เปิดมุมมอง 5 บริษัทชั้นนำในไทยกับโอกาสทางธุรกิจของ Startup ญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่นมี Digital Solutions ที่หลากหลาย และมีโครงการที่ส่งเสริมการสร้างสรรค์ร่วมกันระหว่าง Startup ญี่ปุ่นและบริษัทท้องถิ่นในต่างประเทศอย่าง “J-Startup” จึงเหมาะที่จะตอบสนองความต้องการของเจ้าของธุรกิจในไทย แต่การร่วมมือกันจำเป็นต้องเข้าใจวิสัยทัศน์ และอนาคตธุรกิจในประเทศไทยให้ดีเสียก่อนจึงจะสามารถประสบความสำเร็จได้

ICHI จึงได้ทำการสำรวจกลยุทธ์ทางธุรกิจ รวมถึงความต้องการร่วมงานกับ Startup ผ่าน “นวัตกรรมแบบเปิด” ของ 5 บริษัทชั้นนำของประเทศไทยจาก 5 กลุ่มอุตสาหกรรม เพื่อให้เห็นมุมมองและความต้องการที่จะเปิดรับและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ แนวคิดและประสบการณ์จากภายนอกองค์กร

(5 บริษัทชั้นนำในประเทศไทย)

ทั้งนี้จากการสำรวจด้านกลยุทธ์ธุรกิจพบว่า โรงพยาบาลสินแพทย์ , SCG Chemicals และ SCB 10X ได้ให้ความสำคัญกับการทบทวนกลยุทธ์ธุรกิจ และมุ่งเน้นไปที่การทำให้องค์กรเดินไปในทางเดียวกัน

โดย ทพ.ฐิติ ชนะภัย ผู้ช่วยกรรมการกลุ่มโรงพยาบาลสินแพทย์ ได้เปลี่ยนกลยุทธ์จากมุ่งเน้นการรักษาโรคที่ซับซ้อนเป็นการรักษาโรคหลัง COVID-19 และการส่งเสริมสุขภาพ โดยบริษัทได้เก็บข้อมูลคนไข้ COVID-19 ที่รักษาตัวที่โรงพยาบาลเพื่อสื่อสารและติดตามอาการ ดังนั้น จึงสามารถเปลี่ยนกลยุทธ์ได้อย่างรวดเร็ว

ขณะเดียวกัน คุณจิรุตถ์ วัดตูม ผู้จัดการ Strategy and Partnership จาก SCG Chemicals ได้ให้ความสำคัญกับการตั้งเป้าหมายและกลยุทธ์ที่ชัดเจนในปี 2565 ไปสู่ธุรกิจด้านเคมีอย่างยั่งยืน และตั้งเป้าหมายลดการปล่อยคาร์บอน ด้วยการพัฒนาหรือหาความร่วมมือในการสร้างความก้าวหน้าใหม่ด้านการดักจับคาร์บอนและการใช้คาร์บอนไดออกไซด์

ด้าน คุณคริษฐ์ ศุภวัฒนกุล VC Senior Associate (Portfolio Growth Manager of SCB 10X) กล่าวถึงการตั้งเป้าหมายและทบทวนกลยุทธ์ว่า สิ่งเหล่านี้ทำให้บริษัทสามารถปิดดีลต่าง ๆ ได้รวดเร็วขึ้น และยังนำไปสู่เป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ได้ดียิ่งขึ้น

ส่วน บริษัท ไทยวา จำกัด (มหาชน) และบริษัท บ้านปู จำกัด ได้ให้ความสำคัญกับการสร้างวิธีคิดแบบรวดเร็ว (Agile) ในหมู่พนักงาน ให้มีความยืดหยุ่น และปรับตัวเร็วในสถานการณ์อื่นนอกเหนือ COVID-19

โดย คุณภัทร์ สรรพอาษา ผู้จัดการกลยุทธ์องค์กรอาวุโส บริษัท ไทยวา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทได้รับมือกับความท้าทาย ด้วยการปรับกลยุทธ์ในการทำงานให้คล่องตัวมากขึ้น

ขณะเดียวกัน คุณจิรการณ์ วงศ์ทรรศี ผู้จัดการ – ดิจิทัล โค้ช จากบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทได้เริ่มโครงการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลมาตั้งแต่ปี 2561 เพื่อสร้างแนวคิดแบบ Agile ภายในองค์กร และพัฒนาความสามารถทางดิจิทัลในกลุ่มพนักงานเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตหลัง COVID-19

พันธมิตร Digital Solution ที่ 5 บริษัทชั้นนำกำลังมองหา

นอกจากการวางกลยุทธ์ที่ชัดเจนแล้ว ทั้ง 5 บริษัทต่างให้ความสำคัญของการทำงานร่วมกับบริษัทอื่น ๆ และกำลังมองหาพันธมิตรด้าน Digital Solution เพื่อร่วมสร้างนวัตกรรม และขับเคลื่อนธุรกิจใหม่ โดยรูปแบบที่ให้ความสนใจมีทั้งรูปแบบการร่วมกันศึกษาค้นคว้า, การลงทุนแบบ VC หรือธุรกิจการร่วมลงทุน รวมไปถึงการควบรวมกิจการ (M&A) โดยเฉพาะการร่วมงานกับบริษัท Tech ต่าง ๆ ที่มีศักยภาพร่วมสร้าง Solutions ที่ไม่เหมือนใคร โดยความสนใจของแต่ละบริษัทในนวัตกรรมแบบเปิด มีดังต่อไปนี้

(นวัตกรรมแบบเปิดที่ 5 บริษัทชั้นนำในไทยให้ความสนใจ)

มุมมองต่อ Startup ญี่ปุ่น

สำหรับมุมมองต่อบริษัท Startup ในประเทศญี่ปุ่น นั้น ทั้ง 5 บริษัทต่างมองเห็นถึงคุณภาพและความสามารถทางเทคโนโลยีขั้นสูงของญี่ปุ่นที่มีจุดแข็งด้าน Robotics และ AI solutions แต่ยังมองว่าการร่วมงานกับ Startup ญี่ปุ่นยังมีอุปสรรคทางภาษา และความแตกต่างทางวัฒนธรรมเป็นความท้าทายหลัก จึงคาดหวังให้ Startup ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมแบบสากล และเข้าใจวัฒนธรรมธุรกิจของประเทศไทย เพราะขณะนี้บริษัทในประเทศไทยต้องการ Startup ที่เปิดกว้าง เข้าใจและสนับสนุนธุรกิจท้องถิ่น

โดย ทพ.ฐิติ ชนะภัย กล่าวว่า “โรงพยาบาลในประเทศไทยต่างมองหาพันธมิตรที่พร้อมจะสนับสนุนธุรกิจที่เป็นประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกราย และช่วยให้ดูแลคนไข้ได้ดีขึ้น พร้อมกับประหยัดค่าใช้จ่ายและรักษาผลประกอบการ ซึ่งการดูแลทางการแพทย์และนวัตกรรมสนับสนุนคือด้านที่ต้องพัฒนาปรับปรุง

(ทพ.ฐิติ ชนะภัย)

 

ด้าน คุณจิรการณ์ วงศ์ทรรศี กล่าวว่า “เราต้องการ Startup หรือ Technology Solutions ในการพัฒนาแอปพลิเคชันแดชบอร์ดการจัดการการปล่อยคาร์บอนของกลุ่มบ้านปู  และให้ข้อมูลสนับสนุนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการรายงานและการเปิดเผยข้อมูลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยต้องการสตาร์ทอัพที่มี Solution ที่สามารถผสานรวมข้อมูลคาร์บอนและมีบล็อกเชนสำหรับตลาดคาร์บอนเครดิต

(คุณจิรการณ์ วงศ์ทรรศี)

 

ขณะเดียวกัน คุณจิรุตถ์ วัดตูม กล่าวว่า Startup มาพร้อมกับวิธีแก้ไขปัญหาที่น่าสนใจ ซึ่งเรามีประสบการณ์ในการทำงานกับ Startup โดย SCG สามารถจัดหาและช่วยให้สตาร์ทอัพสามารถแข่งขันในวงกว้างได้

(คุณจิรุตถ์ วัดตูม)

 

ขณะที่ คุณภัทร์ สรรพอาษา กล่าวว่า “เราตั้งเป้าที่จะค้นหาและช่วยสตาร์ทอัพและบริษัทที่กำลังเติบโตในภาคเทคโนโลยีและนวัตกรรมฟาร์ม ห่วงโซ่อุปทานระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ (B2B)  โดยไทยวาได้จัดตั้งบริษัทร่วมทุนเพื่อลงทุนใน Startup ระยะเริ่มต้นที่เน้นด้านเทคโนโลยีสีเขียวในธุรกิจอาหารและการเกษตรแบบ B2B เพื่อส่งเสริมอนาคตของการเกษตรและอาหาร

(คุณภัทร์ สรรพอาษา)

 

ขณะเดียวกัน คุณคริษฐ์ ศุภวัฒนกุล กล่าวว่า “ความร่วมมือกับเราจะเกิดขึ้นกับบริษัท  Startup ก่อนเป็นยูนิคอร์น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาความร่วมมือกับธนาคารแบบเดิมหรือหน่วยธุรกิจใหม่ในการจัดการสินทรัพย์ดิจิทัลและบล็อกเชน โดย SCB 10X เปิดกว้างสำหรับ FinTech และบล็อกเชน  รวมไปถึงสินทรัพย์ดิจิทัล ไปจนถึงการสนทนาเกี่ยวกับการเงินแบบไร้ตัวกลาง

(คุณคริษฐ์ ศุภวัฒนกุล)

 

จะเห็นได้ว่าองค์กรไทยต้องการเข้าถึง Startup ในระดับสากล แต่การมีบทบาทของ Startup ญี่ปุ่นยังถือว่าน้อยมาก ดังนั้นสิ่งสำคัญคือ Startup ต้องเข้าหาองค์กรต่าง ๆ ในเชิงรุก พร้อมกับแสดงวิสัยทัศน์และ Solutions ที่ชัดเจนเพื่อตอบสนองความต้องการขององค์กรดังกล่าว

โดยความร่วมมือของทั้งองค์กรและ Startup จะทำให้เกิดประโยชน์ร่วมกันทั้ง 2 ฝ่าย ในแง่ขององค์กรถือเป็นโอกาสที่จะได้ใช้ประโยชน์จากความรู้ภายนอก เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มที่มีเอกลักษณ์ นำไปสู่การสร้างรูปแบบธุรกิจใหม่ และยังช่วยให้บรรลุเป้าหมายได้เร็วยิ่งขึ้นด้วยต้นทุนที่ต่ำลง ส่วน Startup จะได้รับโอกาสในการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐาน และทรัพยากรที่จำเป็นเพื่อนำไปสู่การเติบโตแบบก้าวกระโดด

นี่เป็นเพียงบทความส่วนหนึ่งที่ทำให้เห็นความต้องการของบริษัทชั้นนำในประเทศไทยร่วมกับ Startup เท่านั้น หากใครต้องการอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ ICHI Website : https://bit.ly/3hpJmI7

และหากใครที่ต้องการคำแนะนำไม่ว่าจะเป็นองค์กรหรือสตาร์ทอัพในธุรกิจใด สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลทั้งหมดได้ที่ คุณนาโอเอะ มิยาตะ – CEO บริษัท EN Innovation จำกัด ได้โดยตรงผ่านทาง nmiyata@gmail.com ในฐานะที่ปรึกษาธุรกิจนวัตกรรม ซึ่งมีประสบการณ์การทำงานกับธุรกิจหลากหลายประเภท รวมถึง Startup SME และองค์กรขนาดใหญ่ โดยเฉพาะด้านการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลในกลยุทธ์การขยายธุรกิจ การสร้างการร่วมทุน และการสนับสนุนนวัตกรรมแบบเปิด