C asean

Social Enterprise DNA of C asean

จบลงไปอย่างสวยงามสำหรับงาน C asean Sustainable Development Talk ดินเนอร์ ทอล์คเสริมสร้างแรงบันดาลใจจาก บริษัท ซี เอ ซี จำกัด (C asean) ที่ลุกขึ้นมาเป็นกระบอกเสียงเผยแพร่แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึงรูปแบบธุรกิจ เพื่อสังคม (Social Business ) มาช่วยแก้ไขปัญหาสังคม ผ่านการเชื่อมโยงสู่คนรุ่นใหม่ในภูมิภาคอาเซียน

ซึ่งภายในงานได้รับความร่วมมือจาก ศาสตราจารย์ Muhammed Yunus เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ พร้อมด้วย มีชัย วีระไวทยะ ต้นแบบธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ของเมืองไทย มาร่วมเสวนาแนวคิดด้านความยั่งยืนระดับโลกในครั้งนี้ด้วย

งานในครั้งนี้เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ยิ่งตอกย้ำว่า C asean ต้องการเป็นตัวเชื่อมโยงให้เกิด Social Enterprise ดังเช่นวิสัยทัศน์ของ C asean ที่ว่า “Collabaration for the Better of ASEAN’s Connectivity” เราจะเป็นพื้นที่แห่งความร่วมมือเพื่อการเชื่อมโยงในภูมิภาคที่ดีขึ้น เรามองถึงกลุ่มคนที่เป็นตัวผลักดันอนาคตนั่นคือกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีพลังและกลุ่มผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่จะเป็นเครื่องจักรสำคัญให้อาเซียนเติบโตไปข้างหน้า

และไม่เพียงเฉพาะบ่มเพาะและผลักดันให้เกิด Social Enterprise ในประเทศไทยเท่านั้นแต่เป้าหมายที่แท้จริงของ C asean คือการเป็น “Hub of ASEAN Entrepreneurs” หรือการเป็นศูนย์กลางของผู้ประกอบการรุ่นใหม่ของอาเซียน ที่แม้จะเริ่มต้นจากพื้นที่ของศูนย์ที่ตั้งอยู่ประเทศไทย แต่วิสัยทัศน์และขอบเขตของการทำงานอยู่ในระดับอาเซียนโดยเน้นไปที่ “Young Startups” หรือผู้ประกอบการมือใหม่ที่อายุน้อย ซึ่งคนกลุ่มนี้จะก้าวเข้ามาฟันเฟืองสำคัญที่จะขับเคลื่อนให้ภูมิภาคนี้เติบโตต่อไป

แต่ที่น่าสนใจคือ C asean ไม่ได้พูดถึงเฉพาะธุรกิจและกำไรเท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญถึง Arts , และ Culture ด้วยซึ่งสะท้อนผ่านโลโก้อย่างชัดเจน ตัวโลโก้ของ C asean จะประกอบด้วยคำว่า Business (ธุรกิจ), Arts (ศิลปะ), และ Culture (วัฒนธรรม) อยู่ด้วย

ซึ่ง C asean จะขับเคลื่อนผ่าน 4 พันธกิจคือ

Sustainability

อาทิเช่น โครงการประชารัฐ ซึ่งเป็นโมเดลที่ คุณต้องใจ ธนะชานันท์ กรรมการบริหาร บริษัท ซี เอ ซี จำกัด กล่าวว่า เป็นโมเดลที่สามารถเผยแพร่ไปยังประเทศอื่นโดยเฉพาะอาเซียนได้ผ่าน C asean เพราะ C aseanไม่ได้จำกัดอยู่ในประเทศไทยแต่เป็นศูนย์กลางที่เชื่อม asean เข้าด้วยกัน

Talent Development

ส่วนนี้ถือเป็นส่วนสำคัญ เห็นได้จากการลงทุนเปลี่ยนพื้นที่ชั้น 10 ของอาคาร CW Tower ให้กลายเป็น ดรีม ออฟฟิส สำหรับ New Gen เพื่อให้เหล่าสตาร์ทอัพที่อยากทำธุรกิจที่ขยายไปใน AEC มาใช้เป็นพื้นที่ทำงาน และเป็นสื่อกลางให้ สตาร์ทอัพแต่ละประเทศมาเชื่อมโยง พูดคุยและหาพันธมิตรทางธุรกิจที่นี่ ซึ่งปัจุบัน ทาง C asean ได้ทำการเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างประเทศได้ 2 ประเทศ คือ สิงคโปร์และมาเลเซีย ซึ่งทางคุณวิเชฐ ตันติวานิช ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซี เอ ซี จำกัด กล่าวว่าในอนาคต C asean จะทำหน้าที่ขยายความร่วมมือนี้ให้ครอบคลุมทุกประเทศ asean

Arts and Culture

จุดนี้ถือเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้น ซึ่ง C asean ได้ตั้งวงดนตรี “ซี อาเซียน คอนโซแนนท์” วงดนตรีเยาวชนจาก 10 ประเทศ 10 เครื่องดนตรีประจำชาติ ซึ่งมีโอกาสได้เดินทางไปบรรเลงเพลงในหลายๆประเทศ รวมไปถึงงาน“ครบรอบ 50 ปีอาเซียน” ที่ประเทศมาเลเซียด้วย

Technology

และสุดท้ายคือเรื่องของการเชื่อมโยงทางด้าน อินโนเวชั่น ผ่านการจัดประชุม สัมนา และการแข่งขัน ซึ่งในเดือนพฤษภาคมนี้ C asean มีแผนจะคลอดโปรเจ็ก รายการเรียลลิตี้ SE ที่จะเชิญชวนคนรุ่นใหม่ที่ฝันจะมีธุรกิจเพื่อสังคม แต่ขาดประสบการ ขาดเงินทุน มาแข่งขันเสนอไอเดีย ธุรกิจเพื่อสังคม ผู้ที่ผ่านเข้ารอบจะได้รับการเทรนด์และปฎิบัติภารกิจในแต่ละสัปดาห์ และผู้ชนะ จะได้รับเงินรางวัลสำหรับเริ่มต้นธุรกิจอีกด้วย

“ตัว C asean ไม่ใช่ธุรกิจ แต่เราอยากเป็น Social Enterprise ซึ่งทุนประเดิมก้อนแรกมาจากไทยเบฟ อนาคตอันใกล้เราต้องการให้บริษัทหรือองค์กรใหญ่เข้ามาร่วมสนับสนุน อีกประการหนึ่งเราต้องการปรับมายเซ็ทของคนร่นใหม่ว่า การทำธุรกิจเพื่อสังคมคุณก็สามารถสร้างผลกำไรได้ แต่ขณะเดียวกันสังคมก็ได้ประโยชน์ด้วยเช่นกัน” วิเชฐ กล่าวปิดท้าย

 

ดูเพิ่มเติมได้ที่เว็ไซต์ของ C asean  http://www.c-asean.org/