงานบริการดูแลรักษาสุขภาพเบื้องต้น สู่งานบริการสาธารณสุขมูลฐาน จนเกิด “อาสาสมัครสาธารณสุข” หรือ อสม. ที่ยกระดับจากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รัฐบาลได้กำหนดให้วันที่ 20 มีนาคมของทุกปีเป็น “วันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติ” เพื่อเป็นการให้ความสำคัญของอาสาสมัครสาธารณสุข ที่พัฒนาสุขภาพดีถ้วนหน้า (Health For All) มาสู่คุณภาพชีวิตที่ดี ตามภาวะกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลง ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ภูดิท เตชาติวัฒน์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า งานสาธารณสุขมูลฐาน เป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนางานสาธารณสุขของประเทศ โดยตลอด 36 ปีที่ผ่านมา สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล …
Read More »นักวิจัย ม.มหิดล คิดค้นผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยเบาหวานด้วยวัตถุดิบจากข้าวไทยครั้งแรก ส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ป่วย และเศรษฐกิจของประเทศ
จากสถิติของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ระหว่างปี 2554 – 2560 ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 11 เป็นร้อยละ 21 ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มของอุบัติการณ์ของโรคเบาหวานที่นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนรัฐต้องมีการรณรงค์กันอย่างจริงจังเพื่อลดจำนวนอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานกันอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน เนื่องจาก “ข้าว” เป็นพืชอาหารที่สำคัญชนิดหนึ่งของโลก และนับเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีบทบาทมากที่สุดในการส่งออกข้าว ซึ่งจากข้อมูลของสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ระบุว่าไทยส่งออกข้าวเกือบ 4 แสนตันในปี 2562 ที่ผ่านมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภัทร์ ไชยกุล ภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หัวหน้าโครงการวิจัยที่ได้รับทุนจาก สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) – สวก. ได้ริเริ่มโครงการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน โดยใช้ข้าวเป็นวัตถุดิบหลักเพื่อทดแทนผลิตภัณฑ์นำเข้าจากต่างประเทศ โดยได้เล่าถึงที่มาของโครงการวิจัยว่า เนื่องจากผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน มีความจำเป็นสำหรับผู้ป่วย และมีความต้องการเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามจำนวนผู้ป่วยหรือแม้กระทั่งผู้ที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดที่เพิ่มมากขึ้น ผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในตลาดส่วนใหญ่นำเข้ามาจากต่างประเทศและมีราคาแพง ผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องบริโภคต้องแบกรับค่าใช้จ่ายสูง ดังจะเห็นได้ว่าการบริโภคผลิตภัณฑ์ 1 มื้ออาหารต้องมีค่าใช้จ่ายประมาณ 60 บาทขึ้นไป เฉลี่ยต่อวันที่ …
Read More »MSC University Network มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา
บริษัท เมโทรซิสเต็มส์คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ MSC จัดกิจกรรมโครงการ “MSC University Network” ณ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563 นำโดย คุณเสาวคนธ์ ศิรกิดากร รองกรรมการผู้จัดการกลุ่มทรัพยากรบุคคล บริษัท เมโทรซิสเต็มส์คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ ผศ.ดร.คงฤทธิ์ หันจางสิทธิ์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา ร่วมต้อนรับอย่างอบอุ่น ภายในงานได้รับเกียรติจาก คุณมีลาภ โสขุมา AVP Of Digital Transformation บรรยายความรู้เรื่อง “Enterprise IT in Disruption Era” บริษัท เมโทรซิสเต็มส์คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้มอบความรู้ และข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจใหม่ๆ ให้กับนักศึกษาสามารถต่อยอดองค์ความรู้ในมหาวิทยาลัย …
Read More »