นโยบายแจกเงิน

คิดไม่ออกพี่แจกเงิน นโยบายแจกเงิน ช่วยเศรษฐกิจชาติได้จริงหรือ..?

 

มาดูกันว่า นโยบายแจกเงิน ของรัฐบาลไทย ที่แจกเก่ง แจกใหญ่ จะช่วยประเทศชาติ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้ตามที่เขาว่ากันว่าหรือไม่ 

 

จากนโยบายแจกเงินช่วยเศรษฐกิจชาติอย่างชิม ช้อป ใช้ที่ทุ่มงบ 1.9 หมื่นล้านบาท ไปแจก 1,000 บาท ผ่านแอปพลิเคชั่นเป๋าตังให้ประชาชน 10 ล้านคนไปเที่ยวหรือใช้จ่ายตามอัธยาศัยตามร้านค้าที่ร่วมโครงการที่อยู่คนละจังหวัดกับข้อมูลในทะเบียนบ้านของคนนั้น และหากเราใช้เงินฟรีที่รัฐแจกแล้วเติมเงินตัวเองเพิ่มเข้าไปในแอปฯ ก็จะได้รับเงินคืน 15 % แต่ได้เงินคืนไม่เกิน 4,500 บาท จากยอดค่าใช้จ่ายสูงสุด 30,000 บาท

ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องแลกกับการนั่งลงทะเบียนแบบจิ้มจุ่มก้นแบะ รีเน็ตรัว แย่งกันตั้งแต่เที่ยงคืนถึงตีสาม เพื่อให้ติด 1 ในล้านคนต่อวันที่จะได้ใช้เงินนั้น เพราะนโยบายได้รับความสนใจอย่างล้นหลาม ตื่นสายสิทธิ์เต็ม ถึงขนาดที่มีคนรับจ้างลงทะเบียนให้เลยทีเดียว ราคาประมาณชื่อละ 5 – 6 บาท สร้างงานสร้างรายได้ไปอีก! แต่ไปลุ้นกันเองว่าจะเจอมิจฉาชีพแฝงตัวมาขโมยข้อมูลไปทำอะไรหรือไม่!!

อ่านเพิ่มเติม : ศูนย์วิจัยธนาคารออมสินประมาณการ GDP 2562 ขยายตัวร้อยละ 3.6

 

ชื่อเปลี่ยนแต่แจกเหมือนเดิมนะจ้ะ

จริง แล้ว นโยบายแจกเงิน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ชิม ช้อป ใช้ ในรัฐบาลลุงตู่ V.1 ก็ไม่ได้เป็นโครงการแรก ก่อนหน้านี้ ก็มีนโยบายแจกเงินทางตรงเกิดขึ้นมาแล้วหลายโครงการ

 

เช็คช่วยชาติ  

โครงการช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชนและบุคลากรรัฐ

AKA เช็คช่วยชาติ : รัฐบาลมาร์ค อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

ระยะเวลา : 26 มี.. 2552

งบประมาณ 1.8 หมื่นล้าน ได้รับเงิน 9.7 ล้านคน

เจาะเวลาหาอดีตไปอีกกับโครงการแรกที่ประชาชนสามารถเบิกมาเป็นเงินสดได้ ตู้หูวสุด รัฐบาลแจกเช็คคนละ 2,000 บาทให้กับบุคคลเป็น 3 กลุ่ม รวม 9.7 ล้านคน คือ

  1. กลุ่มผู้ประกันตน 8.1 ล้านคน (ผู้ที่จ่ายเงินสมทบประกันสังคมที่มีเงินเดือนไม่ถึง 15,000 บาท และผู้ประกันที่ถูกเลิกจ้างหรือลาออกโดยสมัครใจ และอยู่ระหว่างได้รับเงินชดเชยกรณีว่างงานในอัตรา 50% ของเงินเดือนเป็นเวลา 8 เดือน)
  2. กลุ่มข้าราชการเบี้ยหวัดบำนาญ 2.3 แสนคน
  3. บุคลากรภาครัฐ 1.4 ล้านคน

แต่ประชาชนก็ไม่ได้นำเงินส่วนนั้นไปใช้ทั้งหมด บางคนก็ใช้ครึ่งนึง ออมครึ่งนึง หรือ ออมไว้ทั้งหมด ทำให้งบประมาณที่แจกมาไม่ได้ใช้จ่ายหมุนเวียนทั้งหมดอย่างที่รัฐตั้งใจ แต่ก็ยังส่งผลให้อัตราการขยายตัวของ GDP ในปี 2553 เพิ่มขึ้นประมาณ 0.24% แต่ก็ช่วยเพียงระยะสั้นเท่านั้น

 

บัตรคนจน

 

บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 

AKA บัตรคนจน หรือบัตรผู้มีรายได้น้อย : รัฐบาลคสช นำโดยลุงตู่ ประยุทธ์ จันทร์โอชา V.1

ระยะเวลา : 1 .. 2560 – ปัจจุบัน

เฟซที่ 1 .. 2560 งบประมาณ 4.19 หมื่นล้าน ได้รับเงิน 11.4 ล้านคน

เฟซที่ 2 .. 2561 งบประมาณ 3.56 หมื่นล้าน ได้รับเงินเพิ่มอีก 3.1 ล้านคน

สำหรับการแจกเงินช่วยเหลือในโครงการนี้ รัฐบาลจะให้เฉพาะคนจน หรือ ผู้ที่มีรายได้ต่อปีต่ำกว่า 30,000 บาท ที่มาลงเบียนรับบัตรคนจน จะได้เงินไปซื้อของใช้เดือนละ 300 บาท ส่วนคนที่มีรายได้ต่อปีตั้งแต่ 30,000 – 100,000 บาท ได้รับเงินเดือนละ 200 บาท และทั้ง 2 ประเภท จะได้เงินส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้มคนละ 45 บาท ต่อ 3 เดือนครั้ง ส่วนการลดค่ารถเมล์,รถไฟฟ้า จะได้รับเงินเดือนละ 500 บาท

เฟซของขวัญปีใหม่ งบประมาณ 3.87 หมื่นล้าน  ได้รับเงิน 14.5 ล้านคน (คนเดียวกับเฟซ 1+2)

ผู้ที่มีรายชื่อในบัตรคนจนจะได้เงินคนละ 500 บาทไปเที่ยวช่วงสิ้นปี และช่วยค่าไฟฟ้าไม่เกิน 230 บาท/ครัวเรือน/เดือน ค่าน้ำประปา 100 บาท / ครัวเรือน / เดือน  ซึ่งหากมีอายุเกินกว่า 65 ปี จะได้ค่าเดินทางไปโรงพยาบาล 1,000 บาท และถ้ามีอายุเกินกว่า 60 ปี จะได้ช่วยค่าเช่าบ้านเดือนละ 400 บาทด้วย

เฟซต่อโปร งบประมาณ 4.3 พันล้าน ได้รับเงิน 4.14 ล้านคน

ขยายมาตรการฝึกอบรมและการเติมเงินรายเดือนเข้ากระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่เข้าร่วมมาตรการอบรมอาชีพ ผู้ที่มีรายได้ไม่เกิน 3 หมื่นบาทต่อปี จะได้รับเงินคนละ 200 บาทต่อเดือน และผู้ที่มีรายได้สูงกว่า 3 หมื่นบาท จะได้รับเงินคนละ 100 บาทต่อเดือน

โครงการบัตรคนจนนี้ก็มีเสียงที่ว่าคนแอ๊บจนเยอะเหลือเกิน ถ่ายรูปอวดบัตรกันใหญ่ ส่วนคนจนจริงก็โดนตอกย้ำความจนของตัวเอง โดนรัฐบาลบูลลี่ไปแบบมึน จะดีใจเพราะฉันจนจึงได้เงินก็งง แต่ก็ยังช่วยให้ในปี 2560 อัตราการขยายตัวของ GDP เพิ่มขึ้น 0.6% และในปี 2561 ก็เพิ่มขึ้นอีก 0.2% จากเงินงบประมาณทั้งหมดในโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่สูงถึง 1 แสนล้านบาท

 

นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือพลังงานบางอย่าง..!?

 

ชิม ช้อป ใช้

 

เดินทางมาจนถึง ชิม ช้อป ใช้ นโยบายที่พึ่งเริ่มตั้งไข่ จึงยังไม่สามารถวัดได้ว่าช่วยเศรษฐกิจชาติได้เท่าไหร่ แต่จากสมมติฐานของธนาคารโลก ที่ระบุว่า จำนวนเงิน 1 ดอลล่าร์สหรัฐที่รัฐบาลใส่ไปในระบบเศรษฐกิจ จะเกิดการใช้จ่ายหมุนเวียนถึง 4 ครั้ง

และเมื่อใช้ตัวแปรเดียวกันใน ชิม ช้อป ใช้ หากรัฐบาลอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจ 1 หมื่นล้านบาท จากการแจกเงิน 1,000 บาทให้กับ 10 ล้านคน และเกิดการใช้จ่าย 4 ครั้ง ก็จะเท่ากับมีการใช้จ่ายที่กระตุ้นเศรษฐกิจอยู่ในระบบถึง 4 หมื่นล้านบาท GDP จะเพิ่มขึ้น 0.2 %

และรัฐบาลยังได้เงินกลับมาในรูปแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 % คือในโครงการนี้ จะได้เงินกลับมา 2.8 พันล้านบาท

 

สรุปแล้วนโยบายของรัฐบาลที่ขยันแจกเงินก็ช่วยในด้านกระตุ้นเศรษฐกิจจริง ช่วยน้อยแต่ช่วยนะ!

แต่จะช่วยถึงขนาดทำให้ประชาชนรู้สึกตัวว่ามันช่วยจริง มั้ย สามารถติดตามได้ในบทความหน้ากับโพลสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการชิม ช้อป ใช้ เฉิดฉายหรือชิปๆ Coming soon จ้าาา…

 

อ้างอิงข้อมูลจาก : สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ธนาคารแห่งประเทศไทย

สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

กรมบัญชีกลาง

เว็บสารสนเทศสุขภาพไทย

วารสารสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

tradingeconomics