Mindfulness Based Mediation นายกรัฐมนตรีอินเดียเตือนสาวกพระพุทธเจ้าบนเวทีประชุมพระพุทธศาสนานานาชาติ เดินไปให้สุดทางปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ อย่าเน้นปริยัติอย่างเดียว

19 เมษายน 2566 ณ โรงแรมอโศก เมืองเดลลี ประเทศอินเดีย รับนิมนต์ จากองค์กร International Buddhist Conference เดินทางมานำเสนอบทเรียนการทำงานด้านสันติภาพ งานประชุมนานาชาติ Global Buddhist Summit หัวข้อ Responses to Contemporary Challenges: Philosophy to Praxis โดยมีนายกรัฐมนตรี ประเทศอินเดีย นายนเรนทระ โมที เป็นประธานในพิธีเปิดช่วงเช้า และกล่าวปาฐกถา โดยท่านได้ย้ำเป็นภาษาบาลีว่า ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ พร้อมกล่าวเตือนว่า ขอให้สาวกของพระพุทธเจ้า เดินไปให้สุดทางของสัทธรรม อย่าหยุดที่การเรียนรู้ปริยัติเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะจะทำให้ธรรมไม่เกิดผลในที่สุด

ในช่วงบ่าย เป็นการเชิญทั้งนักวิชาการ และนักปฏิบัติการที่ทำงานด้านสันติภาพนำบทเรียนการทำงานมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเวที ในหัวข้อพุทธธรรมกับสันติภาพ (Buddha Dhamma and Peace) ในฐานะที่ได้รับนิมนต์เป็นวิทยากร (Speaker) ในครั้งนี้ด้วย จึงได้นำบทเรียนการทำงานเกี่ยวกับหัวข้อกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่มีสติเป็นฐาน หรือ Mindfulness Based Mediation ที่ผ่านการทำงานวิจัย และการปฏิบัติจริงในศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน และการทำงานในศาลต่างมานำเสนอต่อเวทีการสัมมนานานาชาติครั้งนี้


สำหรับประเด็นเกี่ยวกับกระบวนการไกล่เกลี่ยที่มีสติเป็นฐาน Mindfulness Based Mediation: the Tool to Built Sustainable Peace มีรายละเอียดที่เป็นแนวคิด และประกอบด้วยขั้นตอนต่อไปนี้

การไกล่เกลี่ยเป็นหนึ่งในกระบวนการจัดการข้อพิพาททางเลือก {Altrenative Dispute Resolution:ADR} ที่คู่ความสามารถขอเข้ารับการไกล่เกลี่ยจากศูนย์ไกล่เกลี่ย {Mediation Centre} ในกรณีไม่สามารถตกลง หรือเจรจากันเองระหว่างคู่ขัดแย้ง {Negotiation} ทั้งนี้ เป้าหมายสุดท้ายของการไกล่เกลี่ย คือการฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างคู่ความ จนนำไปสู่การให้อภัย และอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข โดยมีผู้ไกล่เกลี่ยทำหน้าที่ในการสนับสนุน {facilitate} เพื่ออำนวยการให้คู่ความสามารถเข้าถึง และค้นพบความการที่แท้จริงได้

การไกล่เกลี่ยที่สามารถนำคู่ความเข้าถึงความการที่แท้จริงได้นั้น จึงจำเป็นต้องอาศัยกระบวนการไกล่เกลี่ยที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล อีกทั้งสอดคล้องกับแนวทางจัดการความขัดแย้ง ทั้งภายในใจและภายนอกของคู่พิพาท กระบวนการนี้จึงเริ่มจากการให้ผู้ไกล่เกลี่ยสามารถไกล่เกลี่ยกับกิเลสที่อยู่ในใจ แล้วจึงไปทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยผู้อื่นในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกระตุ้นให้คู่ความจัดการความขัดแย้งในใจ ก่อนที่จะช่วยกันดับไฟในใจของผู้อื่น

จากเหตุผลข้างต้น จึงเป็นที่มาของการออกแบบนวัตกรรมการกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเพื่อนำไปจัดการข้อพิพาทในศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน และศูนย์ไกล่เกลี่ยนานาชาติ ที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.2562 โดยนวัตกรรมกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทนี้ ชื่อว่า “กระบวนการไกล่เกลี่ยที่มีสติเป็นฐาน” โดยออกแบบเป็นใช้บันได 9 ขั้นในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

บันได 9 ขั้นนั้น ประกอบด้วย {1} Mindfulness {2} Emotional Mamagement {3} Deep Listening {4} Issues Analysis {5} Attitude Equation {6} Trust {7} Interests {8} Options {9} New Relationship จะเห็นว่า รากฐานสำคัญในการไกล่เกลี่ยนั้น จะต้องเริ่มต้นจากบ่มเพาะสติให้เกิดขึ้นในเรือนใจ จนจิตใจสงบเย็น และจัดการกับรัก ความโกรธ ความเกลียด ความหลง และอคติในใจในระดับหนึ่งแล้ว เมื่อนั้น คู่ความจึงจะมีความพร้อมในการเปิดใจรับฟังประเด็น ความคิด และความเชื่อที่แตกต่าง จนนำไปสู่ความไว้วางใจ แล้วร่วมกันค้นหาความต้องการที่แท้จริงที่เป็นความต้องการร่วมระหว่างสองฝ่าย {Collective Interest} จนได้ทางเลือกที่ทั้งสองฝ่ายพึงพอใจ แล้วนำไปสู่การฟื้นฟูความสัมพันธ์ใหม่ และอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข


“Mindfulness-Based Mediation: The Tool to Create Sustainable Peace

Mediation is one of the alternative dispute resolution processes (Alternative Dispute Resolution: ADR) where parties can seek mediation from the Mediation Center in case they cannot reach an agreement or negotiate between conflicting parties (Negotiation). However, the ultimate goal of mediation is to restore the relationship between the parties, leading to forgiveness and peaceful coexistence with a mediator acting as a facilitator to help parties access and discover their true interests.

For this reason, an appropriate and efficient mediation process consistent with conflict management guidelines, both inside and outside the parties in dispute, is necessary. This process begins with allowing mediators to reconcile their own desires and then act as mediators for others in society, especially by encouraging partners to manage conflicts mentally before helping to extinguish the fire in others’ hearts.

Therefore, an innovative dispute mediation process was designed to manage disputes in the Mediation Center for civil disputes and the International Mediation Center. Developed under the Mediation Act of 2019, this innovative mediation process is named the “Mindfulness-Based Mediation Process,” designed to use a 9-step ladder framwork to mediate disputes.

The nine-step ladder framwork consists of (1) Mindfulness, (2) Emotional Management, (3) Deep Listening, (4) Issues Analysis, (5) Attitude Equation, (6) Trust, (7) Interests, (8) Options, and (9) New Relationship. Mindfulness is important in mediation and must start by cultivating it in the mind until the mind is calm and dealing with love, anger, hate, delusion, and prejudice to a certain extent. Then, the parties will be ready to open their minds to different issues, ideas, and beliefs, leading to trust. They can then jointly search for real needs that are mutual between both parties (Collective Interest) until finding an option that satisfies both parties and leads to the restoration of a new relationship for peaceful coexistence.”