โรคกระดูกสันหลังเสื่อม รู้เร็ว รักษาได้

โรคกระดูกสันหลังเสื่อม รู้เร็ว รักษาได้

ถือเป็นเรื่องที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดว่า โรคกระดูกสันหลังเสื่อม (Spondylosis) ปกติแล้วจะพบได้ในผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันเริ่มพบในผู้ป่วยที่อายุต่ำกว่านั้นมากขึ้น ซึ่งจะเป็นเรื่องที่ดี หากว่าสามารถตรวจพบเจอสิ่งปกติได้เร็ว นำมาซึ่งการรักษาที่ทันท่วงที

อย่างที่ผมเกริ่นในตอนต้นว่า โรคกระดูกสันหลังเสื่อม (Spondylosis) เป็นอาการที่กระดูก, หมอนรองกระดูก, ข้อต่อ, เส้นเอ็นกระดูก และกล้ามเนื้อหลังเสื่อมสภาพ ส่งผลให้กระดูกสันหลังขาดความยืดหยุ่น แข็งตัวมากขึ้น มักเกิดขึ้นบริเวณกระดูกสันหลังส่วนคอ (Cervical Spine) และกระดูกสันหลังส่วนเอว (Lumbar Spine) ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว โรคนี้พบได้ในผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันเริ่มพบในผู้ป่วยที่อายุต่ำกว่านั้นมากขึ้น

 

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเรามีอาการของโรคกระดูกสันหลังเสื่อม ?

คำแนะนำของหมอ คือ อยากให้ทุกคนหมั่นตรวจเช็กร่างกายของตนเองเป็นประจำ หากว่าร่างกายแสดงอาการเจ็บปวด โดยเฉพาะบริเวณคอหรือหลัง จะแสดงอาการปวดแบบเป็น ๆ หาย ๆ แต่บางคนอาจมีอาการปวดเรื้อรัง หรือบางครั้งอาการปวดอาจจะรุนแรงขึ้นเมื่อเปลี่ยนท่าทางก็ได้ ซึ่งหากพบว่าความสามารถในการเคลื่อนไหวเริ่มผิดปกติ หรือพบปัญหามือ, แขน, เท้า และขา มีอาการชา อ่อนแรง ควรรีบพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ ประเมินหาแนวทางรักษา และช่วยป้องกันกระดูกสันหลังเสื่อมเพิ่ม

“หลายคนอาจจะละเลยอาการปวดคอหรือหลัง ซึ่งคนปกติไม่สามารถตรวจหาสาเหตุของอาการปวดได้ เว้นแต่จะเข้ามารักษา ซึ่งโรคกระดูกสันหลังเสื่อมคือการที่กระดูก หมอนรองกระดูก ข้อต่อ เส้นเอ็นกระดูก และกล้ามเนื้อหลังเสื่อมสภาพเมื่ออายุเพิ่มขึ้น จากการที่กระดูกสันหลังโค้งงอเป็นเวลานาน จนก่อให้เกิดแรงกดบนหมอนรองกระดูกและข้อต่อของกระดูกสันหลัง นำมาซึ่งความเสียจากความยืดหยุ่นไป

ยกตัวอย่างเช่น การนั่งติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ โดยเฉพาะการนั่งหลังค่อม พอลุกจากเก้าอี้ กระดูกสันหลังจะถูกทำให้ตรงในทันที จึงทำให้เกิดการเสียดทานขึ้น ร่างกายจึงสร้างกระดูกงอกออกมาจากข้อต่อเพื่อชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น แต่ในบางครั้งกระดูกที่งอกขึ้นมานั้นมีขนาดใหญ่เกินไปจนเบียดกับเส้นประสาทและ
ไขสันหลัง ทำให้เกิดอาการปวด

ทั้งนี้ เมื่อกระดูกงอกออกจากข้อกระดูกสันหลัง อาจกดทับเส้นประสาทที่เรียกกันว่า “โรคกระดูกทับเส้น” หากเป็นกระดูกหลังเสื่อม อาจกดทับเส้นประสาทขา ทำให้มีอาการปวดหลังร้าวไปที่ขา และอาจมีอาการชาหรืออ่อนแรงขาร่วมด้วยได้”

 

การรักษาหมอนรองกระดูกปลิ้นทับเส้นประสาท

การรักษาโรคหมอนรองกระดูกปลิ้นทับเส้นประสาท สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

กลุ่มที่ 1 อาการไม่รุนแรงมาก เริ่มจากการกินยาแก้ปวด กายภาพบำบัดหรือฉีดยาเพื่อระงับความปวดเข้าที่โพรงประสาท ซึ่งหากอาการไม่ดีขึ้น วิธีถัดไปคือการผ่าตัดส่องกล้อง

กลุ่มที่ 2 กลุ่มผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ในการรักษาด้วยการผ่าตัด สำหรับการรักษาโรคหมอนรองกระดูกตีบตันด้วยวิธีการผ่าตัดส่องกล้อง แพทย์สามารถเลือกตัดเฉพาะส่วนที่กดทับจากหมอนรองกระดูกที่ปลิ้นหรือการบีบรัดจากกระดูกข้อตรงตำแหน่งของหมอนรองกระดูกที่มีปัญหาก็ได้ ที่สำคัญการผ่าตัดด้วยวิธีนี้จะกระทบกับ กล้ามเนื้อน้อยมาก ด้วยวิธีการผ่าตัดกระดูกสันหลังด้วยกล้องเอ็นโดสโคป หรือการเจาะรูส่องกล้อง (PSLD ในบริเวณหลัง) ซึ่งเทคนิคนี้จะใช้อุปกรณ์ที่มีเลนส์ของกล้องเอ็นโดสโคปติดอยู่ที่ปลายกล้อง เปรียบเสมือนดวงตาของแพทย์อยู่ในตัวผู้ป่วย ทำให้แพทย์สามารถมองเห็นความผิดปกติได้อย่างชัดเจน แม่นยำ สามารถรักษาเฉพาะส่วนที่ทำให้เกิดปัญหาได้ โดยไม่ต้องตัดเลาะกล้ามเนื้อส่วนที่ดีออก ทำให้แผลเล็ก เจ็บน้อย ปลอดภัย ฟื้นตัวเร็ว เพียง 1 คืนก็สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ

“ในระยะเวลา 7 ปีที่ผ่านมา โรงพยาบาลเอส สไปน์ ได้รักษาผู้ป่วยกว่า 100,000 ราย ซึ่งเป็นสถิติที่ยืนยันถึงความเป็นเลิศในการรักษาโรคกระดูกสันหลัง รวมถึงเป็นการยืนยันถึงความไว้วางใจที่ผู้ป่วยมีต่อโรงพยาบาล ว่าได้รับผลลัพธ์ที่ดีขึ้น สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

แน่นอนว่า ความพร้อมของเทคโนโลยีใหม่ อาทิ การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ MRI (Magnetic resonance imaging) แบบยืน เพื่อปลดล็อกปัญหาคนกลัวที่แคบ และเพื่อให้น้ำหนักกดลงในแนวดิ่งเสมือนการยืนแล้วทำให้มีอาการปวดหลังจริง ซึ่งแพทย์สามารถเห็นภาพการตรวจที่ใกล้เคียงสภาพความเป็นจริงของผู้ป่วยได้มากขึ้น อีกทั้งผู้ที่มีภาวะกลัวที่แคบก็สามารถตรวจได้ เนื่องจากผู้พัฒนาสนามแม่เหล็กในแนวดิ่งได้ออกแบบให้สนามแม่เหล็กมีขนาดเล็กลง ทำให้สามารถหมุนทั้งแนวตั้งและแนวนอน เพื่อสร้างภาพได้ทั้งขณะนอนและยืนได้ โดยรูปร่างของเครื่องจะมีลักษณะเปิดโล่งด้านข้างทั้ง 2 ฝั่ง ซึ่งต่างจากเครื่อง MRI แบบอุโมงค์ จึงช่วยในผู้ป่วยที่รู้สึกกลัวที่แคบสามารถเข้ารับการตรวจได้แบบไร้กังวล

ปัจจุบันเครื่อง MRI ที่มีอยู่ทั่วโลก ประมาณ 90% เป็นแบบอุโมงค์ ซึ่งต่างจากเครื่อง MRI แบบยืนที่มีจำนวนไม่มาก แต่ที่โรงพยาบาลเอส สไปน์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง ได้เล็งเห็นประโยชน์ของเครื่อง MRI แบบยืน จึงนำมาใช้ในการตรวจผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านกระดูกสันหลัง ซึ่งมีเพียงเครื่องเดียวในประเทศไทย เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับผลการตรวจวินิจฉัยที่แม่นยำและตรงจุด แก้ปัญหาที่ต้นเหตุและเหมาะกับผู้ป่วยที่มีภาวะกลัวที่แคบ

นอกจากการตรวจหาสาเหตุด้วยเครื่อง MRI แบบยืนแล้ว การได้รับคำวินิจฉัยที่ถูกต้องจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลังจะช่วยให้การรักษาได้ผลลัพธ์ที่ดีและหายอย่างยั่งยืน”

 

Writer : นายแพทย์ดิตถพงษ์ บุญอำพล ศัลยแพทย์ และผู้บริหาร โรงพยาบาลเอส สไปน์

ติดตามผ่าน TikTok ได้ที่ : https://www.tiktok.com/@thebusinessplus
Line Business+ : https://lin.ee/pbIHCuS
IG : https://www.instagram.com/businessplus.newgen2021/
#TheBusinessPlus #Businessplus #BusinessPlus #นิตยสารBusinessplus