NCB Transform สู่โลก Digital อย่างเต็มตัว : Thailand Top Company Awards 2020 : รางวัล BEST FINANCIAL INFORMATION SERVICE AWARD

“เมื่อผู้บริโภคเข้าถึงสบันทางการเงินด้วยช่องทาง Digital มากขึ้น บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด จึงยกระดับการเข้าถึงด้วยระบบ Digital เพื่อเป็นการตอบโจทย์สถาบันการเงิน รวมถึงผู้มาใช้บริการอื่น ๆ ให้เข้ากับยุคสมัยมากขึ้น”


สำหรับปี 2562 บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด National Credit Bureau Co., Ltd (NCB) หรือเป็นที่รู้จักกันดีว่า ‘เครดิตบูโร’ มีธุรกรรมค่อนข้างมาก แบ่งเป็นการให้บริการกับสถาบันการเงินเพื่อเข้ามาตรวจข้อมูลเครดิตของคนที่เข้ามาขอสินเชื่อรายใหม่ 19 ล้านครั้ง เมื่อเทียบกคับปีที่ประเทศไทยมีโครงการรถคันแรก ซึ่งมียอดการขอสินเชื่อ 14.3 ล้านครั้ง แต่กลับเทียบไม่ได้กับปี 2562 และอีกประเภทคือ ให้บริการสมาชิกที่เป็นสถาบันการเงินกว่า 100 แห่ง ในการตรวจดูลูกค้าเก่าเกี่ยวกับหนี้ที่ยังชำระได้ดีอีกประมาณ 60 ล้านครั้ง

ในส่วนของการให้บริการกับประชาชนทั่วไปที่มาขอตรวจเครดิตบูโรด้วยตัวเอง ทั้งเพื่อนำไปสมัครงาน ตรวจเพื่อนำไปวางแผนการเงิน ตรวจเพื่อนำไปเข้าโครงการคลินิกแก้หนี้ ตรวจเพื่อเตรียมตัวขอซื้อบ้าน คอนโด และอื่น ๆ มีประมาณกว่า 7 แสนราย แต่เมื่อนำสัดส่วนตรงนี้มาเทียบกคับส่วนที่ให้บริการสถาบันการเงิน พบว่าเป็นตัวเลขที่ต่ำกว่า เหตุผลที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าบริการส่วนนี้ยังเป็นบริการแบบ Analog ผู้มาใช้บริการยังต้องมาใช้บริการแบบ Face to face ซึ่ง Pain point นี้ สุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด เล่าถึงการแก้ปัญหานี้ว่า

“ในปี 2563 เราจะเห็นการทำธุรกรรมเรื่อง Digital Lending โดยจะสามารถให้บริการผ่านช่องทางที่เป็น Digital เพื่อไป Support คนที่ให้บริการ Digital กับ End Customer ยกตัวอย่างเช่น การให้ความยินยอมที่จะต้องมาเซ็นเอกสารต่อหน้า ก็เปลี่ยนมาใช้ระบบเป็น Computer Log แทน ต่อมาจะใช้ Digital Service to Support, Financial Institute และมีการยกระดับการบริหารจัดการความเสี่ยงทางด้าน Cyber Security เพราะว่าตอนนี้เมื่อเราจะ Go Digital ความเสี่ยงของเราจะไม่เหมือนโลก Analog เพราะฉะนั้นเราจึงเตรียมตัวในปี 2562 ภายใต้การสนับสนุนของทีมแบงค์ชาติที่บอกเราถึงมาตรฐานที่เราควรจะพัฒนาต่อไป ซึ่งเรามีการประเมิน มีการเตรียมตัวเรียบร้อยแล้ว

และสิ่งที่ควรคำนึงถึงต่อไปก็คือเรื่องของการดูแลความเป็นส่วนคัวของเจ้าของข้อมูล เนื่องจากปี 2563 มีกฎหมายเรื่องการให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ถึงแม้ว่าธุรกรรมของเครดิตบูโรที่ทำกับสถาบันการเงินจะไม่อยู่ภายใต้กฎหมายนี้ แต่เราก็ต้อง Compile มาตรฐาน Security ไมต่ำไปกว่ากฎหมายฉบับนี้ ซึ่งนี่คือเรื่อง Customer Protection”

แม้ว่าเทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาทในการทำงานอย่างมาก แต่เครดิตบูโรยังคงยึดถือหน้าที่อันยิ่งใหญ่ สุรพลกล่าถึงเรื่องนี้ว่า

“หน้าที่สำคัญของเครดิตบูโร เรื่องแรกคือ เราต้องทำหน้าที่เป็น Early-warning เป็นสถาบันที่ส่งสัญญาเตือนภัยว่าหนี้ในกลุ่มอายุไหน มีความเสี่ยงมากขนาดไหน แล้วก็ส่งข้อมูลดิบให้กับสถาบันต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่ในการออกนโยบายเพื่อไปให้พิจารณาจัดการออกมาตรการให้เหมาะสม อีกด้านหนึ่ง นอกจากเราจะเป็น Early-warning ด้านการก่อหนี้ที่เกินตัว เราต้องช่วยฝ่ายนโยบายในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของคนที่ได้รับผลกระทบเนื่องมาจากโรคระบาด Covid-19 ในปี 2563 กับปี 2564 ให้เขาผ่านไปได้อย่างราบรื่น เพราะการปรับโครงสร้างหนี้มีตั้งแต่การปรับโครงสร้างนี้ปกติ และการปรับโครงสร้างหนี้ของคนที่มีปัญหา การปรับโครงสร้างหนี้ของคนที่ถูกดำเนินคดี ถูกฟ้องร้อง อันนี้เราจะช่วยทำให้กระบวนการนี้ง่ายขึ้น ให้ผ่านไปได้ เพื่อรักษาสถานภาพเขาให้ดีที่สุด”