จาก “พยาบาล” สู่ “Maker Nurse” มิติใหม่แห่งการแพทย์ไทย

Maker Nurse มิติใหม่แห่งการแพทย์ไทย

มีการคาดการณ์ว่า ไม่เกินปีค.ศ.2025 โลกจะมีรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติมากขึ้น หลังก่อนหน้านี้บรรดาค่ายรถยนต์ชั้นนำต่างเปิดเผย Road map ในแนวทางนี้กันบ้างแล้ว

โลกอนาคตที่รอไม่นาน คุณ (อาจ) สามารถจะมีชีวิตที่ง่ายขึ้น จากเทคโนโลยี AI (Artificial Intelligence หรือที่เรียกว่า ปัญญาประดิษฐ์) หรือที่เป็นที่อยู่ในปัจจุบันโลกธุกิจอย่าง Google หรือ Facebook ต่างนำเทคโนโลยีดังกล่สวเข้ามาผนวกไปกับการใช้งานในชีวิตประจำวันแบบที่คุณไม่เคยรู้ตัวเลย

แน่นอนการทำงานจากสมองกลที่เอื้อให้คนในโลกอยู่อย่างสบายใจ จนมีคำกล่าวว่า “เทคโนโลยีตัวนี้จะมาแย่งงานมนุษย์ในไม่ช้า”

เบื้องหลังกรณีของค่ายรถยนต์รายใหญ่ ลดจำนวนพนักงานเกือบ 1,000 คน ในประเทศไทย นั่นเพราะค่ายรถยนต์รายนี้ลงทุนวิจัยกับเทคโนโลยี AI ไปจำนวนมาหศาล และเพื่อรองรับการทำงานในอนาคต ให้คล่องแคล่ว ว่องไว ตามสโลแกน just in time

สัญญาณที่บอกมานี้ นัยหนึ่งคือภัยคุกคามของโลกธุรกิจ แต่อีกนัยหนึ่งคือ ความสะดวกสบาย ขึ้นอยู่กับว่าการตีความเป็นเช่นไร …?

และใครจะคิดว่าเจ้าเทคโนโลยีนี้ จะชอนไชไปยังธุรกิจสุขภาพ

 

จาก “พยาบาล” สู่ “Maker” ?

ทั้งนี้ เพราะการรักษาการเจ็บป่วยของคนไข้มีความซับซ้อนมากกว่าการซ่อมรถยนต์หรือคอมพิวเตอร์  เนื่องจากร่างกายคนเรามีความซับซ้อนอีกทั้งแต่ละคนยังมีเงื่อนไขเฉพาะของอาการที่ป่วยว่าจะตอบรับการรักษาหรือไม่ ทำให้แพทย์และพยายาบาลจะต้องหาวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพที่สุด เร็วที่สุด และใช้งบประมาณน้อยที่สุด เพื่อที่ผู้ป่วยทุกคนจะสามารถเข้าถึงการรักษาได้

ด้วยเหตุนี้ทำให้ “พยาบาล”เป็นผู้ที่ดูแลผู้ป่วยมากที่สุด กลายเป็น Maker  Nurse เพราะรู้ว่าอะไรคือปัญหาและต้องแก้ไขอย่างไร  เนื่องจากเป็นปัญหาเฉพาะหน้าที่ต้องเจอทุกวัน  จึงเกิดทำให้มีไอเดียต่างๆมากมาย  ที่จะทำเครื่องมือแพทย์เพื่อทำให้การรักษาคนไข้ได้ผลดีมากขึ้น โดยเครื่องมือดังกล่าวมักจะเป็นเครื่องมือเฉพาะหาซื้อไม่ได้ในท้องตลาดทั่วไปต้องทำขึ้นมาเอง

Progress Thailand  ได้รู้จัก Maker Nurse ครั้งแรกที่ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี  หรือโรงพยาบาลเด็ก ซึ่งมีแผนกนวัตกรรมที่พยายามคิดค้นและประดิษฐ์เครื่องมือแพทย์ต่างๆจากไอเดียของพยาบาล เพื่อนำมาใช้กับผู้ป่วยในโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง

CAM05136a

โดยหลังจากได้ไอเดียมาแล้ว ต้องผ่านกระบวนการต่างๆ ทั้งการจ้างนักออกแบบ การสั่งโรงงานให้ผลิตซึ่งต้องสั่งครั้งละมากๆ ทำให้ใช้เวลาและงบประมาณจำนวนมาก ทั้งที่บางอย่างเป็นอุปกรณ์เฉพาะที่ใช้ต่อคนไข้เฉพาะรายเท่านั้น  ไม่มีความยืดหยุ่น หรือประดิษฐ์เฉพาะกรณีได้

จากเหตุผลดังกล่าวทำให้โรงพยายาบาลเด็ก  ได้ทำงานร่วมกับทีมProgress Thailand  เพื่อให้ช่วยผลิตเครื่องมือแพทย์ที่เป็นผลงานต้นแบบจาก “เครื่องพิมพ์ 3 มิติ” ซึ่งทำให้กระบวนการผลิตไม่ยุ่งยากซับซ้อนอีกต่อไปแล้ว เพราะสามารถแปลงสิ่งที่เป็น “ไอเดีย” สู่ “ความจริง” ด้วยการขึ้นโมเดลและพิมพ์ออกมาได้อย่างรวดเร็ว

3_psc0416_ma_fix-the-world_3

ตลอดระยะเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา ทีม Progress Thailand ได้ประสานกับโรงพยาบาลเด็กอย่างต่อเนื่อง โดยทำหน้าที่ออกแบบสิ่งของต่างๆโดยที่พยาบาลจะบอกไอเดียและเล่าปัญหาพร้อมกับวาดรูปวัตถุที่ต้องการผลิตให้เราได้เห็นภาพว่าสิ่งที่จะทำนั้นจะมีหน้าตาออกมาเป็นอย่างไร  มีลักษณะเหมือนอะไร

ในที่สุดเราก็สามารถผลิตผลงานจากไอเดียของ  Maker Nurse เพื่อนำไปเป็นต้นแบบหรือทดลองใช้  ก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการผลิตได้ ไม่ว่าจะเป็นตัววัดระดับเตียง เครื่องกดเลือด ที่ทิ้งเข็มฉีดยา และ มีดแฟนซีเพื่อหนูน้อย  เป็นต้น

สิ่งประดิษฐ์เหล่านี้ มักเป็นสิ่งที่เราไม่เคยเห็นหรือคาดไม่ถึงมาก่อน เพราะเป็นสิ่งที่มาจากการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เฉพาะกรณี ต้องเป็นผู้ที่ทำงานตรงนั้นเท่านั้นถึงจะสามารถคิดได้

ทั้งนี้ เรื่อง Maker Nurse ในโรงพยาบาล ได้เกิดขึ้นแล้วที่สหรัฐ โดยการริเริ่มของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์( MIT) และมีการสร้าง Makerspaceในโรงพยาบาลแห่งแรก ที่ University of Texas Medical Branch hospital,  เมือง Galveston

Screen Shot 2016-07-11 at 12.53.52 AM

โดยภายใน Makerspace  จะมีเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ เพื่อใช้สร้างผลงานต้นแบบ  ไม่ว่าจะเป็น เครื่องพิมพ์3 มิติ  เครื่องตัดเลเซอร์  อุปกรณ์อิเลคทรอนิค   เพื่อให้พยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ได้สามารถประดิษฐ์เครื่องมือแพทย์แบบ DIY  ได้เลย  โดยมีนักออกแบบที่มีความรู้ ช่วยอำนวยความสะดวก  เพื่อให้การประดิษฐ์ต่างๆทำได้รวดเร็วมากขึ้น

โดยสองปีที่ผ่านมาพบว่า การสร้าง Makerspace ในโรงพยาบาล ได้ไอเดียและสิ่งประดิษฐ์ต่างๆมากมายจากพยาบาล   ที่สามารถนำไปปรับใช้กับการรักษาผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที แทบไม่น่าจะเชื่อว่า แม้จะอยู่ไกลกันคนละซีกโลก แต่ Maker Nurse ทั้งของไทยและ สหรัฐ ต่างมีโจทย์เดียวกันในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ที่โรงพยาบาลมีผู้ป่วยที่มีแตกต่างกันหลายแบบตามอาการของโรค  เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

การมาของ Maker Nurse และ Makerspace ในโรงพยาบาล จึงเป็นแนวคิดที่ก้าวหน้า และเป็นมิติใหม่ของวงการแพทย์อย่างแท้จริง

 

ที่มา  http://www.progressth.org/2016/07/maker-nurse.html