มทร.ธัญบุรี คว้ารางวัล “Platinum Award”


ผศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.ธัญบุรี) เผยว่า ตามที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี นำผลงานเข้าร่วมประกวด และจัดแสดงในงาน มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2563 (Thailand Research Expo 2020)  ซึ่งจัดโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม การจัดแสดงนิทรรศการจากหน่วยงานเครือข่ายในระบบวิจัยทั่วประเทศกว่า 124 หน่วยงาน ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ ทาง มทร.ธัญบุรี คว้ารางวัล ถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี “Platinum Award” จากผลงานที่นำไปจัดแสดง ในกลุ่มเรื่อง งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อน BCG Economy Model ดังนี้ ผลงานเรื่อง “การพัฒนาเส้นใยกล้วยในงานแฟชั่นเครื่องแต่งการและเคหะสิ่งทอ”โดย ผศ.ดร.สาคร          ชลสาคร คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ ผลงานเรื่อง “การพัฒนาวัสดุผสมจากไผ่เหลือทิ้ง (Development of bamboo composites from bamboo waste)”โดย ผศ.ดร.สรพงษ์ ภวสุปรีย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ผลงานเรื่อง “การพัฒนาเส้นใยจากกล้วยสำหรับผลิตภัณฑ์งานถักทอ” โดย นางสาวโสภิดา วิศาลศักดิ์กุล คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ ผลงานเรื่อง “การพัฒนากระบวนการผลิตและยกระดับคุณภาพและความปลอดภัยหน่อไม้ดอง” เป็นผลงานได้รับทุนท้าทายไทยจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว)

และได้รับ 1 เหรียญทอง 2 เหรียญเงิน ดังนี้ รางวัลเหรียญทอง ประเภทการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ผลงานเรื่อง “วัฒนธรรมสีเขียว” โดย นางสาววรวินันท์ ลอยเมฆ อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ธงเทพ ศิริโสดา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ รางวัลเหรียญเงิน ประเภทการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์อุปกรณ์อัจฉริยะพลังงานและ สิ่งแวดล้อม ผลงานเรื่อง “การพัฒนา mobile Application บนระบบปฏิบัติการ Android เรื่องศาสตร์และศิลป์การดนตรีไทย” โดย นายน่านฟ้า เสรี ,นางสาวบุษบา บุญเกิด และนางสาววิลาวัณย์ ม่วงขาว อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์บรรทม น่วมศิริ และ ดร. สุภาสิรีร์ ปิยะพิพัฒน์ ภาควิชานาฏดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ รางวัลเหรียญเงิน ประเภทการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์อุปกรณ์อัจฉริยะพลังงานและสิ่งแวดล้อม ผลงานเรื่อง “นวัตกรรมอนุภาคนาโนพอลิเมอร์สองหน้าที่สำหรับเป็นสารต้านเชื้อจุลชีพและลดแรงตึงผิวชนิดอนุภาคของน้ำมันหล่อเย็น” โดย นางสาวเนตรนภา กำลังมาก อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ดร.อมร ไชยสัตย์ และ ผศ.ปรียาภรณ์ ไชยสัตย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมการประกวดนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2563 ผลงานที่ส่งเข้าประกวด 45 หน่วยงาน 142 ผลงาน