ใครชอบดูคอนเทนต์กินโชว์อย่าเลื่อนผ่าน!! ‘ม็อกบัง’ ครีเอเตอร์สายกินที่มีทั้งข้อดี-ข้อเสีย ผลวิจัยชี้อาจทำให้คนเสียสุขภาพจิต

ในโลกของคอนเทนต์ต้องยอมรับ หนึ่งในคอนเทนต์ที่น่าสนใจอยู่เสมอคงหนีไม่พ้นคอนเทนต์ ‘อาหาร’ เพราะแน่นอนว่าเรื่องกินเป็นเรื่องใหญ่สำหรับมนุษย์เรา ทั้งนี้ คอนเทนต์อาหารที่มีก็แตกต่างกันไป อาทิ ทำอาหาร, รีวิวอาหาร หรือแม้แต่ คอนเทนต์ “กินอาหารโชว์”

คอนเทนต์กินอาหารโชว์นี้ในประเทศเกาหลีรู้จักกันในชื่อ “ม็อกบัง” (Mukbang) โดยม็อกบังเริ่มกลายเป็นคอนเทน์ยอดนิยมมาเรื่อย ๆ ตั้งแต่ปี 2010

ซึ่งจะเน้นไปที่การถ่ายวิดีโอ ที่ไม่ตัดเสียงใด ๆ เน้นถ่ายการรับประทานอาหารชามใหญ่ ๆ เยอะ ๆ ที่ดูไม่น่าจะกินไหว ทั้งนี้ ครีเอเตอร์บางคนก็เลือกกินไปด้วยพูดบรรยายรสชาติอาหารไปด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ดีต้องยอมว่า ม็อกบังก็เข้ามาเปลี่ยนพฤติกรรมการกินของมนุษย์เราไปมากเช่นกัน จากผลวิจัยของCulture, Medicine และ Psychiatry (Strand and Gustafsson, 2020) เปิดเผยว่าม็อกบังสามารถส่งผลต่อจิตใจผู้รับชมได้ทั้ง 2 ด้านทั้งด้านดี และด้านที่ทำร้ายจิตใจ

มาเริ่มกันที่ด้านดี คอนเทนต์ม็อกบังจะช่วยให้เราคลายเหงาได้ไม่ต้องกินข้าวคนเดียวเปิดม็อกบังดูพร้อมกินไปด้วย อีกทั้งอาจทำให้เรากินได้น้อยลงเพราะด้วยเราใช้เวลาจดจ่อกับการดูวิดีโออยู่

แต่ในทางกลับกันคอนเทนต์ม็อกบังกำลังทำร้ายจิตใจของเราอยู่ก็ย่อมได้ เพราะอาจเป็นแรงจูงใจในการกินอาหารของ หรือเป็นกระตุ้นให้เกิดการกินมากเกินไปตามตัวอย่างของช่องนั้น ๆ ซึ่งแน่นอนว่าการที่เรากินเยอะ ๆ เกินกำลังรับไหว ไม่ใช่เรื่องดีต่อสุขภาพแน่

ที่น่าสนใจคือมีผลการทดลองจาก Kang et al., 2020 พบว่าวิดีโอม็อกบังนั้นมียอดเข้าชมมากกว่าวิดีโอที่กินน้อย นอกจากนี้ วิดีโอที่แสดงการกินเยอะในระยะเวลาที่กำหนดไว้ จะถูกรับชมมากกว่าวิดีโอที่ไม่จัดเวลาการกิน

หรืออธิบายง่าย ๆ คือคนส่วนใหญ่ชอบคอนเทนต์ที่มีการกินที่เยอะ ๆ มาพร้อมความกดดันภายในเวลาที่จำกัด ซึ่งจะมาพร้อมกับความเลอะ และความรีบเคี้ยวไม่ละเอียดนั่นเอง ทั้งนี้เอง จะเห็นได้ว่าคนเราชอบคอนเทนต์ที่กินไม่สุภาพเรียบซะส่วนใหญ่

มากไปกว่านั้นจากผลสำรวจของชาวตุรกี (Kircaburun et al., 2021) พบว่าผู้คนส่วนใหญ่ใช้เวลาในการดูคอนเทนต์ม็อกบังเยอะเกินที่จะเป็นถึงขั้นเรียกได้ว่า เสพติดคอนเทนต์เหล่านี้ โดยเหล่านักวิทยาศาสตร์ได้ขอให้แฟน ๆ ม็อกบังจำนวน 604 คน ทำแบบสอบถามการเสพติดมุกบัง และแบบสอบถามอื่น ๆ อีกหลายรายการ

โดยพบว่าพวกเขาดูวิดีโอมุกบังเป็นเวลามากถึงสี่ชั่วโมงขึ้นไปทุกวัน ทั้งนี้ เหล่านักวิทยาศาสตร์พบว่าการดูคอนเทนต์เหล่านี้มากไปอาจมีปัญหากับเรื่องความเหงา เพราะบางคนอาจเผชิญปัญหาที่ต้องรู้สึกเหงา และเมื่อต้องการรับประทานอาหารร่วมกับคนอื่น ๆ ในโลกความจริงอาจรู้สึกไม่ปลอดภัยอีกต่อไปนั่นเอง…

 

เขียนและเรียบเรียง : อโญศิริ สุระตโก

 

ที่มา : psychologytoday, koreaherald

ติดตาม Business+ ได้ที่ : https://www.thebusinessplus.com/

Line Business+ ได้ที่ : https://lin.ee/o9fQ6fA

IG ได้ที่ : https://www.instagram.com/businessplus.thailand/

#Businessplus #Business+ #นิตยสารBusinessplus #ม็อกบัง #Mukbang