เซลส์ฟอร์ซ บุคลากรที่มีทักษะ สร้างได้ไม่ต้องซื้อ

เทคโนโลยีอันล้ำสมัยในปัจจุบัน ส่งผลให้วิธีการทำงานของคนเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จนในบางครั้งก็ยากที่จะเตรียมรับมือ อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวยังส่งผลโดยตรงต่อชีวิตประจำวันของผู้คนและเศรษฐกิจของประเทศ การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างการใช้งานหุ่นยนต์เพื่อปฏิบัติงานพื้นฐาน ซึ่งสามารถทำได้รวดเร็วกว่ามนุษย์  หรือการใช้เทคโนโลยี AI และแมชชีน เลิร์นนิ่ง ซึ่งมีความสามารถในการรับรู้แยกแยะข้อมูลหรือความรู้สึก และตัดสินใจแทนมนุษย์ ได้เกิดขึ้นแล้วในบริษัทหรือองค์กรยุคใหม่ที่ล้ำสมัย

แน่นอนว่าเมื่อเทคโนโลยีเหล่านี้ถูกนำมาใช้แพร่หลายมากขึ้นในอนาคต ทักษะแรงงานที่ธุรกิจมองหาสำหรับการจ้างงานจะมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งปัจจุบันเราเริ่มเห็นปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะทางด้านเทคโนโลยี คำถามที่คงเลี่ยงไม่ได้คือ ธุรกิจจะทำอย่างไรเพื่อให้ได้แรงงานที่มีทักษะมาร่วมงานท่ามกลางการแข่งขันที่สูง ซื้อแรงงานที่มีทักษะหรือสร้างแรงงานให้มีทักษะ

สภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทยคาดคะเนว่า การใช้งานหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติที่เพิ่มมากขึ้น จะมีผลกระทบต่อการจ้างงานในประเทศทั้งในอุตสาหกรรมการเงิน, ค้าปลีก-ส่ง และอุตสาหกรรมยานยนต์ อาทิ แผนเดินหน้าสร้างโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจะส่งผลให้ภายในปี 2022แรงงานกว่า 300,000 ตำแหน่งในประเทศได้รับผลกระทบ

การสร้างทักษะให้แรงงานเป็นสิ่งที่ธุรกิจสามารถทำได้ โดยเปลี่ยนจากการใช้ความรู้และวิถีการทำงานและการปฏิบัติแบบเดิม ๆ มาเป็นการส่งเสริมความรู้ด้านดิจิทัลเพิ่มเข้าไป โดยเน้นการให้ความรู้และทักษะในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่าง AI

Dreamforce 2018, Salesforce.com’s user and developer conference, is held at the Moscone Convention Center and various hotels in San Francisco from September 24-28, 2018. (© Photo by Jakub Mosur Photography)

สำหรับองค์กรที่อยากประสบความสำเร็จในการพัฒนาทักษะทางด้านดิจิทัลให้กับแรงงาน เซลส์ฟอร์สได้แนะนำ 3 ค่านิยมที่ผู้นำองค์กรควรนำไปใช้ อันได้แก่

  1. สร้างวัฒนธรรมใฝ่รู้อย่างสม่ำเสมอในองค์กร

วัฒนธรรมใฝ่รู้และพร้อมที่จะพัฒนาตนเองของพนักงานในองค์กรเป็นสิ่งสำคัญ องค์กรควรส่งเสริมพนักงาน โดยการช่วยสร้างความเข้าใจ และสร้างทักษะทางดิจิทัลที่เกี่ยวกับการทำงานร่วมกับหุ่นยนต์ หรือเทคโนโลยี AI อื่น ๆ ให้แก่พนักงาน และจะต้องทำอย่างต่อเนื่องเนื่องจากเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

เห็นได้จากการที่บริษัทสมัยใหม่ที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี มักจัดทำโปรแกรมส่งเสริมทักษะและความรู้ทางดิจิทัลเพิ่มเติมให้กับพนักงานอย่างต่อเนื่อง แม้พนักงานจะมีวุฒิการศึกษาทางด้านเทคโนโลยีเป็นพื้นฐานอยู่แล้วก็ตาม

มร. เอริก บรายจอฟซัน, ผู้อำนวยโครงการ ดิจิทัล อีโคโนมี่ หนึ่งในโครงการริเริ่มโดยสถาบันเทคโนโลยี  MIT และเป็นอาจารย์สถาบัน MIT Sloan School of Management กล่าวว่า “คอร์สประเภท Massive Online Open Courses (MOOCs) ที่เปิดให้ผู้สนใจทุกเพศ ทุกวัยสามารถเรียนทางออนไลน์ได้ โดยมีทั้งแบบฟรี หรือมีค่าใช้จ่าย คือสิ่งที่บริษัทที่ต้องการสร้างทักษะทางดิจิทัลให้พนักงานสามารถพิจารณานำมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนของพนักงานด้านทักษะทางเทคโนโลยี รวมถึงสามารถสร้างคอร์สการเรียนรู้แบบองค์รวม เพื่อสร้างเสริมทักษะที่ตรงจุดให้ดียิ่งขึ้น”

  1. ให้ความสำคัญกับทุกความเห็นส่วนตัวเพื่อเป็นความเห็นส่วนรวม

คุณมาร์โค คาซาไลน่า, รองประธาน การจัดการผลิตภัณฑ์ เซลส์ฟอร์ซ ไอนสไตน์ กล่าวว่า “ระบบจะไม่มีประสิทธิภาพถ้าพนักงานไม่มีความศรัทธาในระบบ เช่น พนักงานดูแลลูกค้าจะไม่นำเอาข้อมูลที่ AI วิเคราะห์ได้มาใช้ ถ้าพนักงานไม่เชื่อในประสิทธิภาพ หรือมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อ AI  หรือหากพนักงานรู้สึกว่า AI เข้ามาแทนที่การทำงานของพวกเขา พนักงานจะเริ่มรู้สึกต่อต้านทันที ดังนั้นบริษัทจึงจำเป็นต้องพูดคุยกับพนักงานทุกคน เพื่อสร้างความเข้าใจในการนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ และประโยชน์ที่พนักงานจะได้รับจากเทคโนโลยีดังกล่าว เพราะการพูดคุยกันอย่างเปิดเผยกับพนักงาน จะทำให้พนักงานตระหนักถึงความใส่ใจ และรู้สึกได้รับการสนับสนุนจากบริษัทในการพัฒนาทักษะของตัวเอง”

  1. มีนโยบายส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาทักษะเพื่อดึงดูดแรงงานใหม่

แรงงานที่มีทักษะกำลังเป็นที่ต้องการของธุรกิจในหลากหลายอุตสาหกรรม ซึ่งส่งผลให้ธุรกิจต้องแข่งขันอย่างเต็มที่เพื่อดึงดูดพนักงาน คุณซาร่า แฟรงคลิน, รองประธานบริหารด้าน Developer Relations และผู้จัดการทั่วไปของแพลตฟอร์ม Trailhead กล่าวว่า “บริษัทที่มีโปรแกรมในการพัฒนาทักษะของพนักงาน และให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะของพนักงานอย่างต่อเนื่อง จะเป็นองค์กรที่แรงงานที่มีทักษะให้ความสนใจ”

การเสริมสร้างทักษะให้พนักงานเพื่อความพร้อมในการทำงานในยุคเทคโนโลยีนั้นไม่เพียงแค่ให้การสนับสนุนด้านความรู้หรือการปฏิบัติทางเทคนิค บริษัทจำเป็นต้องเสริมสร้างสำนึกส่วนรวม และศีลธรรมให้แก่พนักงานด้วย    เทคโนโลยี AI ควรถูกนำมาประยุกต์ใช้บนพื้นฐานของความโปร่งใส มีเหตุมีผล และปราศจากทัศนคติด้านลบ

นอกจากนี้การทำงานร่วมกับสถานบันการศึกษาเพื่อสร้างแรงงานที่มีทักษะเป็นเรื่องที่บริษัทควรทำเพื่อให้แน่ใจว่าจะได้แรงงานที่มีประสิทธิภาพตามความต้องการเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในวันนี้ให้เป็นเศรษฐกิจยุคดิจิทัล และใช้เทคโนโลยีเป็นตัวช่วยในการสร้างงาน เพราะวิถีการทำงานแห่งอนาคตนั้นไม่ได้มีเพียงเทคโนโลยี AI เป็นตัวขับเคลื่อน แต่ต้องพึ่งพาแรงงานที่มีทักษะเป็นตัวช่วยผลักดัน