Cambridge Analytica

Mark Zuckerberg ให้การต่อสภาครองเกรส สหรัฐฯ

Mark Zuckerberg ให้การต่อสมาชิกวุฒิสภาของสภาครองเกรส รอบที่ 2 กรณี Cambridge Analytica

โดยเมื่อวัน 10 เมษายนที่ผ่านมา ตามวันเวลาของสหรัฐอเมริกา มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ใช้เวลาในการกว่า 5 ชั่วโมงชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการยุติธรรมและพาณิชย์ วุฒิสภา สหรัฐอเมริกา กรณีข่าวฉาวกับ Cambridge Analytica ที่ทำข้อมูลของผู้ใช้เฟสบุ๊คหลุดไปกว่า 87 ล้านบัญชี มาร์คกล่าวขอโทษและยอมรับว่าเป็นความผิดของตนเอง และต้องกลับมาให้สอบถามอีกในวันต่อมาซึ่งเป็นเวลาห่างกันเพียงไม่ถึง 24 ชั่วโมง

จากการวิเคราะห์ของสื่อและผู้เชี่ยญชาวต่างลงความเห็นว่าวุฒิสภารู้ไม่จริงเกี่ยวกับเฟสบุ๊ค แม้กระทั่งถามถึงโมเดลธุรกิจของเฟสบุ๊คว่าทำไมผู้ใช้ถึงไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการใช้งาน ถือว่าเป็นการไม่ทำการบ้านและไม่มีความรู้อย่างลึกซึ้งของสมาชิกวุฒิสภาท่านนั้น และคำถามแต่ละคำถามก็วนไปวนมา โดยการถามคำถามของสมาชิกวุฒิสภาแต่ละคนมีโอกาสในการถามมาร์คคนละ 5 นาทีในแต่ละรอบ โดยสมาชิกวุฒิสภาแต่ละคนพยายามถามโยงเข้าสู่ผลกระทบต่อเขตพื้นที่ของตน อีกในหนึ่งนั้นคือกำลังใช้พื้นที่ในการหาเสียงไปในตัว เนื่องจากบนโลกออนไลน์มีคนติดตามดูไลฟ์สดอยู่เป็นจำนวนมาก ช่างเป็นโอกาสที่เหมาะสมจริงๆ

คำตอบจากบางคำถามที่ Mark Zuckerberg ถูกถามเมื่อวันที่ 11 เมษายน

มาร์คถูกถามว่าพลาดไปได้อย่างไรข้อมูลจึงหลุดออกไปได้?
มาร์คได้แต่ยอมรับว่าเกิดจากข้อผิดพลาดในการทำงาน และกำลังเพิ่มมาตรการให้เข้มงวดมากกว่านี้

โดยข้อผิดพลาดเกิดจากแอพพลิเคชั่นที่เชื่อมโยงผ่านเฟสบุ๊ค ซึ่งจะมีวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้บริษัทที่สามเข้ามาช่วยในการตรวจสอบแอพพลิเคชั่นที่น่าสงสัยว่าจะดึงข้อมูลออกไปใช้ในทางไม่เหมาะสม ซึ่งต้องใช้เวลาค่อนข้างนานคือประมาณหนึ่งเดือนขึ้นไป

นี่ถือว่าเป็นจุดที่ทำให้เกิดความไม่ไว้วางใจของผู้ใช้ที่มีต่อเฟสบุ๊ค ทำให้ความเชื่อมั่นลดลง โดยเฟสบุ๊คจะพยายามปรับเปลี่ยนการใช้งานให้ผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่าต้องการที่จะเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวมากน้อยแค่ไหน


หลายคนเชื่อว่าการตอบคำถามของมาร์คน่าจะถูกเทรนมาอย่างดีแล้วจากทีมนักกฎหมายของเฟสบุ๊คส่งผลให้เมื่อวันที่ 10 เมษายนที่ผ่านมา หุ้นของเฟสบุ๊คพุ่งขึ้น แต่ในสำหรับการตอบคำถามในเมื่อคืนวันที่ 11 เมษายนหุ้นหล่นลงมาเล็กน้อย ยังคงต้องจับตาดูกันต่อไปว่าผลของการซักถามข้อมูลจากมาร์คจะสามารถแก้ไขปัญหาเรื่องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คได้หรือไม่ และในด้านรัฐจะมีมาตรการการควบคุมอย่างไรกับปัญหาเช่นนี้

และสิ่งที่น่าสนใจอีกหนึ่งประเด็นคือ จากเหตุการณ์ที่ข้อมูลของผู้ใช้เฟสบุ๊คกว่า 87 ล้านบัญชีที่หลุดออกไปนั้น มีใครได้ข้อมูลเหล่านี้ไปบ้างและจะถูกเอาไปทำอะไร จะมีข้อมูลส่วนอื่นอีกไหมที่หลุดออกไปเช่นกันเพียงแต่ยังไม่มีใครรู้หรือเปล่า เนื่องจากในยุคปัจจุบันข้อมูลเป็นสิ่งที่มีค่ามากและนั่นก็ขึ้นอยู่กับว่าผู้ครอบครองเหมืองข้อมูลอันมหาศาลเหล่านี้จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไรบ้างต่อธุรกิจ หรือ ต่อส่วนรวม แต่สำหรับเราผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในข้อมูลอันล้ำค่านี้ด้วย จะต้องหันมาระมัดระวังในการเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวและเรียนรู้การใช้งานเทคโนโลยีอย่างชาญฉลาดมากขึ้น

ดูแบบเต็มๆ ได้ที่วิดีโอ Youtube นี้

http://www.abc.net.au

 

“Think Before you post”

“You are what you post”

 

Source : voxhttps://twitter.com/CBSNews,Guardian News