National e-Payment Master Plan

National e-Payment Master Plan กับอนาคตของสังคมไร้เงินสด

อนาคตของสังคมไร้เงินสด ผ่านแผนยุทธศาสตร์ National e-Payment Master Plan ของไทย

เนื่องจากมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นต่อของร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร เพื่อรองรับระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงการพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National e-Payment Master Plan) ที่กำลังเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันในโลกออนไลน์ ถึงการที่รัฐบาลพยายามจะขับเคลื่อนในประเทศไทยเป็นสังคมไร้เงินสด (Crashless Society) แต่กลับมีความพยายามที่จะตรวจสอบบัญชีการใช้จ่ายอิเล็กทรอนิกส์ แต่อย่าเพิ่งด่วนตัดสินกันไป เรามีคำชี้แจงถึงการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรมาให้อ่านกันก่อน

โดยที่แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติได้กำหนดให้นำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้กับการดำเนินการของภาครัฐ ซึ่งรวมถึงการรับชำระเงินภาษีเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน ประกอบกับลักษณะในการทำธุรกรรมของภาคเอกชนในปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนมาใช้เทคโนโยลีสารสนเทศเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ส่งผลให้การตรวจสอบและติดตามข้อมูลเพื่อการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรในปัจจุบันไม่อาจดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ดังนั้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการนำส่งเงินภาษี การยื่นรายการหรือเอกสารเกี่ยวกับภาษีอากร และเพื่อให้กรมสรรพากรได้รับข้อมูลอันจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดเก็บภาษีอากร สมควรปรับปรุงวิธีการนำส่งเงินภาษี บางประเภทและการยื่นรายการหรือเอกสารเกี่ยวกับภาษีอากรให้สามารถดำเนินการด้วยวิธีการอื่นใดเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้ในประมวลรัษฎากร

พร้อมทั้งกำหนดให้สถาบันการเงิน และผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งให้บริการจ่ายเงินให้บุคคลอื่นตามคำสั่งหรือตราสารเป็นปกติธุระต้องนำส่งข้อมูลของบุคคลที่มีการทำธุรกรรมลักษณะพิเศษให้กรมสรรพากรเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากร และปรับปรุงอัตราโทษสำหรับเจ้าหน้าที่ที่เปิดเผยข้อมูลของผู้เสียภาษีอากรและบุคคลที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

บุคคลที่มีการทำธุรกรรมลักษณะพิเศษ หมายถึง
1. บุคคลที่มีการฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 3,000 ครั้ง/ปี (เฉลี่ย 8 ครั้ง/วัน)
2. บุคคลที่มีการฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 200 ครั้ง/ปี หรือมียอดรวมธุรกรรมตั้งแต่ 2 ล้านบาท ขึ้นไป

นั่นหมายความว่าบรรดาแม่ค้าที่ได้รับการโอนเงินผ่าน QR code หรือผู้ที่ทำธุรกิจขายของออนไลน์น่าจะเข้าข่ายที่ต้องถูกตรวจสอบบัญชีเพื่อดำเนินการจัดเก็บภาษีอากรตามกฎหมาย

ในขณะที่กลุ่มคนบางกลุ่มอาจต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้น แต่ในอีกมุมหนึ่ง นี่อาจจะเป็นการช่วยปราบปรามการทำผิดกฎหมายผ่านธุรกรรมออนไลน์ด้วย

แต่อย่างไรก็ตาม นี่ยังเป็นเพียงแค่ร่าง พ.ร.บ. เท่านั้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ. นี้ก็สามารถไปแสดงความคิดเห็นได้ที่ลิงก์ด้านล่างนี้ โดยรับฟังความคิดเห็น ตั้งแต่วันนี้ ถึง 15 เมษายน 2561

อ่านร่างพ.ร.บ. 

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวร่าง พ.ร.บ. นี้

 

ที่มา กรมสรรพากร