จากก่อนหน้านี้ที่ ‘Business+’ ได้มาเล่าถึงความสำคัญ และประโยชน์ของกองทุนรวม RMF กันไปแล้วในคอนเทนต์ “ทำไมกองทุน RMF ถึงช่วยให้เราไม่ “จนตอนแก่” ครั้งนี้เราจะมาสำรวจและรวบรวม 5 กองทุนรวม RMF ที่มีผลตอบแทนสูงที่สุด โดยใช้ข้อมูล 3 ปีย้อนหลังจนถึงปัจจุบัน (12 ก.พ. 2565)
โดยที่เราเลือกช่วงเวลาคัดเลือกผลตอบแทน 3 ปี เพราะว่าการลงทุนในกองทุนรวม RMF นั้น จะต้องมองที่ผลตอบแทนระยะยาวเป็นหลัก จากเงื่อนไขที่บังคับให้ต้องลงทุนอย่างต่อเนื่องในทุกปี (หยุดลงทุนได้ไม่เกิน 1 ปีเท่านั้น) และยังต้องถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี และถือจนกว่าอายุจะครบ 55 ปี
โดย 5 อันดับกองทุนรวม RMF ที่ให้ผลตอบแทนสูงที่สุดในรอบ 3 ปีย้อนหลังมีดังนี้
จะเห็นว่ากองทุน 5 อันดับแรกเป็นกองทุน RMF ประเภทตราสารทุน ที่กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารทุนประเภทต่าง ๆ เช่น หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ ใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหลักทรัพย์ รวมถึงหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่น ๆ ซึ่งกองทุนรวม RMF ประเภทนี้เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้สูงตั้งแต่ระดับ 5 ขึ้นไป
นอกจากมองที่อัตราผลตอบแทนแล้ว ยังต้องมองเรื่องของสิทธิประโยชน์ด้วยเช่นกัน โดยเคล็ดลับสำหรับลงทุนซื้อกองทุนรวมมีขั้นตอนง่ายๆ 4 ขั้นตอน ดังนี้
- ศึกษารายละเอียดของกองทุนให้ดีก่อน โดยเลือกพิจารณาในกองทุนที่มีนโยบายเหมาะสมกับตนเอง ซึ่งจะต้องมองที่ความเสี่ยงในระดับที่เรายอมรับได้ เช่น หากต้องการลงทุนเพื่อผลตอบแทนที่สูง ก็จะเหมาะสมกับกองทุนรวม RMF ตราสารทุน เช่น หุ้น เพราะจะมีความผันผวนสูงกว่า แต่ก็มีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนสูงเช่นกัน (High risk high return) แต่หากต้องการลงทุนที่มีความปลอดภัยสูง ก็จะเหมาะกับกองทุนรวม RMF ตราสารหนี้ เพราะให้ผลตอบแทนน้อยกว่าแต่ความผันผวนน้อยกว่า
- ลงทุนตามสิทธิที่ได้รับ ไม่ลงทุนเกินสิทธิ เพราะหากซื้อกองทุนรวม RMF เกินเกณฑ์ที่กำหนด เราต้องนำกำไรที่ได้จากการขายคืนหน่วยลงทุนไปคำนวณภาษี (ข้อจำกัดใหม่ของการลงทุน RMF เมื่อปี 2022 สูงสุดอยู่ที่ไม่เกิน 30% ของเงินได้ในปีนั้น ๆ และไม่เกิน 500,000 บาท)
- กระจายการลงทุนใน RMF เนื่องจากกองทุนมีหลายประเภท แตกต่างตามกลยุทธ์และนโยบาย ซึ่งก็จะทำให้เกิดความเสี่ยงที่แตกต่างกัน หากเราต้องการผลตอบแทนสูง และมีความปลอดภัยไปด้วย เราก็อาจจะเลือกลงทุนในกองทุนรวม RMF ที่หลากหลาย เพื่อลดความเสี่ยงที่จะได้รับจากผลตอบแทน โดยเลือกปรับพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมกับปัจจัยต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป
- วางแผนการลงทุนแบบ DCA (Dollar Cost Averaging) หรือการลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุนเป็นรายเดือน หรือรายไตรมาส เพื่อไม่ให้ต้นทุนของเราสูงมากจนเกินไป การทำ DCA จะทำให้ต้นทุนเราใกล้เคียงกับตลาดมากที่สุด เพราะหากซื้อทั้งปีทีเดียวอาจจะได้ต้นทุนที่สูงมากกว่า
อย่างไรก็ตามอย่าลืมว่าทุกการลงทุนมีความเสี่ยง เราจึงต้องศึกษาหาข้อมูลให้ได้มากที่สุด และปรับการลงทุนให้เหมาะสมกับสถานะทางการเงินของตนเองให้ได้มากที่สุด
หากใครต้องการอ่านเนื้อหาที่เกี่ยวกับสังคมผู้สูงอายุที่น่าสนใจในแง่มุมอื่น ๆ สามารถติดตามได้ที่ Section พิเศษ The Coming of a Hyper-aged Society’ เฒ่าทันความสูงวัย ก่อนไทยเข้า Hyper-Aged ที่ ‘Business+’ ได้จัดทำขึ้นมาในช่วงครบรอบ 34 ปี และรวบรวมเนื้อเอาไว้ภายในเว็บไซต์ : https://www.thebusinessplus.com/hyper_aged/?version=Bplus1
ที่มา : SET ,wealthmagik ,ศูนย์วิจัยกรุงศรี
เขียนและเรียบเรียง : พรรณรุ้ง คุ้มพงษ์พันธ์
#RMF #กองทุนรวมRMF #ลงทุน #การลงทุน #การลงทุนกองทุนรวม #กองทุนรวม #กองทุน #LTF