ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มานพ แย้มแฟง นายจงใจ ชัยจันดี นายศุภกิจ ซ่อนกลิ่น และนายธนัสพงษ์ วรรณคำ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ ออกแบบและสร้างเครื่องแยกเส้นใยผักตบชวา ลดเวลาและแรงงานคนในการแยกเส้นใยจากผักตบชวา ผศ.ดร.มานพ เล่าว่า มีการนำผักตบชวามาจักรสานเป็นการเพิ่มมูลค่า โดยผักตบชวามีส่วนประกอบของเส้นใย สามารถนำเส้นใยไปผ่านกระบวนการขึ้นรูปเป็นเส้นด้ายทอเป็นผืนผ้า นำไปตัดเย็บเป็นเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า และหมวก การเพิ่มมูลค่าเส้นใยผักตบชวา สู่เชิงพาณิชย์ของจังหวัดปทุมธานี ทีมนักวิจัยจากคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ ก่อนที่ผักตบชวาเป็นเส้นใย ต้องใช้เครื่องจักรขูดต้นผักตบชวาให้เป็นเส้นใย ทางอาจารย์และนักศึกษาภาควิศวกรรมเครื่องกล ได้นำปัญหาดังกล่าวมาการออกแบบและสร้างเครื่องแยกเส้นใยผักตบชวา โดยจุดเด่นของเครื่องอยู่ที่ชุดใบขูด ด้วยขนาดผักตบชวาโคนใหญ่ปลายเล็กถ้าตั้งระยะมันไม่เหมาะสม ระยะชิดเกินไปใส่โคนผักตบทำให้ขาด ถ้าตั้งระยะห่างเกินไปถึงช่วงปลายของผักตบชวาถ้าไม่สามารถขูดเส้นใยได้ นำปัญหาตรงนี้มาออกแบบชุดใบขูด ทุกใบขูดขณะทำงานสามารถปรับเคลื่อนไหวได้ตลอดเวลา ปรับตามขนาดของวัสดุที่ใส่เข้าไปลงไปอัตโนมัติ ใช้งานไปนาน ๆ ใบสึกสามารถสลับด้านได้ หรือสามารถถอดออกมาเจียรแล้วนำใส่ใหม่ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้กับวัสดุธรรมชาติชนิดอื่น เช่น กาบกล้วย ปัจจุบันได้จดสิทธิบัตรเครื่องเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นำเครื่องไปทดลอง พื้นที่ตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี …
Read More »